กระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา

by punyha @24 เม.ย. 62 18:39 ( IP : 124...167 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , กิจกรรม
  • photo  , 960x540 pixel , 54,862 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 50,060 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 46,961 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 53,082 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 26,097 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 44,840 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 54,422 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 60,066 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 44,370 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 43,781 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 52,747 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 52,078 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 48,364 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 42,707 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 53,244 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 52,711 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 51,084 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 47,705 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 48,983 bytes.

"การเรียนรู้"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

การพัฒนาภายใน ยังถูกนำมาใช้ในการทำงานขององค์กรสาธารณะน้อย โดยเฉพาะองค์กรที่เติบโตมาจากการสนับสนุนของภาคส่วนใดๆก็ตามที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับนโยบายไม่ว่าจากส่วนกลางหรือจากแหล่งทุน สวนมากมักเติบโตเชิงปริมาณ ถูกเร่งให้เกิด และไม่ได้มีการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานที่ดี

ทุกอย่างจะมีคู่มือ มีแนวทางสำเร็จรูปที่คิดและกำหนดมาจากศูนย์กลางแห่งอำนาจ ที่ไม่ได้รองรับความหลากหลาย แตกต่าง ไม่เข้าใจบริบทพื้นที่ มิติทางสังคม และโครงสร้างที่มีข้อจำกัด และถูกเร่งให้รีบสนองตอบตัวชี้วัดหรือผลผลิตของโครงการ หรือแม้กระทั่งองค์กรที่่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาบ้างแล้ว ถึงจุดหนึ่งก็จำเป็นที่จะต้องทบทวนตัวเอง ถอดรื้อตัวเอง กำหนดทิศทางใหม่ๆตามพลวัตร

สมาคมอสม.กระบี่ชวนให้ไปช่วยพัฒนาศักยภาพกรรมการของสมาคมร่วม ๒๐ ชีวิต นำกรรมการที่มาจากแต่ละพื้นที่ ช่วงวัย๔๐-๖๕ ออกจากพื้นที่หวังจะให้มีกระบวนการมาช่วยทบทวนตัวเอง สร้างการเรียนรู้และพัฒนาภายใน

เริ่มด้วยการทำความรู้จัก สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายเพื่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยที่จะร่วมเรียนรู้ได้ด้วยกัน เขียนความคาดหวังเพื่อให้รู้เจตนารมณ์ของทุกคน เริ่มบทเรียนด้วยเรื่องพื้นฐานที่สุดก็คือการฟังอย่างลึกซึ้ง เพราะเชื่อว่าองค์กรจัดตั้งกึ่งราชการนี้ส่วนใหญ่ยังติดยึดรูปแบบผู้นำมากกว่าคณะทำงานที่มีการทำเป็นทีม และการหลอมรวมผู้ที่มีศักยภาพมาอยู่ร่วมกันมักประสบปัญหาไม่ฟังกัน หรือฟังแต่ไม่ได้ยิน

ทุกคนเรียนรู้หลักการพื้นฐานของการสานสนทนา ฝึกแบ่งกลุ่มฟังเรื่องเล่าชีวิตของแต่ละคนที่ตนยังไม่คุ้นเคย การทำงานส่วนใหญ่มักจะเน้นเนื้อหาเรื่องงาน การจัดการ แต่ความสัมพันธ์ในลักษณะความเป็นมนุษย์ยังมีน้อย การได้ฟังเรื่องราวชีวิตแต่หนหลัง จุดเปลี่ยนสำคัญ แรงบันดาล ความประทับใจต่างๆ หากได้ฟังโดยไม่ตัดสิน ไม่แทรก ฟังอย่างมีสติ พร้อมเปิดใจใคร่ครวญตามจนเกิดภาวะการรับรู้อย่างใหม่

ทำซ้ำสองรอบ สลับกับการสะท้อนการเรียนรู้ หลอมรวมกับประสบการณ์การทำงานในอดีต ค่อยๆทำให้ผู้เข้าร่วมรู้จักกันมากขึ้น บวกกับฟังเรื่องเล่าชีวิตของแต่ละคนบอกเล่าผ่านเวทีกลางโดยการจับฉลาก ฝึกทักษะการเล่าเรื่อง และการฟังในเวทีกลางไปด้วย

ใช้หลายเครื่องมือในการทำกระบวนการ ทั้ง Time line การใช้โฟสต์อิสเขียนแทนการบอกเล่า ผลจากการฟังและการเล่าเรื่องเรียนรู้ความหลากหลายบนฐานร่วมก็คือความเป็นจิตอาสา จึงพบว่ากรรมการส่วนใหญ่มาจากพื้นฐานครอบครัวลำบาก ยากจน ต้องช่วยตัวเอง ช่วยครอบครัว มีแรงขับที่จะต้องทำงานเพื่อให้พ้นความลำบาก เมื่อกลับไปอยู่ชุมชนถูกชักชวนมาเป็นอสม.มีโอกาสได้ช่วยคนอื่น พร้อมถูกปลูกฝังอุดมการณ์ ศรัทธาและความเสียสละทำให้แต่ละคนยืนหยัดมาจนถึงทุกวันนี้

จากนั้นได้เรียนรู้บุคลิกการทำงานในองค์กรที่มักประกอบด้วยบุคคลหลายประเภท นำไปเปรียบกับกระทิง หนู หมี เหยี่ยว สะกัดพฤติกรรมที่ทำซ้ำของตัวเองผ่านจุดแข็งจุดอ่อนของบุคลิกแต่ละประเภท แบ่งกลุ่มวิเคราะห์ตัวเอง พร้อมแจกแจงสิ่งที่ต้องการบอกให้ขั้วตรงข้ามของตนได้เข้าใจ เกิดการรับรู้ใหม่ การวิเคราะห์บุคลิกการทำงานเช่นนี้จะทำให้เห็นพฤติกรรมของคนในองค์กรชัดเจนมากขึ้น เห็นจุดอ่อนจุดแข็งที่ต่างจะต้องปรับตัวเข้าหากัน มิติภายในเช่นนี้จะทำให้การทำงานในอนาคตขององค์กรเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยน

จบด้วยการเปิดใจหลังลองเล่นเกมส์ "หมี(เป็ด)ย้ายรัง" ทดสอบการทำงานเป็นทีมภายใต้สถานการณ์บังคับ เรียนรู้จากการเล่นเกมส์ นำมาสู่การเสนอแนะการทำงานขององค์กรในภาพรวม

ขอบคุณทีมกระบี่ที่ให้โอกาสครับ

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน