ฤดูกาลแห่งสวนผักคนเมืองเขียนโดย ชาคริต โภชะเรืองหมู่นี้เว้นวรรคกับงานสวนผักคนเมืองไปพอสมควร หลังหน้าฝนผ่านไปทุกอย่างก็หวนกลับมาเหมือนเดิม เช่นเดียวกับจุดเรียนรู้ในพื้นที่ยังคงเดินหน้าไปตามปกติ มีความน่าสนใจ ผลงานใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลาสวนเบญพฤกษ์กับสวนผักแนวตั้งที่มงคลหรรษาเตรียมรับทีมฝึกปฎิบัติการของผู้สื่อข่าว "มือถือมืออาชีพ" ที่จะใช้กิจกรรมสวนผักคนเมืองเป็นหนึ่งในจุดถ่ายทอดเรื่องราวจุดเด่
ระบบข้อมูลกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนเขียนโดย ชาคริต โภชะเรืองผู้จัดการมูลนิธิชุมชนสงขลาทุกคนรู้ถึงความสำคัญของข้อมูล แต่ไฉนใช้ข้อมูลหรือความรู้และปัญญามาประกอบการทำงานน้อยกว่าที่ควรจะเป็นแล้วทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?๑.เรามีแต่ข้อมูลพื้นฐาน ไม่มีข้อมูลเชิงลึกที่มีรายละเอียดเชิงยุทธศาสตร์ที่สะท้อนความเป็นจริง๒.ต่างคนต่างทำ มีวัตถุประสงค์ วิธีการ กลุ่มเป้าหมาย การใช้ประโยชน์ที่แตกต่างเป
เรียนรู้จากพายุปาบึกเขียนโดย ชาคริต โภชะเรืองพายุ "ปาบึก" มารับขวัญปีใหม่ผ่านไปแล้ว มีอะไรที่น่าสนใจบ้างในมุมมองของผมนะครับ๑.ระบบที่ก้าวหน้าที่สุดในภาพรวมของประเทศก็คือ การสั่งการณ์แบบไม่มั่ว แบ่งหน้าที่กันชัดเจน อุตุฯให้ข่าว รมต.ประชุมสั่งการณ์ทุกจังหวัด เน้นการป้องกันเหตุจึงเห็นการสั่งอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยง ลดความสูญเสีย มีการติดตามผลอย่างใกล้ชิด อันนี้ต่างไปจากภัยพิบัติที่ผ่านมา อาจ
"พลังแห่งความเปลี่ยนแปลงอยู่ตรงไหน?"เขียนโดย ชาคริต โภชะเรืองวันที่ 27 ธันวาคม 2561 ไปร่วมประชาคมการทำแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา 5 ปี(พ.ศ.2561-2565)ฉบับทบทวนประจำปี 2563 วางเป้าหมายการพัฒนาหรือวิสัยทัศน์ไว้ว่า "สงขลา ศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคใต้ ประชาชนมีคุณภาพ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน" มีข้อสังเกตหลายอย่างที่อยากจะสื่อสาร1) งบพัฒนาจังหวัดเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการพัฒนาจังหวัด กล่าวคือมีงบเฉพาะต่อปีราวๆ 290
"หาดใหญ่ฟอรั่ม"เขียนโดย ชาคริต โภชะเรืองครั้งนี้เป็นวงที่ 3 นับจากที่ไรเนอร์จากมูลนิธิฟรีดริช เนามันมาช่วยนำกระบวนจนพัฒนามาเป็นฟอรั่มของเมืองรอบนี้มาพบนายห้างธรรมนูญ โกวิทยา บุคคลสำคัญอีกคนในฐานะผู้อาวุโส ท่านให้มุมมองการเป็นเมืองน่าอยู่ว่า ควรจะเป็นเมืองที่สวยงาม สะอาด ปลอดภัย หาดใหญ่ควรเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายเมืองอื่นไปด้วยกันหาดใหญ่ควรจะมีแผนแม่บทการ
"Node flagship สงขลา"เขียนโดย ชาคริต โภชะเรืองฐานความเข้มแข็งของพลเมืองจะเป็นอีกเสาหลักที่จะนำพาบ้านเมืองให้ไปข้างหน้าในท่ามกลางสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่คุกคามสงขลาเป็นจังหวัดใหญ่ เช่นเดียวกับจังหวัดใหญ่ๆในประเทศ ประกอบด้วยความหลากหลายทั้งภูมินิเวศ ภูมิสังคม วัฒนธรรม และหลากชุดความคิดที่ดำรงอยู่ในพื้นที่ มีทั้งไปในแนวทางเดียวกันและขัดแย้งกัน การสร้างพลังร่วมจึงเป็นโจทย์ท้าทายในการจัดความสัม
ชวนทุกท่านมาร่วมกิจกรรมทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิลเพื่อจัดตั้งกองทุนประชารัฐร่วมใจดูแลคนยากลำบากและเปราะบางทางสังคม จ.สงขลาด้วยมูลนิธิชุมชนสงขลา/ศูนย์ประสานงานพหุภาคีพัฒนาจังหวัดสงขลาร่วมกับคณะพุทธบริษัทชุมชนคลองแห วัดคลองแห ทม.คลองแห ทต.ทุ่งตำเสา ทต.พะตง อบต.ท่าข้าม อบต.ท่าประดู่ อบต.พิจิตร อบต.คลองหรัง โครงการขยะแลกยิ้ม ปตท. หอการค้าจังหวัดสงขลา เคแอนด์เค ซุปเปอร์ค้าส่ง ช.ช้าง โรงเรียนวัดโคกสมานคุณ พ
ม.1 บ้านปากช่อง ต.ชะแล้ ปรับโครงสร้างคณะกรรมการหมู่บ้าน กำหนดหย่อมบ้านกระจายออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่ 7 หย่อมบ้าน ระบุรายชื่อครัวเรือนแต่ละหย่อมบ้าน และออกแบบการประชุมสัญจรที่จะสร้างการมีส่วนร่วมชวนสมาชิกแต่ละหย่อมบ้านมาประชุมเพื่อคัดเลือกตัวแทนหย่อมบ้านมาทำงานเป็นกรรมการหมู่บ้านนัดเลี้ยงข้าวต้มและทำขนมทองม้วนสด ประกอบการพูดคุยสถานการณ์ปัญหา ความต้องการของการพัฒนาหมู่บ้าน เปิดใจคุยเพื่อยกระดับการท
ตลาดฟินนัดที่ 11 ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ณ ทูเบอร์ไทยแลนด์ หาดใหญ่ ชุมนุมกลุ่มทางเลือกด้านอาหารสุขภาพหลากหลาย ทั้งข้าว ผักผลไม้ ปลา ขนม อาศัยพื้นที่เล็กๆหน้าทูเบอร์ วางสินค้าจำหน่ายนำอาหารดีๆมาถึงมือคนเมือง สมาชิกของแต่ละกลุ่มมาแล้วก็ได้เลือกซื้อของเครือข่าย และอิ่มอร่อยกับบุฟเฟต์มื้อเที่ยง หัวละ 50 บาท รอบนี้ทานอาหารใต้ดินในลีลาของพัทลุงสวนผักคนเมืองนำผลผลิตไปจำหน่าย พร้อมกับเปิดสอ
นัดทีมงานกรรมการหมู่บ้าน หมู่ 5 บ้านปลักคล้า ตำบลโคกม่วง ทำแผนปฎิบัติการธรรมนูญหมู่บ้าน วันนี้ได้ให้คุณรัฐพล อดีตนายกเทศมนตรีเล่าประวัติชุมชน เลยได้ทราบว่าในอดีตบ้านปลักคล้า คลองหอยโข่งมีพื้นที่กว้าง ปลักคล้ามาจากคล้าที่มีมากตามสายคลองรอบวัด ที่นี่ใกล้เทือกเขาวังชิงที่มีแร่ธาตุสมบูรณ์ ความที่เป็นที่ราบน้ำที่เต็มไปด้วยแร่ธาตุไหลผ่านทำให้อดีตนาข้าวที่นี่สมบูรณ์ รสชาติดี ข้าวไทร ข้าวนางหงส์ เป็นข้าวม