"ชุมชนหลังอาชีวะ"
"ชุมชนหลังอาชีวะ"
วันนี้ (18 สิงหาคม 2562) ชวนเครือข่ายภาคเอกชนมาสังเกตการณ์ และได้รับการประสานจากเอกชนอีกชุดหนึ่งว่าต้องการมาทำกิจกรรม เลยเสนอเรื่องการสนับสนุนห้องเรียนในชุมชนที่จะมี ๒ ลักษณะ
๑.ห้องเรียนสำหรับเด็ก แยกย่อยเป็น ๓ รูปแบบได้แก่ ๑)สำหรับเด็กเล็กและผู้ใหญ่ที่ต้องการอ่านออกเขียนได้จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยชุมชนหัวป้อม ๒) ห้องเรียนตามความสนใจจัดเป็นหลักสูตรระยะสั้น ได้แก่ ดนตรี การแสดง(เต้น รำโนรา) ภาษาอังกฤษ และพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก ๕ขวบถึง ๑๒ ขวบใช้เวลาหลังเลิกเรียนก่อนผู้ปกครองกลับบ้านและช่วงเสาร์อาทิตย์ รูปแบบที่ ๑ และ ๒ จะขยับหลังจากนี้โดยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่จะขอการสนับสนุนภาคเอกชนเริ่มด้วยการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเด็กๆก่อนทั้งชุมชนหลังอาชีวะและหังป้อม โดยจัดหาวัสดุอุปกรณ์มาอำนวยความสะดวก ได้แก่ ห้องสมุดเด็กเล็ก ชุดของเล่นสร้างสรรค์ ตู้เก็บของ อุปกรณ์การศึกษา(ดินสอ สี ยางลบ ไม้บรรทัด) บอร์ดเขียน
๒.ห้องเรียนชุมชนสำหรับผู้ใหญ่และทุกวัย จะขอการสนับสนุนชุดอุปกรณ์กลางเพื่อหมุนเวียนส่งต่อให้กับสมาชิกได้ใช้ประโยชน์ ได้แก่ ชุดทำน้ำยาเอนกประสงค์ ชุดทำน้ำยาปรับผ้านุ่ม ชุดทำโลชั่นและสเปรย์กันยุง ชุดทำน้ำยาล้างมือ โดยมีกติกาคือจัดหาไว้เป็นกองกลาง ใครต้องการใช้ให้รวมกลุ่มกันอย่างน้อย ๓ คนขอใช้ โดยส่งคืนทีมกลางในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ตามมูลค่า ไม่ใช่เงิน ส่วนต่างที่เหลือสมาชิกสามารถนำไปจัดจำหน่ายหรือใช้ประโยชน์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ทีมกลางของเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์จะจัดจำหน่ายหรือนำไปใช้ในการแลกเปลี่ยนผลผลิตอื่นๆ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสร้างความต่อเนื่อง
ห้องเรียนชุมชนวันนี้มีพัฒนาการในทางบวกมากขึ้นตามลำดับ ผู้เข้าร่วมหลายสิบคนมาด้วยความรู้สึกคุ้นเคย มีรอยยิ้มบนใบหน้า ไม่ห่างเหิน กล้าพูดเล่น กล้าแสดงความรู้สึกกันมากขึ้น เป็นผลมาจากการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องและชุมชนเริ่มเข้าใจเจตนา เริ่มด้วยการแสดงของเด็กๆ ที่ซักซ้อมมาก่อนหน้า จากนั้นส่งมอบถังน้ำหมักชีวภาพแบบเปิดก็อกพร้อมสอนวิธีใช้เพื่อจัดการขยะเปียก แยกหมักเพื่อนำมาทำน้ำยาเอนกประสงค์ และหมักรวมเพื่อนำไปใช้ในการเกษตร การจัดการขยะทั่วไปโดยเสนอกติกาว่า ทีมกลางจะรับซื้อขวดที่อัดขยะจำพวกกระดาษ ซองกาแฟ ถุงพลาสติก ซองมาม่า ให้น้ำหนักขีดละ ๑ บาท และสอนการทำน้ำยาปรับผ้านุ่ม ลงทุน ๓๒๐ บาท เทใส่ขวดมอบให้ทุกคนนำไปทดลองใช้ ได้ผลผลิตมูลค่าราว ๕๐๐ กว่าบาท หลายคนเริ่มเห็นโอกาสในการสร้างรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน ภายใต้กติกาหรือข้อตกลงร่วมข้างต้น
ชุมชนแหลมสนอ่อนเองก็ได้สะสมทักษะการเป็นวิทยากร ชุมชนใกล้เคียงก็มาร่วมกระตุ้นและส่งต่อแรงบันดาลใจกันและกัน
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567