"วิสาหกิจชุมชน ทต.ปริก รองรับการขับเคลื่อน iMedCare"
"วิสาหกิจชุมชน ทต.ปริกรองรับการขับเคลื่อน iMedCare"
การดูแลผู้สูงวัยหรือผู้ป่วยที่บ้านด้วยการพัฒนากลไกธุรกิจเพื่อชุมชนเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มูลนิธิชุมชนสงขลา/อบจ.สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์มอ.และเครือข่ายพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมจังหวัดสงขลา/กขป.เขต ๑๒ กำลังดำเนินการ ได้นัดหมายผู้บริหาร ทต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลานำโดยนายกสุริยา ยีขุน ทีมงานสาธารณสุข กองสวัสดิ์ และผู้ดูแลที่บ้าน(HCG)ที่ผ่านการอบรมและมีใบรับรองจากคณะพยาบาลศาสตร์มอ.มาร่วมหารือแนวทางความร่วมมือ
๑)เป้าหมายต้องการพัฒนาบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน โดยผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home care giver) ผ่านการจัดการแบบธุรกิจเพื่อสังคม มิได้มุ่งเน้นกำไร และให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการของพื้นที่ สามารถส่งต่อข้อมูล ประสานเชื่อมต่อ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และลดช่องว่างของระบบบริการ สร้างมาตรฐานการให้บริการร่วมกัน
๒)กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านที่อยู่นอกเหนือระบบ LTC ที่ต้องการรับบริการและจ่ายค่าบริการในราคาที่เข้าถึงได้ และผู้สูงอายุทั่วไป ที่ต้องการบริการ
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านที่อยู่ในระบบ LTC ที่ต้องการบริการเพิ่มเติมและสามารถจ่ายค่าบริการ
๓)บริการหลัก ได้แก่ ทำความสะอาดร่างกาย ทำความสะอาดที่นั่ง/ที่นอน ให้อาหาร พลิกตะแคงตัว ยืดเหยียดข้อและกล้ามเนื้อ เคาะปอดและดูดเสมหะ บริการอื่นๆ ได้แก่ ๑) พูดคุยเป็นเพื่อน ๒) พาไปพบแพทย์ตามนัด ๓) พาไปวัด/พบเพื่อน/ไปซื้อของ/ออกกำลังกาย ฯลฯ ๔) ช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า ป้อนข้าว พาเดิน เข้านอน
มีการบันทึกประวัติการให้บริการรายบุคคล ที่สามารถส่งต่อข้อมูลและออกแบบการให้บริการร่วมกับ CM (Care Manager หมายถึง ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข) ในแต่ละพื้นที่จาก สปสช. ดำเนินการผ่านแอพพลิเคชั่น iMedCare
๔)ที่ประชุมเห็นชอบร่วมพัฒนากลไกการทำงานร่วม ประกอบด้วยปลัดทต. ผอ.กองสาธารณสุข/กองสวัสดิ์ HCG, CM โดยมีนายกและรองนายกเป็นที่ปรึกษา ร่วมกำหนดแนวทางการทำงาน
๔.๑ ร่วมจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน ต.ปริก และร่วมกับ CM,CG,HCG ทำแผนการให้บริการประชาชน กำหนดเป้าหมาย กติกา เงื่อนไขการใช้บริการ ลดช่องว่างและเสริมหนุนระบบบริการ โดยจำแนกเป็น ๒ กลุ่มคือ กลุ่มตามสิทธิ์ LTC และกลุ่มที่ต้องการบริการเสริมหนุน(มีกำลังจ่าย) สามารถให้บริการในพื้นที่ รวมถึงสื่อสารกับประชาชน ให้เกิดความเข้าใจ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งการดูแลชุมชน
โดยทต.ปริก ส่งทีมเข้าร่วมอบรมการใช้ iMed@home ผ่านหลักสูตรของคณะพยาบาลศาสตร์และมูลนิธิชุมชนสงขลาในการบันทึกความต้องการ ความช่วยเหลือ และส่งต่อข้อมูลการให้บริการในพื้นที่ ร่วมกันกำหนดแนวทางบริหารจัดการ iMedCare สนับสนุน HCG ฝึกภาคสนามในการให้บริการ
และเป็นส่วนหนึ่งของวิสาหกิจเพื่อสังคมระดับอำเภอ ซึ่งจะมีเครือข่าย HCG ที่ผ่านการอบรมในตำบลอื่นของอำเภอสะเดา ให้บริการประชาชนในตำบลใกล้เคียงหรือระดับอำเภอในกลุ่มที่มีกำลังจ่าย
หมายเหตุ เป้าหมาย ๓ อำเภอ(เมือง หาดใหญ่ และสะเดา) รวมถึงพัฒนาวิสาหกิจระดับตำบลอีก ๖ แห่ง
บันทึกจากการประชุมภาคีเครือข่ายวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ณ หอประชุมเทศบาลตำบลปริก
ขอบคุณภาพจาก มนัส บูละ
Relate topics
- ซิงกอร่า ซีเคร็ท สบู่อาบน้ำผสมพร๊อพเพอรีส สินค้าเด่นบริษัทประชารัฐฯสงขลา
- มาลองสู้กับความเจ็บป่วยทางสังคมสักตั้ง!!
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"