"ประเมินความเปราะบางของ 4 ชุมชนเมืองบ่อยาง"หัวใจของปัญหาความเปราะบางของชุมชนเมืองบ่อยางที่ประกอบด้วยคนจนเมืองกว่าครึ่งของ 55 ชุมชนในพื้นที่ทน.สงขลา พบปัญหาที่อยู่อาศัยเป็นแกนกลาง เมื่อมีเหตุปัจจัยจากความเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นอุบัติภัยหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงได้รับผลกระทบได้ง่ายคณะทำงานโครงการ SUCCESS เมืองบ่อยาง เก็บข้อมูลด้วยตนเองเพื่อประกอบการศึกษาประเมินความเปราะบางของเมือง นัดวิเคราะ
ช่วงบ่ายโมง วันที่ 2 มีนาคม 2565 ทีม SUCCESS เมืองบ่อยาง จำนวน 12 คนได้นัดพบกันที่ศูนย์บ่อยางฯ เพือช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากการลงพื้นที่จริงของชุมชนแหลมสนอ่อน ชุมชนสนามบิน ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสนและชุมชนศาลาเหลืองเหนือ เพื่อศึกษา ในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเขตเมืองบ่อยาง อำเภอเมืองสงขล
"ช่วงเปลี่ยนผ่านสำคัญ"โควิดโอไมครอนกำลังจะเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่น 2-4 เดือนจากนี้ คือแนวคิดสำคัญที่ฝ่ายนโยบายรัฐกำหนดมา จากฐานการเก็บข้อมูลผู้ป่วยและลองใช้ระบบบริการทางสาธารณสุขเพิ่มทางเลือกที่จะเข้ามารองรับเสริมระบบเดิมที่มีอยู่ซึ่งแต่ละพื้นที่กำลังแปลงนโยบายไปสู่การปฎิบัติ(รอความชัดเจนจากทีมระบบสาธารณสุขสื่อสารอีกครั้ง)เฉพาะในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ มีผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่จะต้องเข้า
"ห้องเรียนสวนผักคนเมืองเดือนกุมภาพันธ์ 2565"รอบนี้ฝ่าสายฝนที่ท่วมหน้าแล้งและเชื้อโอไมครอนที่กำลังแพร่ระบาดหนักมาสวนผักซอยสุภาพอ่อนหวานของลุงดวง ป้าแจ้ว 2 ข้าราชการเกษียณที่ออกมาก่อนเวลา เพื่อสานต่อความฝันหลังจากลูกๆเติบโตหมดภารกิจแล้ว ค่อยๆเรียนรู้ลองผิดลองถูกปรับพื้นที่รอบบ้านจนกลายเป็นอีกจุดเรียนรู้ และได้รับมอบหมายภารกิจทางสังคมในฐานะประธานชุมชน ที่นี่จึงกลายเป็นสถานที่กลางของชุมชนในการจัดกิจ
"คนสงขลาดอดคอม"28 กพ. 65 ทีมบริษัทที่รับผลิตส่งงานให้กับทีมกลางระบบข้อมูลกลางกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา และเริ่มใช้งาน https://www.khonsongkhla.com ในการเชื่อมโยงบูรณาการงานฐานข้อมูลคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง จ.สงขลา ที่ทำงานร่วมกันระหว่างกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด พมจ. สสจ. มูลนิธิชุมชนสงขลาในช่วงระยะที่ 1 และอีกหลายหน่วยงานในระยะที่สองข้อมูลที่นำเข้าระบบแล้ว จะเป็นข้อมูลพ
พัทลุง สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดพัทลุง วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ โดยเฉพาะพื้นที่ศึกษาโครงการ SUCCESS เมืองโตนดด้วน ชุมชนหมู่ที่ ๑๑ ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นพื้นที่รับน้ำ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบพืชผักเสียหาย การสัญจรไม่สะดวกชนิศภณ สุขแก้ว รายงาน
นายเดอเล๊าะ ปอโด๊ะ ผู้นำชุมชนรายงานสถานการณ์น้ำท่วม พื้นที่ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จากภาวะฝนตกหนักและลมแรงต่อเนื่องระหว่างวันที่ 24 - 27 กุมภาพันธ์ 2565 ว่าช่วงก่อนฝนตกหนัก อบจ.สงขลา ร่วมกับเทศบาลนครสงขลาและเทศบาลเมืองเขารูปช้างได้ร่วมกันนำเครื่องจักรหนักเข้ามาขุดลอกบริเวณปากคลองสำโรง ด้านหาดเก้าเส้ง เพื่อเตรียมการระบายน้ำระหว่างเกิดฝนตกหนัก การขุดลอ
"ความมั่นคงอาหารในครัวเรือน EP 1/2565"ประเดิมปีใหม่ กิจกรรมห้องเรียนสวนผักคนเมืองเดือนมกราคม สัญจรมาเยือนสวนลุงนุ้ยป้าสาว สมาชิกกว่า 30 คนร่วมถอดบทเรียนการส่งเสริมการปลูกผักแบบคนเมืองมาเกือบสิบปี เพื่อยกระดับการดำเนินกิจกรรมพบกระบวนการสำคัญ ที่จะนำมาประกอบการสนับสนุนคือ1.เป้าหมาย ในการส่งเสริมหรือแนวคิดสำคัญของสมาชิกในการผลิต ที่จะต้องชัดเจนว่าตนเองต้องการเป้าหมายใด ประกอบด้วย1.1 เป้าหมายเพ
"ผู้ประกอบการในพื้นที่ 5 จว.ชายแดนใต้"เป็นตัวแทน Platform GreenSmile ที่จับมือกันระหว่างมูลนิธิชุมชนสงขลา เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา(คุณณัฐกฤตา อามรมณฤทธิ์คุณภาณุมาศ นนทพันธ์)เข้าร่วมโครงการ Deep South Innovation ปี 65 ทีมพี่เลี้ยงชวนมาคุยให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในพื้นที่ 5 จว.ชายแดนใต้ ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ เล่าประสบการณ์การเข้าร่วมเสนอโครงการตั้งแต่เข้ารับฟังแนวทาง 3 วันน
"การสื่อสารทางสังคมในภาวะวิกฤต"24 กพ.65 ทีม Hatyai sandbox เครือข่ายสื่อและผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่เชื้อโอไมครอนกำลังแพร่ระบาดหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ เพื่อหาทางเสริมหนุนการทำงานของภาครัฐ พบประเด็นสำคัญดังนี้1.สถานการณ์การแพร่ระบาด พบจำนวนผู้ป่วยสีเขียวมากขึ้นอย่างรวดเร็วทวีคูณ กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ยังมีข้อกังวล กลัว ตื่นตระหนก อันเกิดจากประสบการณ์ก