กรณีการให้รื้อถอนอาคารที่มีการบุกรุกในพื้นที่ชุมชนแหลมสนอ่อน
23 เม.ย. 65
ตอนนี้ชีวิตประจำวันส่วนตัวของพี่อ้น ไม่ต้องทำอะไรมาก แค่รอตอบคำถามและสร้างความมั่นใจให้แก่ชาวชุมชนว่า ระหว่างนี้ให้รอการพิจารณาของคณะกรรมการฯที่จังหวัดตั้งขึ้นก่อน ก็น่าจะอีกหลายวัน ตอบเสร็จและยืนยันแล้วว่า ยังมึเวลาทึ่จะคิดหาหนทาง หนทางที่เป็นทางออกทึ่ดึกับทุกฝ่าย แยกย้ายกันไปได้สักพัก ไปฟังข่าวลือ และข่าวจากแหล่งต่างๆกันมา สักพักก็ยกพวกยกทีมกันมาว่า จะเชื่อมั่นในหนังสือที่ยิ่นได้แค่ไหน
ณ เวลานี้พี่อ้น อยากกราบงามๆที่หน้าศาลากลางจังหวัดสงขลา พร้อมกับอยากจะอัอนวอนว่า ถ้าจังหวัดมีนโยบายที่ร้อนรนอยากจะรื้อถอนบ้านของชาวบ้านของชุมชนแหลมสนอ่อน เมืองบ่อยาง ให้หมดทั้งชุมชนแล้วละก้อ ขอได้โปรดเถิด ได้โปรดนัดวันรื้อถอนให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดภายในวันเดียวกันทั้งชุมชนเถอะนะคะ อย่าออกสื่อกันทึละหลังสองหลัง ทีละวันทีละสัปดาห์ทีละเดือนกันอยู่อย่างนี้เลย
ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเป็นผู้สูงอายุมากกว่า 70 ปี กันแล้วทั้งนั้น น้ำตาซึมด้วยเจ็บปวดกับนโยบายของจังหวัดทึ่ไม่มึการคำนึงถึงชีวิตของ 200 กว่าชีวิตในชุมชนแห่งนี้เลย ตัวเลขของงบประมาณมีราคามากกว่าค่าของชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ดูจากในผังแสดงการใช้พื้นทึ่ที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ แปลงหมายเลขทะเบียนที่ สข 553 ซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่แหลมสนอ่อนมีการระบุขนาดเนื้อที่ที่ชัดเจน
ชุมชนแหลมสนอ่อน ตั้งอยู่ในส่วนที่เป็นโครงการสวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาโดยบ้านเรือนทุกหลังของชาวบ้านจะหันหน้าออกสู่ถนน และหลังบ้านจะเป็นพื้นที่สวนสาธารณะฯ
ชุมชนแหลมสนอ่อนมีอาณาเขตและขนาดพื้นทึ่ ซึ่งระบุไว้ในเอกสารราชการอย่างชัดเจน "ชุมชนแหลมสนอ่อน" เป็นพื้นที่เล็กๆ เพียงส่วนหนึ่งของ "พื้นที่แหลมสนอ่อน "
ในแผ่นกระดาษของหน่วยราชการ " ชุมชนแหลมสนอ่อน" อาจจะไม่มีตัวตน ไม่มีการกล่าวถึง แต่ในพื้นที่จริง " ชุมชนแหลมสนอ่อน" มีชีวิตจริงๆ มีตัวตนที่จับต้องได้และมีความรู้สึกเช่นคนทั่วไป
26 เม.ย.65
คืนนี้ชาวแหลมสนอ่อนกลุ่มหนึ่ง รีบเข้านอนแต่หัวค่ำ เพื่อตื่นแต่เช้าและพบกันที่หน้าบ้านเลขที่ 21/2 นางทองเรียง เนียมอ่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่เทศบาลเข้าไปรื้อถอนบ้านได้
จนป่านนี้ยังไม่ทราบผลการพูดคุยภายในของผู้ใหญ่เลยว่า จะชะลอการรื้อถอนบ้านหลังนี้ได้หรือไม่
น้องๆเจ้าหน้าที่ก็บ่นว่าไม่สบายใจเลยที่ได้รับคำสั่งให้เตรียมอุปกรณ์รื้อถอนบ้านในชุมชนแหลมสนอ่อน เพราะตอนปีที่แล้ว พวกผมกับลูกเมียได้อาศัยอาหารปิ่นโตของพี่อ้นกินกันทุกอาทิตย์
ทุกฝ่ายทึ่เกี่ยวข้องกับงานนี้ล้วนแต่สลด ขอให้มึเฮ แทนการร้องไห้โฮ ทีเถอะ!!
หากว่าการขอชะลอไม่ได้ผล พวกเราชาวชุมชนแหลมสนอ่อนก็จะถ่ายรูปหมู่คู่กับบ้านหลังนี้ไว้เป็นที่ระลึก
กว่าพวกเราจะได้บ้านมาหนึ่งหลัง ต้องใช้วิธีการผ่อนชำระประตู หน้าต่างวันละ 50 บาท กว่าจะผ่อนหมด บ้านพังพอดี
ประตูกันทีละบาน ผ่อนหน้าต่างกันทีละ 20 บาท ทีละ 50 บาท
บ้านหลังเดียวของชีวิต จะให้มีบ้านหลังใหม่ ก็สิ้นแรงผ่อนแล้วล่ะ
27 เม.ย.65
การเจรจาระหว่างพี่อ้นกับทางสำนักช่าง เทศบาลนครสงขลา ทำให้เหตุการณ์ของวันนี้เป็นไปอย่างคลี่คลาย คือ พวกเราจะขอรื้อถอนบ้านเอง เพื่อลดความรู้สึกเสียขวัญของชาวชุมชน.ซึ่งทางสำนักช่างก็เห็นด้วยและจะถอนอุปกรณ์ออกจากบ้านป้าทองเรียง
บ่ายวันนี้พี่อ้นจะยื่นหนังสือ 2 ฉบับเพื่อยืนยันว่าพวกเราจะขอรื้อถอนอาคารเองภายใน 1 สัปดาห์
จากการหารือกับธนารักษ์พื้นที่สงขลา ท่านกรุณาได้ให้กำลังใจมา 2 ส่วนคือ
ส่วนแรก คือ ธนารักษ์มองเห็นเจตนาที่ดีของพี่อ้นและชาวชุมชนที่พยายามสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และนำความเข้มแข็งของชุมชนมาให้เป็นพลังในการสร้างสรรค์ พัฒนา มิใช่ใช้เพื่อการต่อต้านหรือทำลาย
ส่วนที่ 2 ชุมชนเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆที่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ แต่มีประโยชน์ และคุณค่า ในส่วนของจังหวัดนั้นเป็นการมองภาพรวมๆที่อาจจะมองมาไม่ถึงส่วนเล็กๆส่วนนี้ในขณะนี้เท่านั้นเอง ธนารักษ์เองก็พยายามหาประเด็นที่จะนำเสนอภาพที่น่ารักของชุมชนเพื่อชุมชนจะได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาตามนโยบายของจังหวัด
ชมคลิปการสัมภาษณ์
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567