ธรรมนูญตำบลน่าอยู่ ตำบลวัดขนุน

  • photo  , 1317x640 pixel , 113,263 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 119,541 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 100,848 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 105,545 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 98,019 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 56,927 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 97,621 bytes.
  • photo  , 1315x640 pixel , 100,207 bytes.
  • photo  , 1315x640 pixel , 99,156 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 97,811 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 55,176 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 64,054 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 58,274 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 92,669 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 105,396 bytes.
  • photo  , 1315x640 pixel , 111,272 bytes.
  • photo  , 1315x640 pixel , 69,815 bytes.
  • photo  , 1315x640 pixel , 105,261 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 79,434 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 94,318 bytes.

"ธรรมนูญตำบลน่าอยู่ ตำบลวัดขนุน"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

ที่นี่ดำเนินการโดยกลุ่มสตรี โดยร่วมกันระหว่างมูลนิธิชุมชนสงขลา พัฒนาการอำเภอสิงหนคร อบต.วัดขนุน โดยการประสานงานของพัฒนากรประจำตำบล นำกลุ่มสตรี ๘ หมู่บ้านร่วม ๑๐๐ ชีวิตมายกร่างกติกาหรือข้อตกลงในการดูแลสมาชิกที่เป็นสตรีในกลุ่มที่ทั้งช่วยตัวเองได้และช่วยตัวเองไม่ได้ เป็นกลุ่มเปราะบางทางสังคม

สมาชิกกองทุนสตรีระดับตำบลมีราว ๘๐ คน สะท้อนปัญหาของตนที่สำคัญก็คือ รายได้ไม่แน่นอน หนี้สินนอกระบบ ต้องการอาชีพเสริม ปัญหารองลงมาก็คือสุขภาพ เป็นความดัน เบาหวาน สถานะทางสังคมไม่ดีนัก ยากจน และพบปัญหาขยะในชุมชน มีกลิ่นเหม็น น้ำเสีย

แนวทางแก้ไขและนำมาสู่ข้อตกลงร่วมของธรรมนูญประจำกลุ่มสตรีที่จะดำเนินการด้วยตัวเองก็คือ

๑.ด้านสุขภาพ

๑.๑ สตรีจะต้องร่วมออกกำลังกายตามรูปแบบที่เหมาะสม

๑.๒ สตรีมีการปลูกผักปลอดสารพิษครัวเรือนละ๕ ชนิด

๑.๓ สตรีจะร่วมกันจัดงานเลี้ยงไม่ใส่ข้าวในถุงพลาสติก

๑.๔ สตรีจะแสวงหาความรู้ด้านดูแลสุขภาพ อาหารการกิน

๑.๕ สตรีมีกิจกรรมลดน้ำหนัก มีแรงจูงใจให้รางวัลกับคนที่ลดน้ำหนักได้

๒.ด้านสังคม ดูแลสตรีที่ยากลำบากและเปราะบางทางสังคม

๒.๑ จัดหากล่องยาสามัญประจำตัวให้กับสตรีที่ล้มป่วย นอนติดเตียง หรือพิการ

๒.๒ สร้างอาชีพเสริม ลดรายจ่าย เสริมรายได้

๓.ด้านสิ่งแวดล้อม

๓.๑ สตรีร่วมกันคัดแยกขยะในครัวเรือน ขยะเปียกนำไปทำปุ๋ย ปลูกผัก

๓.๒ ขยะรีไซเคิลนำไปจำหน่ายหรือจัดงานทอดผ้าป่าขยะจัดตั้งกองทุน

และเสนอให้หน่วยงานต่างๆดำเนินการสนับสนุนสตรี

๑.ด้านสุขภาพ

๑.๑ รพ.สต.ร่วมหาวิทยากรนำออกกำลังกาย ให้ความรู้ ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

๑.๒ เกษตรตำบลให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ

๑.๓ กองทุนสุขภาพตำบลสนับสนุนงบประมาณดูแลสุขภาพ

๒.ด้านเศรษฐกิจ

๒.๑ อบต.และพัฒนาชุมชน สนับสนุนงบประมาณ ให้ความรู้ด้านการตลาด

๒.๒ หน่วยงานในพื้นที่ร่วมสนับสนุนกลุ่มอาชีพ ทุกครั้งที่มีการประชุมให้สนับสนุนอาหารว่างหรืออาหารเที่ยงจากผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสตรี

จากนั้นได้ตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมดำเนินการ ประกอบด้วยประธานกลุ่มสตรีหมู่บ้าน ๘ คน อาสาสมัครอีก ๓ คน พัฒนาชุมชน พัฒนากรมาเป็นที่ปรึกษา นำข้อมูลที่ได้ไปเรียบเรียงนำเสนอให้ครัวเรือนร่วมให้ความเห็น และจัดเวทีใหญ่เพื่อประกาศใช้ธรรมนูญกลุ่มสตรีต่อไป

ทั้งนี้มูลนิธิชุมชนสงขลาโดยการสนับสนุนงบประมาณจากอบจ.สงขลาจะสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อกล่องยาประจำตัวส่งมอบให้กับสตรีที่ป่วยติดเตียงหรือพิการ ตามข้อเสนอแนะในการประชุมครั้งนี้ในวงเงิน ๒.๕ หมื่นบาท

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน