สวนผักคนเมืองหาดใหญ่สงขลา

  • photo  , 960x720 pixel , 134,463 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 112,886 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,146 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 47,954 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 41,394 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 46,459 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 123,723 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 26,940 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 21,017 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 138,935 bytes.

"สวนผักคนเมือง"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

ยังคงขยายผลการทำเกษตรเมืองไปเรื่อยๆ ล่าสุดมีความร่วมมือกับเทศบาลเมืองบ้านพรุโดยการนำของปลัดอดิศักดิ์ รัตนะ ชวนแกนนำในชุมชนและทีมงานร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกำหนดแนวทางความร่วมมือ

ฟังแนวคิดของเทศบาลแล้ว ที่ได้ดำเนินการมาหลายปี มีครัวเรือนที่เป็นแกนนำหลักราว ๓๐ หลัง มีผู้สนใจอีกร่วมร้อยคน มีศูนย์เรียนรู้ของตัวเอง ผมมีข้อเสนอไปสองสามประการ กล่าวคือ

๑.สร้างฐานการทำงานในรูปแบบ "เก้าอี้สามขา" โดยขาที่หนึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายของชุมชนที่เป็นกลุ่มแกนนำ หาผู้นำของชุมชนที่จะเป็นผู้ดำเนินการเป็นหลัก ให้เป็นแกนในการขับเคลื่อน แกนเหล่านี้ประกอบด้วยผู้นำหรือเกษตรกรที่สนใจจริง สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นวิทยากรและแหล่งเรียนรู้จากการปฎิบัติในพื้นที่ ให้รวมตัวกันมีช่องทางสื่อสาร ชุดความรู้ และกิจกรรมภายในของกลุ่ม ขาที่สองเป็นขาสนับสนุนได้แก่ทีมงานของเทศบาลช่วยในด้านนโยบาย ทิศทาง สนับสนุนปัจจัยการผลิตกลางได้แก่ ดิน ปุ๋ย ต้นกล้า เป็นต้น (ปัจจุบันเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ทำให้ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึงและชุมชนเป็นผู้รับขาดความรู้สึกเป็นเจ้าของ)และขาที่สามก็คือเครือข่ายภายนอกรวมไปถึงสมาชิกในชุมชนบ้านพรุที่รักสุขภาพ ที่จะมาเป็นผู้บริโภคที่ดีและตัวกระตุ้น ตัวเสริม

๒.สร้างความต่อเนื่องในกิจกรรม เริ่มจากร่วมสร้างความสัมพันธ์ในฐานะสมาชิกของชุมชนที่ผมมองว่ามีแต่ชื่อชุมชน แต่ผู้คนต่างคนต่างอยู่ขาดปฎิสัมพันธ์ต่อกัน มีกิจกรรมกลางที่เปิดกว้างให้ผู้สนใจ(ปัจจุบันเริ่มมีตลาดสีเขียวหน้าเทศบาล) วางหลักสูตรการเรียนรู้ ดูงาน ฝึกปฎิบัติ และสร้างรูปแบบ สร้างความรู้จากการปฎิบัติให้กับวิทยากรประจำจุดเรียนรู้ ทำเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามธรรมชาติ จากฐานผู้สนใจมารวมตัวกัน ก่อนขยายผล หากทำต่อเนื่องได้เกิน ๒ ปีความสำเร็จน่าจะมาได้ไม่ยาก

๓.สร้างพื้นที่รูปธรรมทั้งระดับชุมชน และรายย่อย โดยนำแนวทางสวนผักคนเมืองที่ทำแล้วได้ความสวยงาม หน้าบ้านน่ามอง ได้ผักอินทรีย์บริโภคที่หลากหลาย จัดการขยะเปียกในครัวเรือน นำวัสดุเหลือใช้มาใช้ปลูกผัก เสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่เทศบาลดำเนินการอยู่

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน