จากโคหายมาเป็นคูหา

  • photo  , 960x720 pixel , 80,787 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 83,650 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 77,229 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 80,327 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 62,645 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 71,822 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 73,100 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 69,994 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 66,279 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 75,305 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 53,533 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 66,004 bytes.

จากโคหายมาเป็นคูหา

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

ประชุมภาคีเครือข่ายท้องถิ่น ท้องที่ โรงเรียน ชุมชน กศน. รพสต. รพ. และพชอ.(คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ) ของตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย เป็นจุดเริ่มต้นการทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่

ใช้สถานที่ห้องประชุมรพ.สะบ้าย้อย เป็นพื้นที่กลางโดยมีปลัดอำเภอมาเป็นประธาน เริ่มด้วยการเล่าที่มาของตำบลจากนายกและผอ.รพ.สต.ที่ชื่อนั้นเพี้ยนมาจาก"โคหาย" มาเป็น "คูหา" ใช้ Time line ให้ผู้เข้าร่วมเขียนใส่โพสต์อิสดูพัฒนาการของชุมชนในมุมที่เป็นปัญหาและสิ่งดีๆในด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ๓ ยุค กล่าวคือ ตั้งแต่ปี ๒๕๐๐-๒๕๒๐ ยุคที่ ๒ ตั้งแต่ ๒๕๒๑-๒๕๔๐ และตั้งแต่ ๒๕๔๑จนถึงปัจจุบัน ด้านหนึ่งเป็นเครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วมที่ทำได้มากกว่าแค่เปิดเวทีให้คนพูดเก่งไม่กี่คน และทำให้ได้รับรู้เรื่องเล่าอิงประวัติศาสตร์ชุมชนทั้งความเป็นมา สิ่งดีๆที่เป็นทุนทางสังคมไม่ว่าจะเป็นสายน้ำ ป่าไม้ ขุนเขา โดยเฉพาะถ้ำและเรื่องเล่าของคนธรรพ์ การพึ่งพากันเองของชุมชนไม่ว่าจะเป็นพุทธและมุสลิมในการสร้างโรงเรือนเพื่อรองรับพิธีการทางศาสนาในยุคที่ยังไม่มีเต้นท์ให้เช่า หรือการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของชุมชนด้วยการให้ข้าวของเครื่องใช้ที่บรรจุอยู่ในภาชนะรูปสัตว์ต่างๆที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้วัสดุในพื้นที่ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ผัก ผลไม้ สัตว์น้ำ

เรื่องเล่าเช่นนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมได้ทบทวนความทรงจำ นำตัวเองเข้าไปผูกพันกับพื้นที่และย้อนมองปัญหาที่เกิดในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการขาดมิติความสัมพันธ์ช่วยเหลือกัน ต่างคนต่างอยู่ ปัญหายาเสพติด เด็กท้องไม่พร้อม ขยะ สังคมผู้สูงวัยที่ไม่มีคนดูแล จนนำมาสู่การกำหนดเป้าหมายร่วมในการดำเนินการจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ที่มี ๑๗ เป้าหมาย เลือกประเด็นที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและทุนทางสังคมที่ได้กล่าวมา

ที่ประชุมตกลงที่จะใช้หลักการสร้างสรรค์นำปัญหา เน้นการสร้างพลังบวกและความรักความสามัคคีเป็นแรงจูงใจในการจัดทำข้อตกลง บางมาตรการอาจใช้การสั่งการและอำนาจทางกฏหมายรองรับ จุดเน้นจะอยู่ที่ประเด็นร่วมของพชอ./ศุนย์สร้างสุขชุมชน/อบต./รร./รพ.ที่จะทำไปด้วยกันกล่าวคือ การจัดการขยะ การดูแลผู้สูงอายุคนพิการ คนยากลำบาก การท่องเที่ยวชุมชน การสร้างแหล่งเรียนรู้ และการพัฒนานวตกรรมด้านสุขภาพ

จากนั้นจัดตั้งคณะทำงาน นำข้อเสนอดังกล่าวไปดำเนินการยกร่าง นัดหมายภาคีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหลักมาร่วมร่างข้อตกลงต่อไป โดยไปพร้อมกับงานของแต่ละองค์กรที่จะดำเนินการ เท่ากับเป็นการใช้ธรรมนูญมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรมไปด้วยกัน ไม่ใช่แค่ให้ได้ข้อตกลงที่เป็นเป้าหมาย

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน