"iMed@home"
"iMed@home"
แอพพลิเคชั่นบริการทางสังคมที่คุณภาณุมาศ นนทพันธ์และมูลนิธิชุมชนสงขลาพัฒนาขึ้นมา ให้บริการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคม
เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมกับภาครัฐส่วนภูมิภาค(พมจ./สสจ.) ส่วนท้องถิ่น(อบจ./ทม./ทต./อบต.) ผ่านการ MOU เพื่อลดช่องว่างการให้บริการของภาครัฐและสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ในการดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคม งบในการพัฒนาได้มาจากรัฐบาลผ่านมาทางสนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ปี 2560
การเข้าถึงคำนึงถึงสิทธิ์ข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยการจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง สาธารณะชนเข้าถึงได้เพียงข้อมูลเชิงสถิติเพื่อนำไปประกอบการทำแผนงานช่วยเหลือ
จุดเด่น ทำงานผ่านระบบเยี่ยมบ้านเพื่อรายงานกิจกรรมการช่วยเหลือดูแลประชากรกลุ่มเปราะบาง พร้อมสำรวจความต้องการและรายงานความต้องการ การวัดสัญญาณชีพ วัดADLฯลฯ ลดความซ้ำซ้อน ส่งต่อเชื่อมโยงการช่วยเหลือ พร้อมระบบรายงาน และการทำงานผ่านระบบกลุ่ม สามารถจัดทำ care plan คุณภาพชีวิตรายบุคคล
นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวมข้อมูลกายอุปกรณ์
การทำงานมีทั้งระบบ Admin ตามอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ สามารถดูและแก้ไขข้อมูลรายบุคคล และการสมัครสมาชิกเพื่อให้สามารถใช้ระบบการเยี่ยมบ้าน หรือบันทึกนำเข้าผู้ป่วยรายใหม่
ปัจจุบันมี user 5,898 คน กระจายอยู่ในพื้นที่เขต 12 โดยเฉพาะจังหวัดสงขลา (ส่วนใหญ่ผู้ใช้คือ CG,อสม.,อพม.,นักบริบาลท้องถิ่น,นักศึกษาคณะพยาบาล,นักพัฒนาชุมชน อปท.ฯลฯ) มีAdmin 1,055 คน มีข้อมูลคนพิการอยู่ในระบบ จำนวน 51,681 คน ผู้สูงอายุ 9,956 คน คนยากลำบาก 15,061 คน รวมทั้งสิ้น 76,698 คน (เฉพาะในเขต 12,10 มีค.65)
ได้ให้บริการทางสังคมได้ทุกพื้นที่ ไม่มีค่าบริการ ขอเพียงให้มีการ MOU ความร่วมมือเพื่อเป็นหลักฐานการทำงานร่วมกันเท่านั้น ในการจัดเก็บข้อมูลประชากรกลุ่มเปราะบางทางสังคม ทั้งผ่านแบบสอบถามหรือผ่านระบบเยี่ยมบ้านพร้อมภาพ นำข้อมูลรายบุคคลไปประกอบการทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมรายงานเชิงสถิติเชิงพื้นที่/ประเภท และเฉพาะในสงขลายังร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรรถภาพจังหวัดสงขลา/พมจ.สงขลาในการพัฒนาระบบข้อมูลกลางระดับจังหวัด โดยข้อมูลจากแอพฯนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบดังกล่าว
ชมคลิป VDO แนะนำ iMed@home ที่นักศึกษาฝึกงานของมูลนิธิชุมชนสงขลาช่วยตัดต่อให้จากคลิปวิดีโอที่กขป.เขต 12 ได้ทำไว้
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567