ป้าสมหมาย ตุกชูแสง ประธานอสม.ชุมชนวัดหาดใหญ่ใน อดีตเคยเป็นแม่ค้า เคยเป็นประธานชุมชน เป็นอีกคนที่ปลูกผักกินเองมานาน พร้อมกับการทำงานให้กับชุมชนมาตลอดเวลาบริเวณรอบบ้านในซอยเพชรเกษม 28 มีผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายอย่าง ป้าสมหมายทำน้ำหมักชีวภาพ ทำสบู่ใช้เอง ในฐานะที่เป็นอสม.หลังจากเรียนรู้การกลั่นหัวเชื้อตะไคร้หอม ก็ได้นำมาทำสะเปรย์ตะไคร้หอม โลชั่นตะใคร้หอม ที่หน้าสำนักงานกองทุนชุมชนปกติก็ปลูกผักสวนครัวอยู
บังสวาสดิ์ ประธานชุมชนริมควน ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ไม่หยุดรอบนี้นำวัสดุหาง่ายราคาถูกมาปรับใช้ในการปลูกผักไร้ดิน นำตะแกรงพลาสติกมารองพื้นด้วยพลาสติกใส เหน็บด้วยตัวหนีบสี่ด้าน เท่านี้ก็ได้ภาชนะปลูกผักไร้ดิน ใส่น้ำ วางแผ่นโฟมเจาะรู ใส่ต้นกล้าผักลงในน้ำ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดและราเขียว เท่านี้ก็ได้ชุดปลูกผักหากนำไปวางบนโต๊ะก็จะได้ "โต๊ะผัก" ประจำตัว เหมาะสำหรับผู้สูงวัย ไม่ก้มมาก วางในที่ร่ม แสงร
ก๊ะสุวรรณา เจ๊ะยะหลี บ้านอยู่ชุมชนริมคลองร.1ทำงานเป็นซุปเปอร์ไวเซอร์ ฝ่ายประกันคุณภาพโรงงานโชติวัฒน์ทางโรงงานมีนโยบายให้พนักงานปลูกผักแต่การปลูกได้ดึงแมลงเข้ามาทำให้ต้องยกเลิกปรับใหม่ก๊ะกลับมาปลูกผักที่บ้าน ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวาง มีสวนหน้าบ้านไว้ปลูกอีกแปลงใหญ่ก๊ะลองปลูกผักแว่นโดยใช้น้ำจากการซักล้างโดยไม่รู้ว่าทำให้ผักอื่นๆหลังครัวไม่โตครูไก่เลยแนะให้นำน้ำจากการซักล้างที่มีผงซักฟอกปนทิ้ง
ก๊ะมลินี กาเดร์ ประธานชุมชนริมคลองร.1 เทศบาลนครหาดใหญ่ ปัจจุบันอายุ 55 ปี แต่ก็ยังแข็งแรงทำงานได้หลายอย่างทั้งงานชุมชนและส่วนตัวปกติเป็นคนชานเมือง ไม่มีประสบการณ์ปลูกผักมาก่อน บ้านที่อยู่ที่ดินด้านข้างก็เป็นดินถมที่ มีท้ั้งกรวด ลูกรัง ทำประโยชน์ได้ยาก ความที่เห็นกิจกรรมปลูกผักผ่านตามาก็อยากทำบ้าง ได้เงินของสสส.มาลงที่ชุมชน จึงเป็นโอกาสได้นำเยาวชนมาร่วมกิจกรรม นำเด็กๆมาปั่นจักรยาน วางแผนให้มาพักเ
บังสวาสดิ์ หมัดอาหลี ประธานชุมชนริมควน เทศบาลนครหาดใหญ่และภรรยา เริ่มสนใจการปลูกผักในปล้องบ่อหรือล้อยาง จากพื้นฐานชุมชนมุสลิม เลี้ยงแพะ เลี้ยงไก่ บิดาก็ทำสวนอยู่หน้าบ้าน เวลาว่างจากการขับรถรับจ้าง ตนเองกับลูกได้ดัดแปลงวัสดุเหลือใช้ เก็บสะสมเอาไว้จนเต็มบ้าน นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตนานา ยิ่งเมื่อได้ความรู้จากการร่วมกิจกรรมกับชุมชนวัดหาดใหญ่ใน ก็ได้นำความรู้มาปรับใช้ได้อย่างเต็มที่ที่ว่างในบริเวณบ้าน
ชีวิตข้าราชการหลังเกษียณของป้าประทุมทิพย์ ส่งแสงอ่อน กับสามี ประยูร ส่งแสงอ่อนใช้เวลาแต่ละวันกับสวนในพื่นที่ 9ไร่ เป็นสวนยาง 7 ไร่ และสวนปลูกผักผลไม้หลากชนิด 2 ไร่ ไม่ใช้สารเคมี ปลูกแบบอินทรีย์ที่ชุมชนบ้านในสวน ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่เริ่มจากการพลิกฟื้นดินทรายขี้เป็ดที่แม้หมอดินยังสะบัดหัวค่อยๆพื่นดินปลูกผักปลูกพืชไปทีละหย่อมทีละจุด ปลูกผักนานา ปลูกไม้ผล มีทั้งมะละกอ มะนาว มะกรูด พริก มะเข
บ้านเช่าของคุณประทุมทิพย์ ส่งแสงอ่อนอยู่บริเวณชุมชนหลังอำเภอ ตรงหน้าโรงเรียนเทศบาล 2 พื้นที่หน้าบ้านมีจำกัด แต่ก็เริมปลูกผักในกระสอบ ในตะกร้า ในขวดน้ำ โดยเฉพาะในขวดน้ำดัดแปลงมาลองปลูกผักหลายชนิดพื้นที่ด้านหน้าตอนเช้าถูกแดดเพียงครึ่งวัน แต่ก็พอปลูกได้ วันนี้ได้รับมอบบ้านผักไว้สำหรับปลูกผักในที่ร่ม โดยเฉพาะผักรากสั้นอายุไม่กี่วันก็โตพอทานได้ป้าทุมเป็นคนนำความคิดมาเผยแพร่ คนดูแลรดน้ำเป็นคนเช่า
ครูประคอง ลัภบุญ ชุมชนคลองแห หลังเกษียณปี 56 ได้ขายบ้านในเมืองที่ปราศจากที่ดินว่างมาสร้างบ้านหลังใหญ่และใช้เวลาปลูกผักในที่ดิน 2 งานตั้งแต่เช้ามืด และตอนเย็นของทุกวันครูประคองนอกจากเป็นครูภูมิปัญญาไทยด้านการแทงหยวกแล้ว การทำเกษตรปราณีตที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีเรียกร้องเวลาจากครูประคองเป็นอย่างมากแต่ครูก็มุุ่งมั่นและมีความสุขกับการดูแลผักในสวนที่มีทั้งมะเขือยาว ฟัก น้ำเต้า พริก กระเพรา อ้อย
ณ กลางเมืองหาดใหญ่ คุณเจริญวุฒิ อาชีพสถาปนิก สร้างบ้านของตนเองปรับแปลงพื้นที่ใช้สอยรอบบ้านอย่างคนมีความรู้ ใช้ลม แดดที่เข้ามาให้เกิดประโยชน์ที่สำคัญ คุณเจริญวุฒิใช้ดาดฟ้าในการปลูกผัก ดาดฟ้าในเมืองใหญ่มักถูกปล่อยทิ้งไร้ประโยชน์ การปลูกผักบนดาดฟ้าไม่ต้องเผชิญกับแมลงใต้ดิน หอยทาก หนู ที่ว่างไม่ต้องมากมายนักก็สามารถเนรมิตผักที่หลากหลายให้ได้เลือกเด็ดกินในแต่ละมื้ออาหาร แตกต่างจากการปลูกผักแบบไฮโดรโป
โรงเรียนพลวิทยา จัดฐานการเรียนรู้ให้กับเด็กๆชั้นป.3หนึ่งในหกฐานคือสวนผักคนเมือง โดยเรียนรู้การเพาะถั่วงอกในขวด รวมถึงการเพาะเมล็ดอ่อนดอกทานตะวัน รวมถึงได้รู้จักผัก ไส้เดือน ดินการที่เด็กๆได้มีโอกาสได้สัมผัสและเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงเป็นการเสริมทักษะที่วันหนึ่งในอนาคตจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต