"เครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา"
"เครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา"
วันที่ 28 เมษายน 2565 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) นัดหมายทีมเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา 13 ชุมชน ประกอบด้วยชุมชนแหลมสนอ่อน/สนามบิน/พัฒนาใหม่/หลังจิตเวช/ศาลาเหลืองเหนือ/วัดไทรงาม/มัสยิดบ้านบน/ภราดร/กุโบร์/ศาลาหัวยาง/บาลาเซาะห์/เก้าเส้งและนอกสวน ร่วมประชุมเพื่อกำหนดแนวทางดำเนินงานในการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตชุมชน พร้อมติดตามงานที่สนับสนุนงบประมาณไปเมื่อปี 2564 โดยมีมูลนิธิชุมชนสงขลา/สมัชชาสุขภาพจังหวัด ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัด สมาคมอาสาสร้างสุขเข้าร่วม
มีข้อสรุปสำคัญๆดังนี้
1.ผลการดำเนินงาน พอช.ได้สนับสนุนงบสำหรับช่วยเหลือในช่วงโควิดพร้อมกับการทำข้อมูลเพื่อช่วยเรื่องที่อยู่อาศัย และอื่นๆ จำนวน 5 แสนบาท สามารถดำเนินการได้ 13 ชุมชน แต่ก็ขยายผลไปได้อีก 8 ชุมชนรวมผู้ได้รับประโยชน์ราว 5 พันคน สามารถจัดตั้งเครือข่ายพัฒนาเมือง มีการสำรวจข้อมูลผ่านผังชุมชน มีกลุ่มเยาวชน/สื่อ มีการวางระบบการสื่อสารผ่านกลุ่มไลน์/เพจ มีความโปร่งใสในการทำงานมากขึ้น พร้อมกับจัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ได้ 12 กลุ่ม
2.งานใหม่ที่จะดำเนินการต่อ
2.1 แก้ปัญหาเรื่องหนี้ค้างจ่ายกับการเจรจากับเจ้าของสิทธิ์ที่ดินที่อยู่อาศัย ซึ่งมีหลากหลาย ได้แก่ การรถไฟ ที่มีแนวนโยบายให้ผู้ขอเช่าจัดตั้งเป็นนิติบุคคล(สมาคม/มูลนิธิ) เพื่อเช่าตรงกับหน่วยงาน ไม่ผ่านพอช. ส่วนที่ยังค้างจ่ายนั้น พอช.ขอให้ชุมชนส่งรายชื่อผู้ค้างจ่าย(33 ล้านบาท)เพื่อการส่งฟ้องต่อไป ชุมชนเสนอให้เชื่อมโยงกับไฟฟ้า ประปาด้วย นอกจากนั้นยังมีธนารักษ์ เจ้าท่า วัด และเอกชน ซึ่งมีแนวนโยบายในการแก้ปัญหาต่างกัน ทีมกลางจะวิเคราะห์และจัดเวทีหารือเฉพาะกับหน่วยงานเพื่อแก้ปัญหาของตนร่วมกัน หากสามารถเช่าที่ได้อย่างถูกต้อง พอช.จะสามารถลงสนับสนุนชุมชน...มีเพียงเอกชนที่พอช.และหน่วยงานไม่สามารถลงไปสนับสนุนระบบสาธารณูปโภคหรือการปรับสภาพบ้านได้
2.2 การทำงานร่วมกันกับเครือข่ายอื่นๆ ในส่วนพอช.จะประสานงานอื่นๆในจังหวัดมาสานความร่วมมือไปด้วย ในส่วนของพม. ทางศูนย์คุัมครองเสนอให้ชวนพมจ.ที่ดูแลเขตอำเภอเมืองมาร่วมด้วย ส่วนมูลนิธิชุมชนสงขลากับขบวนสมัชชาสุขภาพจังหวัด ได้เข้ามาทำงานร่วมกันตั้งแต่แรก และมีการเสริมหนุนในด้านการจัดกระบวนการทำงาน การทำงานข้อมูล การทำกติกา และการสร้างธุรกิจเพื่อชุมชนในด้านสุขภาพ(สร้างผู้ดูแลที่บ้าน การส่งอาหาร) การจัดการขยะ และมีโครงการ SUCCESS ที่จะช่วยในส่วนการลดปัจจัยเสี่ยงที่จะมากระทบกับชุมชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2.3 การทำงานต่อไป หนุน 21 ชุมชนให้สามารถรวมกลุ่ม จัดระบบการทำงานของกรรมการชุมชน ทบทวนผังชุมชน สำรวจผู้มีปัญหาที่อยู่อาศัยแบบ 100% (ทุกครัวเรือน) จัดทำแผนและกติกาของตนทั้งในนามชุมชนและเครือข่ายเมือง นำข้อมูลเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมวางแนวทางแก้ปัญหาระยะยาว ให้หลุดพ้นจากความไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิต คู่ขนานกับการแก้ปัญหาเดิมที่จะต้องพิจารณาเป็นรายชุมชน สร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มองค์กรของชุมชน
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567