ชุมชนหลังอาชีวะกับโจทย์ "อนาคตของเด็กๆ"
"อนาคตของเด็กๆ"
หนึ่งในปัญหาสำคัญที่พบของชุมชนแออัดในเขตเมืองก็คือ การศึกษาของเด็กๆที่ออกจากระบบการศึกษา เป็นภาระของย่ายายผู้สูงอายุในการดูแล เด็กๆเหล่านี้โตขึ้นจะเป็นอย่างไร
ชุมชนหลังอาชีวะ ให้เด็กๆได้มีกิจกรรมร่วมกัน วันนี้เด็กๆนำการแสดงมาต้อนรับทีมแหลมสนอ่อนและมูลนิธิชุมชนสงขลาที่มาให้ความรู้เรื่องการทำสบู่ การเพาะถั่วงอก เด็กๆหลายคนเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ระหว่างที่ผู้ใหญ่กำลังเรียนรู้ เด็กๆก็มารบเร้าอยากจะรำอยากจะเต้นอีกรอบ
มีหน้าใหม่มาร่วมไม่น้อย จึงได้ทบทวนการทำน้ำหมักชีวภาพด้วยเจตนาชี้ให้เห็นประโยชน์ของขยะเปียกในครัวเรือนที่ถูกทิ้งเป็นขยะไร้ประโยชน์ เชื่อมโยงกับสุขภาพที่อยู่ในชีวิตประจำวัน การใช้สบู่ก็เช่นกัน แหล่งกำเนิดน้ำเสียส่วนหนึ่งก็มาจากสะบู่ แชมพูที่ใช้
หวังว่ากิจกรรมที่อยู่ในพื้นฐานชีวิต จะสร้างมุมมองและความรับรู้ใหม่ หันมามองสภาพแวดล้อมรอบข้างใหม่ เห็นผู้คน เห็นสมาชิกที่อยู่ร่วมกันด้วยความรู้สึกที่แตกต่างไปจากเดิม
ความยากของการสร้างรากฐานชุมชนเช่นนี้ก็คือ ความคุ้นชิน วิธีการบางอย่างที่สะสมก่อตัวจนเกิดการเรียนรู้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต การปรับเปลี่ยนจึงต้องใช้เวลาและหลากหลายวิํธีการ
บางเรื่องหากไม่เรียนรู้อย่างลึกซึ้ง การแก้ปัญหาก็ทำได้แค่เพียงฉาบฉวย แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นครั้งๆไป แต่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
เรื่องของเด็กๆจึงเป็นโจทย์ร่วม!!
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567