จากภาวะผู้นำสู่ระบบทีม

  • photo  , 960x720 pixel , 51,190 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 54,265 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 49,847 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 60,475 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 46,679 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 48,172 bytes.

"จากภาวะผู้นำมาสู่ระบบทีม" เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

นัดทีมพื้นที่ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย มาหารือแนวทางการทำงานร่วมกัน ประกอบด้วยทีมปลัดอบต. ประธานสภา ผอ.รพสต. ทีมชุมชน ทบทวนแนวคิดการทำงานในระบบทีม ทำความเข้าใจบทบาทการทำงาน

๑.ไม่เป็นทางการ การมีทีมจากแกนนำภาคส่วนต่างๆทำให้ครอบคลุม มีความสมดุล จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเป็นเจ้าของ เสริมกับระบบทางการที่มีอยู่ และพยายามเชื่อมโยงบูรณาการกัน

๒.รู้เขา รู้เรา เปิดข้อมูลกิจกรรมและเป้าหมายที่มูลนิธิชุมชนสงขลาจะดำเนินการกับพื้นที่ ได้แก่งานศูนย์สร้างสุขชุมชนในการดูแลคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และคนยากลำบากในพื้นที่ การทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ ที่อยู่ในแผนปี ๖๒ บางกิจกรรมจะทำร่วมกับพชอ.(คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ)สะบ้าย้อย

๓.พัฒนาระบบข้อมูลกลางต่อยอดข้อมูลที่ได้เก็บไปแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา และพิเศษสุดคือข้อมูลผู้สูงอายุเก็บแบบ ๑๐๐ % (พบว่ามีจำนวน เกือบพันคน มีราว ๑๐๐ คนที่มีเพียงชื่อแต่ตัวคนย้ายไปมาไม่ได้อยู่ในพื้นที่)

๔.ออกแบบเวทีประชุมเชิงปฎิบัติการก่อนทำธรรมนูญตำบล สรุปบทเรียนการทำงานที่ผ่านมา โดยมีแกนนำภาคส่วนต่างๆราว ๓๐ คนมาร่วม โดยใช้การบอกเล่าประวัติความเป็นมาของชุมชนที่มีทั้งพุทธและมุสลิม มีการอพยพจากปัตตานีและมีชุมชนดั้งเดิม (คูหาเพี้ยนมาจากคูหาย) ใช้time line ทบทวนอดีตและปัจจุบันในด้านปัญหาและสิ่งดีๆในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะกำหนดอนาคตเป็นฐานเป้าหมายการจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ โดยพิจารณาเป้าหมายของท้องถิ่น ท้องที่ พชอ.ไปด้วยกัน จะจัดเวทีวันที่ ๒๐ กพ. ณ รพ.สะบ้าย้อย

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน