จากสวนสองแรง สู่ "สวนเบญจพฤกษ์"
"สวนเบญจพฤกษ์" เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง
จากครูเด็กอนุบาลมาสู่การเป็นทีมวิทยากรสวนผักคนเมือง ป้าทุมในวัยที่สามารถสร้างคุณค่าในชีวิตนำทักษะการเป็นครูมาใช้ในการยกระดับความรู้จากการลงมือทำ "ปัญญาปฎิบัติ" กับลุงยูรสามี ขยายผลไปสู่ผู้สนใจ มีคนเข้ามาเรียนรู้ ณ สวนเบญจพฤกษ์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอมากว่าสามปีแล้ว
รูปแบบการปลูกผักที่นำแนวทางสวนผักคนเมืองมาใช้ จัดการกับพื้นที่สวนขนาดย่อม มีทั้งไม้ผล ผัก ผสมผสานหลากหลาย มีความประณีตในระดับที่หาคนเทียบได้ยาก -การเตรียมดินพร้อมปลูก ผสมปุ๋ยและ NPK ที่หาได้จากวัสดุรอบตัว ราเขียว เป็นดินพร้อมปลูก -ปุ๋ยก้อนจากเศษข้าว เศษผัก รำข้าว น้ำหมักชีวภาพ -การปลูกแบบในล้อยาง แปลงผัก ผักยกแคร่ แปลงผักบุฟเฟต์ สวนผักแนวตั้ง ปลูกผักในวัสดุเหลือใช้ที่มีสาระพัดรูปแบบและความคิดสร้างสรรค์ -การปลูกมะนาว กล้วย ขจร มะละกอ แก้วมังกร ฯลฯ
รอบนี้นำขวดน้ำที่เหลือทิ้งมาทำน้ำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ผูกร้อยด้วยลวดกันเป็นแปลงผัก กันแมลงและไก่ลงจิกผลผลิตในแปลง ขวดหลากสีทำให้เกิดสวนสวยไปในตัว ทำทีเดียวได้ประโยชน์หลายต่อ นี่คือแนวคิดสวนผักคนเมือง
ทำน้อยแต่ได้มาก
ได้ผักผลไม้อินทรีย์ ได้การจัดการขยะเปียกในครัวเรือนมาทำปุ๋ยและขยะรีไซเคิลมาใช้ใหม่ ได้สุขภาพกาย ใจ ได้ความสัมพันธ์ทางสังคมกับชุมชน ได้เป็นผู้ให้ แบ่งปันความรู้แก่ผู้อื่น
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567