"ธรรมนูญตำบลน่าอยู่ตำบลบ่อแดง"๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ นัดแกนนำเครือข่ายในพื้นที่ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระทั้งท้องถิ่น ท้องที่ อสม. ผู้สูงอายุ ร.ร. กศน. รพ.สต. วัด สภาองค์กรชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชน มาร่วมทำความเข้าใจแนวทางการจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่บ่อแดงมีบ่อน้ำกลางที่ทุกคนได้ดื่มได้ใช้ น้ำสีแดงเรื่อทำให้ได้ชื่อว่าเป็นบ้านบ่อแดงจนกลายเป็นชื่อของตำบล ที่ีนี่มีคำขวัญสะท้อนภาพรวมของตำบล "เลิศล้ำความ
"บุฟเฟต์ในงานศพ"แต่ละยุคสมัยย่อมมีการปรับตัวเพื่อให้กิจวัตรต่างๆที่พึงมีในชีวิตสอดคล้องเหมาะสมสอดรับกับความเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกันก็ไม่ได้แปลกแยกไปจากวัฒนธรรมเดิมมากนักในช่วงสามสี่ปีมานี้หากใครมางานศพในพื้นที่จังหวัดสงขลาจะพบรูปแบบการจัดเลี้ยงแบบบริการตนเองที่มีในแทบทุกอำเภอ ด้านหนึ่งแม้จะได้ชื่อว่าเป็นวัฒนธรรมตะวันตกแต่ก็ใกล้เคียงกับรูปแบบข้าวหม้อแกงหม้อที่ชุมชนดั้งเดิมนำมาร่วมบุญในงานวัด ทำบ
"เพื่อนช่วยเพื่อน"นอกจากกลไกในระบบปกติที่ทำหน้าที่ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายแล้ว ชุมชนหรือองค์กรเฉพาะของแต่ละกลุ่มเฉพาะก็ควรมี จะได้ช่วยกันเติมเต็มปัญหาที่มีองค์กรคนพิการ ผู้สูงอายุ หรืออื่นๆ ควรมีองค์กรลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน ที่ประกอบด้วยแกนนำที่สามารถช่วยตนเองและช่วยคนอื่นได้ ด้วยประสบการณ์บางอย่างคนอื่นๆไม่สามารถซึมซับหรือมีเทียบเท่า การมีองค์กรลักษณะนี้มากๆจะช่วยให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างตรง
"สภาผู้นำบางกล่ำ"เขียนโดย ชาคริต โภชะเรืองวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒ นัดแกนนำชุมชนตำบลบางกล่ำมาหารือแนวทางการจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ โดยการประสานงานของปลัด แต่ชนกับกิจกรรมพัฒนาที่นัดกระทันหันเลยมีผู้มาร่วมน้อย อย่างไรก็ดี มีบทสรุปจากที่ประชุมสำคัญๆ ที่น่าสนใจ-บางกล่ำ มี ๗ หมู่บ้าน ประชากรราว ๑๒๐๐ ครัวเรือน ชื่อตำบลเพี้ยนมาจากคำว่า "บางกลม" ที่กร่อนเสียงจาก โบางเกาะกลมโ เนื่องจากที่นี่เป
"ธรรมนูญตำบลนาหว้า"ไปเยือนถิ่นของลุงเคล้า แก้วเพชร นัดทีมผู้นำท้องถิ่น ปลัด กำนัน ผญ. สมาชิกอบต. อสม. ผู้นำชุมชน บัณฑิตแรงงาน บัณฑิตอาสา ร่วม ๕๐ คนโดยการประสานงานของปลัดอภิชัยตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ มี ๑๒ หมู่บ้าน ๒๐๐๐ กว่าครัวเรือน สภาพพื้นที่มีทั้งโซนควนและโซนนา มีทั้งพุทธและมุสลิม เป็นชุมชนเก่าแก่อายุไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ ปี ชื่อของตำบลเพี้ยนมาจากชื่อของโต๊ะดาหวา ที่เป็นบุคคลสำคัญยอมตายจากการต่อต้านญ
เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒อ.ชัยวัฒน์ชวนทบทวนการทำงาน ๑๐ ปีของมูลนิธิชุมชนสงขลา ผ่านเวลาเกือบห้าชั่วโมงโดยไม่รู้ตัว-งานภาค งานจังหวัดที่แต่ละคนหรือเครือข่ายต่างๆร่วมทำ สุดท้ายแล้วมีคนที่เราสัมพันธ์หรือร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยกันมีปริมาณเท่าไรกับจำนวนประชากรทั้งหมด ทั้ง "งานร้อน" "งานเย็น" ผลที่เกิด?-การสร้างความเปลี่ยนแปลง เมื่อพิจารณากับกฏของมาสโลว์ ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เริ่มจากปั
"ธรรมนูญตำบลน่าอยู่ตำบลแค"ตำบลแค อำเภอจะนะมาจากการที่เคยมีต้นแคป่าแฝดเด่นสง่าอยู่ในหมู่บ้าน ทว่าปัจจุบันไม่มีแล้วที่นี่เป็นชุมชนมุสลิมและพุทธก้ำกึ่งกัน เป็นชุมชนดั้งเดิมที่ยังมีความสัมพันธ์ระบบเครือญาติอยู่ร่วมกันได้ทั้งสองศาสนา ปัจจุบันนายกอต. กำนัน ผู้นำศาสนาทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด มีของดีในพื้นที่ก็คือ ส้มจุก วัดขวด ขนมเจาะหู และแกงไก่มัด(รูปแบบอาหารที่ต้องมีการทำร่วมกัน นำไก่เป็นตัวมามัดล
"สวนผักคนเมือง"เขียนโดย ชาคริต โภชะเรืองยังคงขยายผลการทำเกษตรเมืองไปเรื่อยๆ ล่าสุดมีความร่วมมือกับเทศบาลเมืองบ้านพรุโดยการนำของปลัดอดิศักดิ์ รัตนะ ชวนแกนนำในชุมชนและทีมงานร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกำหนดแนวทางความร่วมมือฟังแนวคิดของเทศบาลแล้ว ที่ได้ดำเนินการมาหลายปี มีครัวเรือนที่เป็นแกนนำหลักราว ๓๐ หลัง มีผู้สนใจอีกร่วมร้อยคน มีศูนย์เรียนรู้ของตัวเอง ผมมีข้อเสนอไปสองสามประการ กล่าวคือ๑.สร้า
วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ นัดกรรมการศูนย์สร้างสุขชุมชนและเครือข่ายตำบลคูหา พัฒนาโครงการดูแลคุณภาพชีวิตคนพิการ ผู้สูงอายุที่เปราะบางทางสังคมสภาพปัญหาทั่วไปก็คือ เจ็บป่วยเรื่อรัง พิการ สูงอายุติดบ้านติดเตียง ส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุการกิน จำเป็นต้องเปลี่ยนทัศนะผู้ดูแล มีหนี้สินส่วนหนึ่งจากความยากจน ส่วนหนึ่งจากการมีเวลาว่างเล่นพนัน(หวยสัตว์) ทำให้ไม่อยากทำงาน ปัญหาใหญ่ก็คือความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนมีน้อย
"ตำบลน่าอยู่ ทม.ทุ่งตำเสา"เขียนโดย ชาคริต โภชะเรืองทุ่งตำเสามาจากการเป็นพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยต้นตำเสา โดยเฉพาะม.๒ อดีตที่นี่อยู่ต้นน้ำเป็นป่าสมบูรณ์ มีเสือ ช้าง รายลอบ ผู้คนที่นี่ตื่นตัวด้านการศึกษา มีโรงเรียนแทบทุกหมู่ มี ๓ รพ.สต. แต่ละหมู่บ้านก็มีของดีที่น่าสนใจเช่น ทุเรียนบ้าน สะตอดอง ผ้าทอ อุโมงค์เหมืองทำแร่วันที่ 29 พฤษภาคม 2562 จัดประชุมเพื่อทบทวนอดีต ความทรงจำของชุมชน ผู้เข้าร่วมเกือบ