วันนี้ (๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒) ช่วงเช้า เข้าพบนายกสมาน หมุดยะฝา และทีมงานอบต.ท่าชะมวง หารือการจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ ได้ข้อสรุปนำแนวทางพหุวัฒนธรรมที่ชุมชนมีทั้งพุทธและมุสลิมมาหลอมรวมจัดทำข้อตกลงในการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการนายกเล่าประวัติชุมชนที่มีเรื่องราวของให้เห็นการเป็นสังคมเครือญาติของทั้งสองฝ่าย การสร้างรากฐานชุมชนให้คืนกลับมาจะเป็นเป้าหมายร่วม ควบคู
"ชุมชนหลังอาชีวะ"ชาคริต โภชะเรือง บันทึกเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๒จากคนไม่กี่คนมาบุกรุกที่ดินของการรถไฟกระทั่งขยายตัวไปเรื่อยๆ ทั้งที่เผชิญกับการถูกรื้อถอนที่พักที่สร้างชั่วคราวถูกจับปรับ แต่สุดท้ายชุมชนหลังอาชีวะก็ขยายเติบโตจนกลายเป็นชุมชนแออัด"เด็กๆรุ่นหลังนี้มากันแบบสบาย ไม่เหมือนรุ่นแรกที่เพิ่งมาอยู่" หญิงชราจากคาบสมุทรสทิงพระเล่าวันนี้มูลนิธิชุมชนสงขลากับเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ตำบลลง
"เก้าอี้ ๔ ขา"การทำงานในพื้นที่หากคิดในแง่ความยั่งยืน ควรประกอบด้วยขาการทำงานอย่างน้อย ๔ ขาที่เสมอกัน คือ๑.ส่วนภูมิภาค ประกอบด้วยตัวแทนกระทรวงต่างๆและพ่อเมืองรับนโยบายจากส่วนกลางนำมาสู่การปฎิบัติ หรือนำปัญหาจากพื้นที่ไปสู่การแก้ปัญหาเชิงนโยบาย๒.ส่วนท้องถิ่นและท้องที่ ในฐานะองค์กรภาครัฐส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ดูแลประชากรของตน โดยมีผู้บริหารที่เป็นนักการเมืองผ่านการเลือกตั้ง และกำนัน/ผญ.บ้าน ภาย
เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ เดินหน้าดำเนินกิจกรรมเยี่ยมบ้านควบคู่กับตั้งวงคุยเพื่อจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่พหุวัฒนธรรมจากการจัดประชุมกลุ่มย่อยวันที่ 13 มิถุนายน 2562 มีข้อสรุปดังนี้1)ให้มีการกิจกรรมดีๆ ที่ต้องเรียนรู้ ไปด้วยกัน ผ่านกระบวนการลงมือทำ เพื่อสัมพันธภาพที่ดีต่อกันเช่น ไปเยี่ยมครอบครัวผู้เสียชีวิต เป็นคณะ ไม่แยกศาสนาใด ในเวลาที่เหมาะสม โดยเทศบาลประกาศนัดหมาย แจ้งข่าวใครเสีย หรือ ไปเยี่ยมผู
"ธรรมนูญพหุวัฒนธรรม"เขียนโดย ชาคริต โภชะเรืองปาดังแปลว่าทุ่ง เบซาร์แปลว่าใหญ่ ปาดังเบซาร์จึงหมายถึงทุ่งใหญ่ สภาพภูมิประเทศเดิมเป็นป่าเขาและกลายเป็นชื่อของพื้นที่เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ในปัจจุบัน ประกอบด้วย ๑๐ ชุมชน มีประชากรกว่า ๑หมื่นคน มีผู้สูงวัยราว ๑ พันคนพื้นฐานประกอบด้วยชุมชนมุสลิม ๘๐% ชุมชนไทยจีน ไทยพุทธ ๓ วัฒนธรรมผสมผสานอยู่ในชุมชน ในอดีตบุกเบิกโดยชาวจีนที่มาสร้างทางรถไฟให้หาดใหญ่ จนใ
เดินหน้าสำหรับแนวทางชุมชนที่จะดูแลสมาชิกของตนและเชื่อมโยงการทำงานในนามเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ตำบลบ่อยางชุมชนเมืองในกลุ่มที่ตัวเองก็ถือว่าเปราะบาง หลายแห่งกำลังจะถูกไล่รื้อจากการเข้าอยู่ในที่ของราชการ สมาชิกไม่น้อยที่มีความยากลำบากและเปราะบาง การลุกขึ้นมาดูแลตัวเอง หรือสมาชิกของกันและกัน ภายใต้ความสัมพันธ์แบบเครือข่าย ร่วมกันสร้างทีม สร้างเครือข่ายภายในและนอกชุมชน เป็นอีกแนวทางหนึ่งของการพัฒนา โด
วนที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ช่วงบ่ายได้เข้าหารือพูดคุยกับนายภิจิตร์ เตะหมัดมหะ นายก อบต.เทพา โดยการประสานงานของนางสาวเสาวกุล เกษรา ท่านท้องถิ่นอำเภอเทพาประสานให้ได้พบนายกอบต.เทพาและทีมงานร่วมหารือการทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ ได้ข้อสรุปจุดเน้นที่การจัดการขยะและดูแลคนด้อยโอกาส สร้างสังคมไม่ทอดทิ้งกันก่อนนัดหมายประชุมใหญ่กันอีกครั้ง หลังออกบวชพบกันครับ
"ตำบลบางกล่ำใช้สภาผู้นำสร้างรากฐานความเข้มแข็งของชุมชน"วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ นัดครั้งที่ ๒ ของตำบลบางกล่ำ โดยการประสานของปลัดแขกรอบนี้เชิญผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ เจ้าอาวาสวัดท่าเมรุ วัดบางหยี ชุมชน โรงเรียนบางกล่ำวิทยา กศน. รพ.สต. พัฒนากร เครือข่ายในพื้นที่มาร่วมกำหนดแนวทางการจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่สาระสำคัญอยู่ที่การสร้างรากฐานการทำงาน ตำบลบางกล่ำอยู่ในสภาพคนเก่งมีมาก ต่างคนต่างทำ การประสานมุม
"ธรรมนูญตำบลน่าอยู่ตำบลโคกม่วง"เขียนโดย ชาคริต โภชะเรืองนายกสมนึก กำนัน ผญ. ชุมชน รพ.สต กศน. ร่วมทำความเข้าใจการจัดทำธรรมนูญตำบล ที่นี่เน้นการจัดการขยะที่เป็นปัญหาร่วมทั้งขยะในพื้นที่กับขยะจากต่างถิ่นที่เข้ามาทิ้งโคกม่วงมีประชากรราว 7 พันคน 2.5 พันครัวเรือน มีเขาวังชิงที่มีแร่ธาตุสมบูรณ์ทำให้ปลาช่อนของที่นี่มีรสชาติดีที่สุดเวทีวิเคราะห์ปัญหาการจัดการขยะในด้านต่างๆที่เกิดจากคน สภาพแวด
"ขยะเลื่อนลอย"ไม่ใช่ขยะที่ล่องลอยมาจากวิมาน แต่คือขยะที่นำมาจากที่อื่น แล้วมาทิ้งในชุมชนโคกม่วงปัญหาขยะมีหลายสาเหตุ สาเหตุหลักคือพฤติกรรมบุคคลขาดจิตสำนึกไม่มีการคัดแยกไม่รู้วิธีการจัดการขยะบางประเภทเช่น ขยะพลาสติก ขยะติดเชื้อ ขยะที่นำมาจากที่อื่น และหน่วยงานไม่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องการจัดการขยะ ต้องดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่นี่ชุมชนโคกม่วง เห็นความสำคัญในการจัดทำข