ก๊ะฝ๊ะ บิลละเต๊ะ ความสุขจากการกิจกรรมครัวเรือนต้นแบบเกษตรเมืองเพื่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

by punyha @21 มี.ค. 57 09:48 ( IP : 113...228 ) | Tags : สวนผักคนเมือง

 คำอธิบายภาพ : pic532ba866b76c7 ก๊ะฝ๊ะ บิลละเต๊ะกับสามี อายุ 68 เป็นคนดั้งเดิมของคูเต่า ป๊ะเป็นพ่อค้าเรือ เป็นพ่อค้าบรรทุกอ้อย ผลไม้ไปขายที่ปากพนัง แล้วซื้อไม้กระดานเคี่ยม เกลือ ครกบด มาจำหน่ายตามสายคลองที่มีตลาดนัดตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่วัดคูเต่า วันศุกร์ตลาดนัดคดยาง วันเสาร์ตลาดนัดท่าหยี วันอาทิตย์ที่หาดใหญ่ใน

“ป๊ะปลูกส้มจุก ก๊ะเรียนตามศาลา “ ก๊ะเล่า “เมื่อก่อนไม่เคยเอาเงินไปเรียน เอาลูกส้มไปขายเพื่อน นำเงินมาเก็บไว้ นี่คือตอนเด็ก”  คำอธิบายภาพ : 9 บ้านของก๊ะฝะเป็นที่อาศัยของคนจน มีคนนวดข้าว ซ้อมสาร “มะใจดี มีคนยากจนมาอาศัยอยู่จนตายก็หลายคน” นี่เป็นอดีตฝังใจ

หลังจบป.4 อายุ 19 ปี ก๊ะฝะแต่งงาน มีลูก สามีมีอาชีพขับรถตุ๊กๆ ทั้งคู่ไปตั้งรกรากอยู่ที่ควนลัง ป๊ะไปซื้อที่ไว้ที่ควนลัง 15 ไร่ ทำมาหากินจนได้ลูกคนที่ 3 ก๊ะและสามีทำขนำมุงจาก เลี้ยงไก่ ต่อมาย้ายกลับมาอยู่บ้านที่คูเต่า ปลูกบ้านใหม่อยู่ตั้งแต่ปี 2523 ทำอาชีพค้ากุ้ง จนมาเลิกเมื่อปี 2532

“ระหว่างที่อยู่บ้าน ลูกสาวอยู่กรุงเทพ ได้สอนให้ทำน้ำหมัก นอนจากนั้นก็ปลูกผักกินทุกอย่าง”  คำอธิบายภาพ : pic532ba926c7c5a บ้านของก๊ะฝะอยู่ริมคลองอู่ตะเภา ด้านหนึ่งมีที่ดินว่าง ปลูกมะม่วง พริก ตะไคร้ในปล้องบ่อ ปลูกบวบ ในบริเวณตัวบ้านก็ปลูกผักนานาชนิด “ตอนแรกก็ปลูกในดินแต่เจอปัญหามาก ตอนนี้ปลูกในกระสอบดูแลง่ายกว่า”

ก๊ะฝะมาเป็นสมาชิกประจำของห้องเรียนชุมชน นับแต่เป็นนักเรียนก็ไม่เคยขาดเรียน “เรียนไปแล้วก็กลับไปทำน้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่เหลว สบู่ก้อนก็ได้ใช้” ก๊ะฝ๊ะพูดถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำมาใช้ในครัวเรือน

“มาเรียนแบบนี้สนุก ได้เจอเพื่อน ที่สำคัญ ได้เปิดบ้านรับแขก รู้สึกเหมือนเป็นม๊ะที่กำลังรับแขกบ้าน ได้ช่วยเหลือคนอื่น”  คำอธิบายภาพ : 8 รอบบ้านของก๊ะปลูกผักบุ้ง พริก มะเขือยาว มะเขือกลม ตะไคร้ มะม่วง ปลูกทั้งในปล้องบ่อ ในกระสอบ นอกจากนั้นก็ยังเลี้ยงไก่ ได้ไข่กิน ทำถังดักไขมันในครัวเรือน มะม่วงที่ปลูกก็ได้ผลผลิตกินได้ทั้งปี

“ถ้าหากเราไปห้าง เงินพันบาทเราซื้อของได้ไม่กี่อย่าง แต่นี่ทำเอง ลดรายจ่าย ไม่ต้องเข้าเมืองไปห้าง เสียเงิน เสียเวลา”

ก๊ะฝะแม้นมีฐานะในหมู่บ้าน แต่ความที่เคยปากกัดตีนถีบ ทำมาหากินด้วยตัวเองมาตลอดชีวิตจึงเห็นคุณค่าของเงิน และใช้มันอย่างคุ้มค่า และที่สำคัญ ไม่เคยลืมที่จะแบ่งปันเผื่อแผ่คนอื่กับสามี อายุ 68 เป็นคนดั้งเดิมของคูเต่า ป๊ะเป็นพ่อค้าเรือ เป็นพ่อค้าบรรทุกอ้อย ผลไม้ไปขายที่ปากพนัง แล้วซื้อไม้กระดานเคี่ยม เกลือ ครกบด มาจำหน่ายตามสายคลองที่มีตลาดนัดตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่วัดคูเต่า วันศุกร์ตลาดนัดคดยาง วันเสาร์ตลาดนัดท่าหยี วันอาทิตย์ที่หาดใหญ่ใน

“ป๊ะปลูกส้มจุก ก๊ะเรียนตามศาลา “ ก๊ะเล่า “เมื่อก่อนไม่เคยเอาเงินไปเรียน เอาลูกส้มไปขายเพื่อน นำเงินมาเก็บไว้ นี่คือตอนเด็ก”

บ้านของก๊ะฝะเป็นที่อาศัยของคนจน มีคนนวดข้าว ซ้อมสาร “มะใจดี มีคนยากจนมาอาศัยอยู่จนตายก็หลายคน” นี่เป็นอดีตฝังใจ

หลังจบป.4 อายุ 19 ปี ก๊ะฝะแต่งงาน มีลูก สามีมีอาชีพขับรถตุ๊กๆ ทั้งคู่ไปตั้งรกรากอยู่ที่ควนลัง ป๊ะไปซื้อที่ไว้ที่ควนลัง 15 ไร่ ทำมาหากินจนได้ลูกคนที่ 3 ก๊ะและสามีทำขนำมุงจาก เลี้ยงไก่ ต่อมาย้ายกลับมาอยู่บ้านที่คูเต่า ปลูกบ้านใหม่อยู่ตั้งแต่ปี 2523 ทำอาชีพค้ากุ้ง จนมาเลิกเมื่อปี 2532

“ระหว่างที่อยู่บ้าน ลูกสาวอยู่กรุงเทพ ได้สอนให้ทำน้ำหมัก นอนจากนั้นก็ปลูกผักกินทุกอย่าง”

บ้านของก๊ะฝะอยู่ริมคลองอู่ตะเภา ด้านหนึ่งมีที่ดินว่าง ปลูกมะม่วง พริก ตะไคร้ในปล้องบ่อ ปลูกบวบ ในบริเวณตัวบ้านก็ปลูกผักนานาชนิด “ตอนแรกก็ปลูกในดินแต่เจอปัญหามาก ตอนนี้ปลูกในกระสอบดูแลง่ายกว่า”

ก๊ะฝะมาเป็นสมาชิกประจำของห้องเรียนชุมชน นับแต่เป็นนักเรียนก็ไม่เคยขาดเรียน “เรียนไปแล้วก็กลับไปทำน้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่เหลว สบู่ก้อนก็ได้ใช้” ก๊ะฝ๊ะพูดถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำมาใช้ในครัวเรือน

“มาเรียนแบบนี้สนุก ได้เจอเพื่อน ที่สำคัญ ได้เปิดบ้านรับแขก รู้สึกเหมือนเป็นม๊ะที่กำลังรับแขกบ้าน ได้ช่วยเหลือคนอื่น”

รอบบ้านของก๊ะปลูกผักบุ้ง พริก มะเขือยาว มะเขือกลม ตะไคร้ มะม่วง ปลูกทั้งในปล้องบ่อ ในกระสอบ นอกจากนั้นก็ยังเลี้ยงไก่ ได้ไข่กิน ทำถังดักไขมันในครัวเรือน มะม่วงที่ปลูกก็ได้ผลผลิตกินได้ทั้งปี

“ถ้าหากเราไปห้าง เงินพันบาทเราซื้อของได้ไม่กี่อย่าง แต่นี่ทำเอง ลดรายจ่าย ไม่ต้องเข้าเมืองไปห้าง เสียเงิน เสียเวลา”  คำอธิบายภาพ : pic532ba927bdd81 ก๊ะฝะแม้นมีฐานะในหมู่บ้าน แต่ความที่เคยปากกัดตีนถีบ ทำมาหากินด้วยตัวเองมาตลอดชีวิตจึงเห็นคุณค่าของเงิน และใช้มันอย่างคุ้มค่า และที่สำคัญ ไม่เคยลืมที่จะแบ่งปันเผื่อแผ่คนอื่

Relate topics

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน