ชุมชนแหลมสนอ่อน

  • photo  , 960x641 pixel , 148,624 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 143,694 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 82,733 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 133,185 bytes.
  • photo  , 719x960 pixel , 92,229 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 125,531 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 84,393 bytes.
  • photo  , 960x717 pixel , 113,696 bytes.
  • photo  , 960x717 pixel , 109,036 bytes.
  • photo  , 960x717 pixel , 67,327 bytes.
  • photo  , 717x960 pixel , 57,292 bytes.
  • photo  , 960x717 pixel , 129,441 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 101,812 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 117,021 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 93,576 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 110,872 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 127,201 bytes.
  • photo  , 795x960 pixel , 82,332 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 76,119 bytes.
  • photo  , 960x641 pixel , 135,916 bytes.
  • photo  , 960x641 pixel , 111,532 bytes.

"ชุมชนแหลมสนอ่อน" เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

สองปีเต็มที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนแหลมสนอ่อน ชุมชนใหม่ล่าสุดของเทศบาลนครสงขลา มีโอกาสได้เรียนรู้การทำงานในเขตเมืองและกลุ่มคนเปราะบางที่น่าสนใจมาก ก็คือ

๑) เป็นชุมชนที่เริ่มต้นท่ามกลางปัญหานานา ทับซ้อนกันหลายมิติ กล่าวคือ ที่ดินเป็นของธนารักษ์ ส่วนหนึ่งมอบให้เทศบาลนครสงขลาเช่าใช้ประโยชน์ ส่วนที่ชุมชนกว่า ๗๐ ครัวเรือนพำนักอยู่นั้นยังไม่ได้ทำสัญญาเช่าให้ถูกต้อง ประชาชนที่อยู่เป็นผู้ประกอบการร้านค้าที่ถูกจัดระเบียบมาแต่สมัยจอมพลสฤกษ์ ต่างมาอาศัยสร้างบ้านทำร้านของตัวเอง พวกเขาเป็นคนต่างถิ่น ต่างที่ เป็นผู้ประกอบการก็เป็นคู่แข่งกันและกัน ไร้สภาพความเป็นชุมชน สถานที่แห่งนี้จัดว่าเป็นทำเลทอง มีผู้ต้องการใช้ประโยชน์เในเชิงพาณิชย์มากมาย และมีมิติความขัดแย้งสะสมตัวเองมายาวนาน ยากที่คนภายนอกจะเข้าใจในเวลาสั้นๆ ความเป็นไปในการพัฒนาของสถานที่แห่งนี้จำเป็นที่คนสงขลาจะต้องจับตามอง หาใช่ให้เป็นของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

๒)ผมได้รู้จักกับพี่อ้น และลุงนิพนธ์ ที่เป็นแกนนำธรรมชาติ (ผู้นำชุมชนตัวจริงเทศบาลนครแต่งตั้งขึ้น แต่ชุมชนให้การยอมรับพี่อ้น ทำให้เกิดสภาพการพัฒนาที่แบ่งฝ่าย รอวันหาข้อยุติ) ทั้งคู่เข้ามาหาที่มูลนิธิฯ เล่าปัญหานานาที่พบ เพื่อหาทางออก ทั้งคู่รวมกลุ่มสมาชิกจำนวนหนึ่งที่ไว้วางในในที่พี่อ้นที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ช่วยแก้ปัญหาที่มี เริ่มออมทรัพย์ ขอความช่วยเหลือจากพอช.เพื่อทำโครงการบ้านมั่นคง ขอทำสัญญาเช่าที่จากธนารักษ์ คลี่คลายปัญหากับเทศบาลนครสงขลาไปทีละน้อย เวลานี้ทุกอย่างเดินหน้าไปได้ด้วยดี พี่อ้นตั้งกลุ่มสตรีของอำเภอเมือง ทำโครงการขอเงินหมุนเวียนกองทุนสตรีมาจากต่อยอดข้าวนึ่ง และรอเพียงเข้าพบผู้ว่าเพื่อขอเปลี่ยนสัญญาจากเช่าเพื่อการค้ามาเป็นเช่าเพื่อที่อยู่อาศัย อันเป็นความต้องการของสมาชิกส่วนใหญ่ ผมได้ฟังแล้วก็แนะนำไปว่าก่อนจะยกระดับใดให้สร้างฐานความเป็นชุมชนขึ้นมาก่อน เริ่มด้วยความสัมพันธ์ของผู้คนโดยไม่แบ่งแยก แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จากนั้นเราก็เริ่มกิจกรรมเชิงบวกในพื้นที่ ทุกวันที่ ๙ ของเดือนจะมีกิจกรรมเรียนรู้ปลูกผักแบบสวนผักคนเมือง กินข้าวร่วมกัน ทำกลุ่มออมทรัพย์ ทำแผนชุมชน แผนกลุ่ม เก็บข้อมูลคนยากลำบากในพื้นที่ต.บ่อยางร่วมกับพี่สมจิตร จัดตั้งทีมศปจ.(ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนา)อำเภอเมือง ร่วมกับภาคีที่เริ่มเข้ามา ได้แก่ สำนักงานยุติธรรมจังหวัด/สนง.คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พมจ. ม.ราชภัฎ มทร.ศรีวิชัย อำเภอเมือง พัฒนาชุมชน โครงการผ้าสร้างสุข ทน.สงขลา สร้างเครือข่ายการทำงานไปเรื่อยๆ พิสูจน์ตัวเองให้สาธารณรับรู้ถึงความตั้งใจที่จะรักษาพื้นที่แห่งนี้ไว้เพื่อคนสงขลา

๓) สภาพปัญหาพื้นฐานทั้งชุมชนที่นี่และในพื้นที่อำเภอเมืองก็คือ การเป็นชุมชนผู้สูงวัย คุณภาพชีวิตพื้นฐานทั้งด้านที่อยู่อาศัย สุขภาพ ความยากจน สิทธิต่างๆ ที่พึงได้รับแต่ก็มีคนอีกจำนวนมากที่ตกหล่น เนื่องจากเป็นคนต่างถิ่น เข้ามาทำมาหากินนานนับสิบปีแต่ไร้บัตรประชาชน หรือเป็นคนต่างถิ่น ไร้ที่ดินของตัวเอง ปัญหาเหล่านี้ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเมื่อมาตกแต่งได้ภรรยาหรือสามีกระทั่งมีเด็กอีกมากเกิดขึ้น ครอบครัวบางส่วนหย่าร้าง ภาระเป็นของปู่ย่าดูแลเด็ก หรือเป็นของมารดา มีไม่น้อยที่นำเด็กมาเป็นเครื่องมือหากิน บ้างก็เป็นคนพิการ ถูกทอดทิ้ง มีอีกมากที่ไปบุกรุกที่ดินการท่า การรถไฟ เอกชน ปัญหาสังคมเหล่านี้ไม่ปรากฏในระบบทางการ แต่เป็นปัญหาเชิงมนุษยธรรมที่ดำรงอยู่ในพื้นที่ เป็นส่วนหนึ่งของความไม่เป็นธรรมเชิงโครงสร้างที่บีบคั้นให้ครอบครัวแตกสลาย อพยพจากบ้านเกิดมาทำมาหากินในดินแดนใหม่ บ้านแตกสาแหรกขาด

๔)จากสภาพปัญหาที่พบดังกล่าวทำให้พี่อ้นและทีมมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาพื้นที่ ปัจจุบันได้ต่อยอดการพึ่งตนเองและช่วยเหลือสังคม หลังจากพยายามสื่อสาร ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้กับคนยากลำบากไปได้หลายกรณี นอกจากเปิดพื้นที่กลางให้ผู้นำหรือชุมชนจากที่ต่างๆมาทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกันแล้ว ยังจับมือกับศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนำเคสที่ปรับสภาพพื้นฐานด้านสุขภาพและจิตใจแล้วส่งมาให้ทางชุมชนฟื้นฟู อาศัยการทำงานและอยู่ร่วมกันในสังคมฟื้นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ขึ้นใหม่ซึ่งเป็นทางออกที่ดีกว่าส่งสถานสงเคราะห์ ต่อยอดธุรกิจขายไอสกรีม ข้าวนึ่ง (รวมกับน้ำส้มหมัก สบู่ ฯลฯ)ซึ่งปัจจุบันได้ยกระดับเป็นสินค้า wow ของสงขลาเข้ารอบ ๒๕ ทีมสุดท้าย นำเสื้อผ้ามือสองมาคัดแยก ด้านหนึ่งส่งต่อให้ผู้ยากไร้ด้านหนึ่งมาตัดเย็บเป็นกระเป๋า ดัดแปลงนำมาจำหน่ายสร้างรายได้ เหล่านี่ในอนาคตพร้อมจะยกระดับเป็นธุรกิจเพื่อสังคม เป็นที่พึ่งให้กับคนอีกมาก

๕.)ล่าสุดเมื่อวันที่ ๙ กุมฯที่ผ่านมา ชุมชนได้ร่วมกับเครือข่ายต่างๆจัดกิจกรรมจิบน้ำชาระดมทุนเพื่อเป็นกองทุนกลางในการช่วยเหลือดูแลสมาชิกคนยากลำบากและเปราะบางที่สำรวจพบ มีหลายคนรอการช่วยเหลือ อาทิ ครัวนางนัฟเซาะที่บ้านพังจากวาตภัย กำลังประสานช่างอาสามาช่วยสร้างบ้านใหม่ ระดมทุนได้จำนวนหนึ่ง ชุมชนเองก็ได้ประสบการณ์จากการลงมือทำด้วยตัวเอง ช่วยเหลือกันเอง เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของการทำงานเพื่อสาธารณะของชุมชนในปัจจุบัน ต่างเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดช่องทางและเสริมการทำงานของภาครัฐที่หลายอย่างไม่สามารถลงไปดำเนินการเองได้ ควบคู่กับการแก้เชิงระบบไม่ว่าจะเป็นเรื่องบัตรประชาชน การสร้างบ้านน็อคดาวน์ การทำ CSR การวางแผนช่วยเหลือในระยะยาว

ใครต้องการมีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือกิจกรรมของกลุ่ม ตามกำลังของท่าน ส่งต่อได้ที่ บัญชีกองทุนสตรีแหลมสนอ่อนเพื่อช่วยเหลือผู้ยากลำบากเมืองสงขลา บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ ๐๒๐๑ ๔๘๔๑ ๙๙๒๗ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสงขลา นะครับ

Relate topics

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน