สงขลาเมืองสหกรณ์ (2) ปลุกยักษ์หลับ

  • photo  , 960x540 pixel , 74,288 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,591 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 83,385 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 39,758 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 54,866 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,808 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 64,999 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 61,411 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 53,263 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 64,236 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 61,571 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 79,264 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 53,453 bytes.

"ปลุกยักษ์หลับ" เขียนโดน ชาคริต โภชะเรือง

มูลนิธิชุมชนสงขลาและบ.ประชารัฐฯสงขลา ร่วมให้ข้อเสนอแนะต่อแผนพัฒนาองค์กร และแผนพัฒนาธุรกิจการเกษตรของสหกรณ์การเกษตรโซนตก ประกอบด้วยอำเภอรัตภูมิ คลองหอยโข่ง ควนเนียง และบางกล่ำ อันเป็นกิจกรรมส่งเสริมให้สหกรณ์การเกษตรเป็นแกนขับเคลื่อนเกษตรกร ๑ สหกรณ์เกษตร ๑ อำเภอ ของสหกรณ์จังหวัดสงขลา

เห็นชัดในพัฒนาการของสหกรณ์ทั้ง ๔ ที่ทำให้งานสหกรณ์ก้าวเดินไปข้างหน้า

๑)หลักคิดอุดมการณ์พื้นฐานของสหกรณ์ สืบเนื่องจากอายุของแต่ละสหกรณ์ ๓๐-๕๐ ปี ผ่านบทเรียนทั้งวิกฤตและสำเร็จ จนสามารถยืนบนฐานคิดสำคัญๆ อาทิ การพึ่งตนเอง พอเพียง ช่วยเหลือ แบ่งปัน แก่เหล่าสมาชิกในด้านการเงิน จัดสวัสดิการตั้งแต่เกิดจนตาย ยกระดับผลผลิตทางการเกษตร สร้างรายได้จากการปล่อยสินเชื่อ การรวบรวมผลผลิต จำหน่ายสินค้า ส่งเสริมอาชีพ ฯลฯ ในการบริหารมีความเป็นประชาธิปไตยพื้นฐาน ๑ เสียงเท่าเทียมกัน ทำงานร่วมกันระหว่างสมาชิก กรรมการ และเจ้าหน้าที่

จุดเด่นที่พบก็คือ การบริหารที่มีระบบทีม กรรมการ และตัวแทนกลุ่มที่จะทำงานไปด้วยกัน ใช้กลยุทธ์หลากหลายในการสร้างการมีส่วนร่วม มีงานเชิงรุกในการสร้างวินัยการเงิน เช่น คลีนิคการเงิน การให้ความรู้ด้านสินเชื่อ/ดอกเบี้ยแก่สมาชิกที่ยื่นกู้ การจัดชั้นเงินกู้สมาชิก(๕-๑) การจำกัดเงินซื้อหุ้นไม่เกิน ๒ แสนบาท การระดมทุนด้วยการซื้อหุ้นแถมหุ้น การสร้างแรงจูงใจด้วยการแจกของใช้ การเป็นสหกรณ์สีขาวนำหลักธรรมาภิบาล ๙ ข้อมาใช้ มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายสหกรณ์และองค์กรการเงินในอำเภอเดียวกัน บางแห่งเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนผลผลิต สินค้า ทุกแห่งต้องการระบบสารสนเทศโดยเฉพาะโปรแกรมกลางที่สามารถใช้ได้กับสหกรณ์ทุกแห่ง มีการนำข้อมูลความต้องการจากสมาชิกมาวิเคราะห์จัดทำแผน แบ่งกลุ่มอาชีพ มีการใช้สื่อประชาสัมพันธ์อย่างหลากหลาย ทั้งวิทยุ เฟชบุ๊ค live,กลุ่ม line มีกิจกรรมร่วมกับสังคมอย่างกว้างขวาง

มีเงินหมุนเวียนในแต่ละองค์กรเฉลี่ยสี่ห้าร้อยล้านบาทต่อแห่ง ในส่วนสมาชิกส่วนใหญ่ขยายไปไม่ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ คลองหอยโข่งมีสมาชิกราว ๒ พันคน ควนเนียง ๒.๕ พันคน บางกล่ำ ๒.๑ พันคน รัตภูมิ ๓.๓ พันคน สมาชิกจำนวนมากยังไม่เข้าใจอุดมการณ์สหกรณ์ หวังเพียงเงินกู้

กรรมการยังขาดประสบการณ์และมุมมองทางการตลาด ต้องการการพัฒนาศักยภาพ

๒) การต่อยอดงานรวบรวมผลผลิตและบริการสมาชิก หลายแห่งมีการบริการเชิงรุก จัดบริการเคลื่อนที่ สหกรณ์รัตภูมิมีเครือข่ายร้านค้าย่อยในชุมชนรองรับผลผลิต ขึ้นทะเบียนกับสหกรณ์จำหน่ายสินค้าราคาเดียวกัน ร่วมจำหน่ายผลผลิตกับชุมนุมสหกรณ์จังหวัด สหกรณ์ควนเนียงพัฒนาศูนย์เรียนรู้ยกระดับกิจกรรมหรือสมาชิกที่มีผลงานเด่นเป็นจุดเรียนรู้ จุดดูงานจนทำให้ได้รางวัลระดับชาติ เช่น การเพาะชำ การทำนา สวนสมรม การปลูกผักในกระถาง การทำแก๊สชีวภาพ เลี้ยงไส้เดือน มีการจัดทำครัวสหกรณ์รองรับผลผลิตและจำหน่ายผลผลิตราคาถูก ผลผลิตสำคัญในโซนประกอบด้วย น้ำยาง ข้าว โคขุน เห็ดแครง สหกรณ์รัตภูมิก้าวไปถึงขั้นประกอบกิจการโรงงานแปรรูปน้ำยาง เข้าสู่นิคมอุตสาหกรรม แต่ประสบปัญหาการตลาด การขาดเครืื่องจักรที่สามารถขยายกำลังการผลิต ขาดประสบการณ์การตลาด ประกอบกับทุนมีไม่มาก เดินมาถึงจุดที่จะเป็นผู้ประกอบการแต่ก็มีความเสี่ยงต่อการลงทุนและการแข่งขัน จะเล็กลงหรือโตกว่าเดิม ต้องการให้เครือข่ายสหกรณ์อื่นๆและเคแอนด์เค นำผลผลิตไปจำหน่ายสมาชิก

ข้อเสนออื่นๆ อาทิ ผลิตและจำหน่ายให้ครบวงจร ไม่ใช่แค่นำผลผลิตจากที่อื่นมาจำหน่าย ควรนำผลผลิตจากสมาชิกมาต่อยอด และต่อรองให้นำผลผลิตของสมาชิกไปจำหน่ายให้กับเครือข่ายสหกรณ์ภาคอื่น หรือเอกชนที่รับผลผลิตมาจำหน่าย

๓)ข้อเสนอแนะที่ให้ไป เน้นความร่วมมือ สร้างวาระร่วมของเครือข่ายสหกรณ์ทั้ง ๔ อำเภอและ ๑๖ อำเภอ เป็น "เกลอ" ร่วมผ่านการผลักดันเชิงนโยบาย โดยมีทีมทำงานจากสหกรณ์ ภาคีเครือข่ายมาช่วยดำเนินการ ประกอบด้วย ๓.๑ การสร้างรากฐานจิตวิญญาณสหกรณ์ผ่านสถาบันการศึกษา เช่น ร่วมกับวิทยาลัยชุมชนจัดทำหลักสูตรอุดมการณ์สหกรณ์อบรมให้สมาชิกก่อนผ่านการรับรอง ๓.๒ ปรับแก้กฏระเบียบที่ไม่สอดคล้อง
๓.๓ พัฒนาระบบสารสนเทศกลางที่จะใช้ประโยชน์อำนวยความสะดวกในการบริการแก่สมาชิก ๓.๔ สร้างค่านิยมร่วมแก่สมาชิก อาทิ บริการด้วยใจ การพึ่งตนเองและช่วยเหลือแบ่งปัน การช่วยเหลือดูแลสมาชิกและกลุ่มคนเปราะบางในชุมชน การสร้างภาพลักษณ์ใหม่ที่มีต่อสหกรณ์การเกษตรเพื่อดึงดูดสมาชิกรุ่นใหม่เข้าร่วม ๓.๕ ดำเนินกิจกรรมในการดำเนินธุรกิจใน ๒ ลักษณะ คือ ๑.ต่อยอดผลผลิตเด่นของพื้นที่บนฐานพืชอัตลักษณ์ สินค้าเด่นเฉพาะที่ เน้นชุมชนนำการผลิต และ๒.ดำเนินกิจกรรมในภาพรวมของแต่ละสหกรณ์ที่มีผลผลิตร่วมหรือสินค้าร่วมเพื่อการต่อรอง สามารถทำได้ทั้งระดับโซนและระดับจังหวัด โดยใช้ตลาดนำการผลิต

ประธานสหกรณ์บางกล่ำให้ข้อมูลว่าสหกรณ์ทั้งประเทศมีเงินอยู่ในระบบราว ๒.๕๕ ล้านล้านบาท มีสมาชิกร่วม ๓๐ ล้านคน นี่คือยักษ์หลับที่รอการปลุกให้ตื่นโดยแท้

"เรียนรู้ตัวเอง ปรับฐาน เพิ่มคุณค่า หาพันธมิตร"
คือบทสรุปที่ผมมีให้ครับ

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน