การพัฒนาระบบการดูแลคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคมในพื้นที่จังหวัดสงขลา

by punyha @16 ก.ค. 62 17:46 ( IP : 27...18 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
  • photo  , 467x960 pixel , 102,247 bytes.
  • photo  , 1836x892 pixel , 157,834 bytes.
  • photo  , 1836x892 pixel , 121,873 bytes.
  • photo  , 1836x892 pixel , 127,504 bytes.
  • photo  , 1279x960 pixel , 83,303 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 152,411 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 132,561 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 224,448 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 227,075 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 228,230 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 224,065 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 237,072 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 236,943 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 223,116 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 226,768 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 230,608 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 232,905 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 229,831 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 236,669 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 223,969 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 230,600 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 225,221 bytes.

การพัฒนาระบบการดูแลคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคมในพื้นที่จังหวัดสงขลา ที่มีการบูรณาการกันหลายระดับ

ระดับจังหวัด มีกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัด(อบจ.และสปสช.) เป็นเจ้าภาพ ร่วมกับ พมจ. สสจ. สปสช. มูลนิธิชุมชนสงขลาพัฒนาฐานข้อมูลกลางเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตคนพิการ ผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ป่วยรอการฟื้นฟูระดับจังหวัดเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น

ตั้งเป้าบูรณาการข้อมูลคนพิการของทุกหน่วยงานแบบ ๑๐๐%

แนวทางก็คือ สร้างข้อต่อที่เป็น "ที่พัก" ของข้อมูลระดับจังหวัด หน่วยงานความร่วมมือแขวน Data ที่เป็นพื้นฐานและสามารถเปิดเผยได้ เครือข่ายที่ต้องการใช้ต่างไปดึงข้อมูลมาใช้ตามภารกิจของตน ในส่วนงานกลางจะมีมูลนิธิชุมชนสงขลา จะนำเข้าสู่แอพพลิเคชั่น iMed@home ที่ได้พัฒนาระบบมาตั้งแต่ปี 2555 นำไปเข้าระบบ พัฒนารูปแบบนำเสนอและการใช้ประโยชน์สำหรับภาคีเครือข่ายในจังหวัด โดยใช้ระดับบุคคลเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง

การพัฒนาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลางเริ่มจากงานคนพิการ โดยจับมือกับพมจ.นำข้อมูลคนพิการเข้ามาในระบบ บวกกับการเก็บข้อมูลปฐมภูมิร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ นำมาสู่การกำหนดแผน/ยุทธศาสตร์ และมีระบบเยี่ยมบ้านที่จะรายงานผล ติดตามผล พัฒนาการนี้ไปสำเร็จที่อำเภอนาทวี เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอลงไปขยายผลกับตำบล พัฒนาศูนย์ฟื้นฟูสมรรรถภาพชุมชนที่ต.นาหมอศรี ต.ทับช้าง ต.ฉาง และนำต้นแบบดังกล่าวไปพัฒนาเป็นศูนย์สร้างสุขชุมชนโดยกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นเจ้าภาพ กำลังดำเนินการในหลายพื้นที่ของสงขลา

ศูนย์สร้างสุขชุมชนจะเป็นศูนย์บริการและบูรณาการงานคนพิการ ผู้สูงอายุ ในระดับตำบล โดยมีผู้ช่วยนักกายภาพประจำศูนย์เป็นผู้ประสานงานร่วมกับจิตอาสาประจำศูนย์อีก ๔๐ ชีวิต ระบบข้อมูลกลางจะนำมาสู่การทำแผนฯดูแลคุณภาพชีวิต พัฒนากลไกการทำงานดูแลคุณภาพชีวิตตามสภาพปัญหา

ในระดับจังหวัดกองทุนฟื้นฟูฯสงขลา ได้พัฒนากลไกอสม.เชี่ยวชาญขึ้น โดยมีค่าตอบแทนต่างหากเดือนละ ๖๐๐ บาท(บางคนเป็นอสม.ด้วย) มีจำนวนกว่า ๑๐๐๐ คน กระจายครบทั้ง ๑๔๐ ตำบลในการดูแลกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ปีนี้ได้อาศัยระบบเยี่ยมบ้านของแอพฯ iMed@home อบรมให้อสม.เชี่ยวชาญป้อนข้อมูลการเยี่ยมบ้านที่มีตั้งแต่ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย หรือการให้ความช่วยเหลือคนพิการ ผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ป่วยรอการฟื้นฟูฯ เท่ากับว่าเมื่อมีฐานข้อมูลดังกล่าวรองรับ อสม.เชี่ยวชาญจะเป็นอีกกลไกหนึ่งในการนำไปใช้ประโยชน์ ร่วมกับกลไกอื่นๆ ที่จะมาบูรณาการร่วมกันในระดับตำบลต่อไป

ระบบเยี่ยมบ้านของแอพฯ iMed@home จะช่วยให้เห็นรูปธรรมของการช่วยเหลือที่เป็นผลงานของอสม.เชี่ยวชาญชัดเจนมากขึ้น

เดือนนี้ทั้งเดือนกองทุนฯเป็นเจ้าภาพอบรมอสม.เชี่ยวชาญ ๒๒ รุ่นจนครบทุกคน ทุกพื้นที่

วันนี้ทีมเครือข่ายจังหวัดยกขบวนมาหารือกับสสจ.สงขลา เพื่อเปิดช่องเชิงนโยบายในการนำข้อมูลคนพิการจากฟากสสจ.เข้าสู่ระบบ หลังจากที่พมจ.นำเข้ามาแล้วเต็ม ๑๐๐%

ระบบใหม่จะไม่เป็นภาระของเจ้าหน้าที่หรือทีมงาน ใครต้องการจะต่อยอดงานก็ได้ หรือไม่ทำก็ได้ แต่อย่างน้อยก็มีประโยชน์ในเชิงการเข้าถึงข้อมูลของกันและกัน ซึ่งสุดท้ายแล้วเชื่อว่าจะมีส่วนทำให้เกิดการปรับระบบขนานใหญ่...ได้ข้อสรูปให้ทางอบจ.ทำหนังสือถึงสสจ.ขออนุมัติให้ดำเนินการต่อไป และขอให้มี Admin ระดับจังหวัด อำเภอ ของสสจ.ที่จะใช้ข้อมูลดังกล่าวมาร่วมอบรมกับAdmin ของพมจ. และAdminเครือข่ายระดับจังหวัด อำเภอ CG และอปท.๑๔๐ ตำบล(รวมงานศูนย์บริการคนพิการที่สงขลาจัดตั้งแล้ว ๑๓๒ ตำบล) ชมรมคนพิการทุกประเภท

กลไก Admin ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล จะทำงานร่วมกับอสม.เชี่ยวชาญที่จะเป็นด่านหน้า นำเข้าข้อมูลใหม่ๆ เช่น ความต้องการความช่วยเหลือของกลุ่มเป้าหมาย Admin ของภาคียุทธศาสตร์จะได้นำข้อมูล(เริ่มมีเข้ามาแล้ว)ไปใช้เพื่อการแก้ปัญหา ระบบข้อมูลกลางจะนำมาสู่การปรับระบบบริการขนานใหญ่ ทั้งทำให้จำนวนคนพิการเป็นเอกภาพ ทิศทางหรือแนวทางการแก้ปัญหา การส่งต่อระบบบริการเป็นไปอย่างราบรื่นเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการทำงานร่วมกัน

ในส่วนมูลนิธิชุมชนสงขลา จะร่วมกับAdmin ระดับตำบลร่วมกับศูนย์สร้างสุขชุมชนที่มาจากอปท.ในการทำหน้าที่ประสานงาน Node flagshipสงขลา ยกระดับไปอีกก้าวด้วยการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลและแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับบุคคลร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ รวมไปถึงร่วมกับสมาคม มูลนิธิ ภาคเอกชน เสริมช่องว่างคนที่เข้าไม่ถึงสิทธิ์ แต่มีการสำรวจพบโดยอสม.เชี่ยวชาญ หรือกลไกอืนๆที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน และไปต่ออีกก้าวด้วยการพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตร่วมกับพมจ. พก. นำเข้าสู่ระบบแอพพลิเคชั่น iMed@home ร่วมกับคณะทำงานกลางจังหวัดออกแบบการประเมินผล รายงานผลต่อไป

เพื่อแสวงหาความร่วมมือ ทีมกลางจะยกขบวนไปเยี่ยมภาคียุทธศาสตร์ให้ครบ รอบต่อไปจะเป็นสปสช. พมจ.

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน