"ธรรมนูญตำบลน่าอยู่ ตำบลคลองหรัง"

  • photo  , 1315x640 pixel , 80,949 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 59,695 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 72,496 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 99,109 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 87,424 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 67,569 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 94,585 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 50,949 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 74,326 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 53,635 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 51,207 bytes.
  • photo  , 851x960 pixel , 157,418 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 46,795 bytes.
  • photo  , 466x960 pixel , 58,636 bytes.

"ธรรมนูญตำบลน่าอยู่ ตำบลคลองหรัง"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

ตำบลคลองหรัง ชื่อตำบลอาจเพี้ยนมาจากคลองที่มีดินลูกรังมาก กับอีกความเชื่อหนึ่งอดีตเคยมีฝรั่งมาขุดคลอง เลยเรียกเพี้ยนเสียงกันมาจนกลายเป็นคลองหรัง

จุดเน้นการการจัดทำธรรมนูญของที่นี่ก็คือ การจัดการขยะ ซึ่งอบต.ให้ความสำคัญ นายกบำรุงลงมาเล่นด้วยตัวเอง ต้องการลงลึกถึงการจัดการขยะจากแหล่งกำเนิด คือการจัดการขยะครัวเรือน

สภาพปัญหาที่พบจากผู้เข้าร่วมราว ๖๐ คนที่มาจากแต่ละภาคส่วน ท้องถิ่นท้องที่ อสม. ผู้สูงอายุ วัด ก็คือ ครัวเรือนยังไม่คัดแยกขยะ(ขาดความรู้ ไม่เข้าใจการคัดแยก ไม่เห็นประโยชน์ ไม่รู้อันตรายหรือผลกระทบจากขยะ จิตสำนึก ขาดความรับผิดชอบ) ประชาชนยังไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ทิ้งในที่ทิ้งขยะ คนภายนอกนำมาทิ้งในช่วงเวลากลางคืน มีขยะจากตลาด วัด เป็นต้น

อบต.มีค่าใช้จ่ายการจัดการขยะปีละ ๕ แสนบาท

ข้อตกลงที่ได้ยกร่างจากผู้เข้าร่วม

๑) ชุมชนดำเนินการด้วยตัวเอง

๑. ร่วมกันคัดแยกขยะ จัดเก็บใส่ถุง ได้แก่ ขยะเปียก ขยะรีไซเคิล ขยะนำไปจำหน่าย ขยะอันตราย

๒. ขยะเปียกนำมาทำปุ๋ย ทำน้ำหมักชีวภาพ

๓. ร่วมกันซื้อน้ำหมักชีวภาพจากครัวเรือนที่ดำเนินการ

๔. ลดพลาสติก ใช้วัสดุทดแทนพลาสติกที่ย่อยสลายได้ ใช้ถุงผ้า/ตะกร้าจ่ายตลาด

๕. ขยะแลกไข่ และนำขยะกลับมาใช้ใหม่

๖. สร้างจิตสำนึกกับครัวเรือน หากไม่ทำตามข้อตกลง จะไม่ให้ความช่วยเหลือทางสังคม และมีการมอบรางวัลการจัดการขยะในครัวเรือน ติดป้ายประกาศชื่นชมประจำเดือน

๒)ให้หน่วยงานดำเนินการ

๑.ให้อบต. รพ.สต. อสม.สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับครัวเรือนในการคัดแยกขยะ

๒.อบต.รับขยะมากำจัด รวมถึงขยะจากวัด ขยะในช่วงเทศกาล

๓.จัดให้มีวัน Big cleaning day ทั้งตำบล

๔.ขยะจากโรงเรียนให้นักเรียนจัดเก็บ

๕.ค้นหาแหล่งที่มาของขยะจากนอกพื้นที่แล้วประสานการแก้ปัญหา

๖.ให้ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ ศาสนา ชุมชน ร่วมกันปรึกษาหารือจับเข่าคุยกัน

๗.จัดหารถรับซื้อขยะจากครัวเรือนสัปดาห์ละครั้ง

ที่ประชุมจัดตั้งคณะทำงานที่เพิ่มเติมจากคณะทำงานการจัดการขยะที่มีการแต่งตั้งไว้แล้ว จากนั้นจัดส่งร่างข้อตกลงไปให้ครัวเรือนมีส่วนร่วมในการให้ความเห็น และจัดเวทีประชาคมประกาศใช้ต่อไป

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน