สวนปู่กับย่า "ครอบครัวตุกชูแสง"

by punyha @22 มิ.ย. 58 10:58 ( IP : 1...130 ) | Tags : สวนผักคนเมือง
  • photo  , 320x240 pixel , 22,513 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 134,366 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 147,675 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 137,569 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 106,713 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 77,001 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 155,137 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 95,726 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 120,964 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 145,507 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 126,896 bytes.

ป้าสมหมาย ตุกชูแสง ประธานอสม.ชุมชนวัดหาดใหญ่ใน อดีตเคยเป็นแม่ค้า เคยเป็นประธานชุมชน เป็นอีกคนที่ปลูกผักกินเองมานาน พร้อมกับการทำงานให้กับชุมชนมาตลอดเวลา

บริเวณรอบบ้านในซอยเพชรเกษม 28 มีผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายอย่าง ป้าสมหมายทำน้ำหมักชีวภาพ ทำสบู่ใช้เอง ในฐานะที่เป็นอสม.หลังจากเรียนรู้การกลั่นหัวเชื้อตะไคร้หอม ก็ได้นำมาทำสะเปรย์ตะไคร้หอม โลชั่นตะใคร้หอม ที่หน้าสำนักงานกองทุนชุมชนปกติก็ปลูกผักสวนครัวอยู่ก่อนแล้ว หลังเข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา ก็เริ่มปลูกผักในภาชนะอื่นๆที่เหลือทิ้งไม่ใช่ ผักทั้งปลูกในกระถางแขวน วางบนพื้น บ้างก็ใส่กล่องโฟม มีพืชผักจำพวก สะระแหน่ พริก มะเขือเทศ พอให้เพื่อนบ้านมาแบ่งปันไปทานกันไม่ขาด

เวลาว่างที่เหลือจากรับส่งหลานไปเรียน หรือกิจกรรมสาธารณะในฐานะประธานอสม. เวลาที่เหลือของป้าสมหมายและสามี จะอยู่ที่สวนริมคลอง หลานๆเรียกสวนแห่งนี้ว่า สวนปูกับย่า ซึ่งต่อมาครูไก่และมูลนิธิชุมชนสงขลา มองว่าน่าจะเป็นสวนสมรมคนเมือง แล้วก็มาช่วยต่อยอดพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนเมือง ที่นี่มีฐานเรียนรู้ย่อยหลายฐาน

ฐานที่ 1 เป็นฐานปลูกพืชขึ้นค้าง สมาชิกจะได้ร่วมเรียนรู้การนำผักขึ้นค้าง ที่ใช้เอ็นเส้นใหญ่ถักคลุมเหมาะสำหรับการให้พืชได้ทอดเลื้อยมีช่องให้เก็บที่ผลได้อาศัยช่องว่างอาศัย ปลูกพืชหลายชนิดด้วยกัน อาทิ ถั่วพู แตงกวา มะระ ปลูกผสมผสานกันจะทำให้แมลงรบกวนน้อยกว่าปลูกพืชชนิดเดียว พืชจำพวกนี้จะยืดตัวขึ้นวันละ 5 ซม.

บริเวณชั้นล่าง ทำกะบะดินสำหรับปลูกพืชที่ใช้แสงน้อย น้ำน้อย สามารถเก็บกินได้ตลอดเวลา เช่น ผักกูด หรือขมิ้น ขิง ข่า

ฐานที่ 2 ฐานระบบนิเวศพืช ปลูกพืชผสมผสานหลายชนิดอยู่ในบริเวณเดียวกัน ป้าสมหมายปลูกมะเฟือง อดีตประสบปัญหามีหนอนตลอดเวลา หนอนนี้เกิดจากแมลงวันทอง หรือแมลงผลไม้(ตามชนิดที่ปลูก) มาเจาะแล้วไข่ แม้จะห่อกระดาษกันแล้วก็ช่วยไม่ได้เพราะไปห่อในช่วงผลไม้ลูกใหญ่ หากจะห่อให้ได้ผลควรห่อตั้งแต่ลูกยังเล็ก

ครูไก่แนะนำให้ทำกับดับแมลง โดยใช้ฮอร์โมนเพศของแมลงวันทองเป็นตัวล่อ ฮอร์โมนชนิดนี้ทำจากกะเพราแดง นำมาขยี้แช่กับแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 2-3 วันนำมาหยดใส่สำลี ใส่ไว้ในขวด ใส่น้ำ เจาะรู ตัดขวดที่มีเพียงหัวขวดและคอขวดใส่ในรู แมลงที่ตามกลิ่นฮอร์โมนเข้าไปจะตกอยู่ในน้ำในขวด หรือนำถุงพลาสติกสีเหลืองมาทากาวเหลืองดักแมลง ล่อแมลงมาติดกาว

สวนป้าสมหมาย เคยเจอปัญหาดินเสื่อมสภาพ ครูไก่เลยแนะนำการห่มดิน เพื่อเป็นการพื้นสภาพดินให้กลับมาสมบูรณ์เช่นเดิม ด้วยการนำชานอ้อยมาคลุมดินไว้ประมาณ 2 เดือนคลุมให้ทั่วบริเวณดินที่เสื่อมสภาพ ดินจะฟื้นตัว ก่อนคลุมดินด้วยชานอ้อยให้ผสมมูลสัตว์รองพื้น แล้วรดน้ำให้ชุ่มทิ้งไว้ 2 เดือน ทุกวันนี้ดินในสวนของป้าสมหมายพื้นตัวพร้อมที่จะปลูกพืชใหม่ๆ

ฐานที่ 3 โรงปุ๋ยธรรมชาติ ป้าสมหมายนำเลี้ยงไส้เดือนพันธุ์อัฟริกาที่ได้มาจากโครงการฯ มาช่วยย่อยเศษอาหาร ไส้เดือนนี้ราคากก.ละ 1200 บาท การทำโรงเลี้ยงไส้เดือน พื้นด้านหนึ่งควรสูงกว่าอีกด้าน พร้อมเจาะรูให้น้ำผ่าน มีกะละมังรองรับน้ำเยี่ยวของไส้เดือน การทำโรงเลี้ยงนำกองดินและไส้เดือนมารวมกัน แยกดินเป็น 3 กอง กองเก่า กลาง และใหม่ เว้นช่องว่าง เติมอาหารไส้เดือนได้แก่เศษผักผลไม้ในกองดินใหม่ ไส้เดือนจะคลานมาหาเศษอาหาร เราจะได้นำดินเก่าไปทำปุ๋ย ไส้เดือนนี้จะมีอายุ 3-4 ปี หากเราฉีดน้ำให้ชุ่ม ไส้เดือนจะเยี่ยวออกมาให้เราได้นำน้ำไปใช้ประโยชน์ เป็นน้ำที่มีคุณสมบัติดีกว่าน้ำหมักชีวภาพหลายเท่า เวลาใช้ฉีดรดผักให้ผสมน้ำ 2 ช้อนต่อน้ำ 5-10 ลิตร หากใส่ในดินจะช่วยพรวนดิน ขยันกว่าไส้เดือนพันธุ์ท้องถิ่นหลายเท่า

นอกจากนี้เหนือโรงไส้เดือนให้กั้นเป็นคอกไก่ เลี้ยงไก่ไข่ ขี้ไก่ปกติจะมีแอมโมเนีย หากเลี้ยงไว้ให้ไส้เดือนช่วยย่อยจะไม่มีกลิ่น บริเวณใกล้ๆคอกไก่ควรกั้นเป็นลานเพื่อให้ไก่ได้คลายเคลียด ไม่ควรขังนานเกิน 10 วัน

ฐานที่ 4 พลังงานทดแทน ครูไก่ได้นำแกลบมาเผาด้วยเตาแบบประยุกต์ ทำจากปี๊ปเจาะรูให้อากาศ พร้อมเจาะท่อด้านบน และเปิดก้นสำหรับก่อไฟ เผาแกลบจนได้ขี้เถ้าแกลบดำสนิท ได้น้ำส้มควันไม้ หรือนำมาเผาถ่าน

ฐานที่ 5 การปลูกพืชร่วมกล้วย กล้วยเป็นพื้นฐานของสวนที่จะช่วยให้เกิดความเย็นและร่มรื่น ร่มเงาใต้กอกล้วยสามารถปลูกผักกูด หรือแม้แต่ต้นกล้วยที่ให้ลูกแล้ว ก็ยังสามารถปลูกผักลงไปบนลำต้น หรือจะดัดแปลงทำให้กล้วยมีกลิ่นที่แตกต่างไปจากเดิมก็ยังสามารถเจาะฉีดกลิ่นเข้าไปในแกนของกล้วย

เหล่านี้คือความรู้ที่ชุมชนเมืองสามารถเรียนรู้ได้ เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานที่สุดก็ว่าได้ที่ได้ห่างหายไปจากชีวิตและเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะสร้างแรงจูงใจให้ลุกขึ้นมาสนใจระบบนิเวศรอบข้าง เริ่มด้วยการปลูกผักหรือทำสวนผักชุมชนด้วยตนเอง

ร่วมสร้างพื้นที่สีเขียว(กินได้)ในชุมชนของตัวเอง พัฒนาไปสู่เมืองสีเขียวในอนาคต.

Relate topics

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน