"ประชุมภาคีเครือข่ายวันพลเมืองสงขลา"
"ประชุมภาคีเครือข่ายวันพลเมืองสงขลา"
วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 ภาคีองค์กรความร่วมมือทั้งเก่าและใหม่ที่ทำงานร่วมกัน นัดหมายประชุมเพื่อร่วมกำหนดแนวทางดำเนินงานปี ๖๕ พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นสำคัญ โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น ๓๙ คนจาก ๓๐ กว่าองค์กร ณ ห้องประชุมอบต.ท่าข้าม
๑.ทบทวนเป้าหมายการพัฒนา รวมถึงที่มาของการจัดกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมที่ดำเนินการมาตั้งแต่ยุคที่ ๑ จนถึงยุคที่ ๕ ในปัจจุบัน ร่วมขับเคลื่อนวิสัยทัศน์สงขลา ๒๕๗๐ และเป้าหมายงานในปี ๖๔ ที่มีวาระการรับมือวิกฤตโควิด-๑๙ ที่เคลื่อนตัวจากยุคคำตอบอยู่ที่หมู่บ้านมาสู่การเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา
๒.แนะนำองค์กรความร่วมมือใหม่ ได้แก่ วิทยาลัยชุมชนสงขลา ที่ต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนแต่ละอำเภอ เครือข่าย YSF งานด้านธุรกิจเพื่อสังคมในพื้นที่ตำบลเขารูปช้าง สมาพันธ์เกษตรกรรรมยั่งยืนจังหวัดสงขลาที่ดำเนินการเสริมศักยภาพปรับเปลี่ยนแนวคิดการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน การทำฟาร์มตัวอย่าง
๓.รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานขององค์กรภาคีความร่วมมือ โดยเฉพาะมิติเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่เน้นการส่งเสริมอัตลักษณ์พื้นที่ ของดีชุมชน ผลิตภัณฑ์ชุมชน วัฒนธรรมชุมชน โดยมีการท่องเที่ยวชุมชนเป็นโอกาสในการใช้วิกฤตโควิดสร้างจุดขายใหม่ให้กับนักท่องเที่ยวหาดใหญ่ โดยมีแนวทางพัฒนาวิสาหกิจและการทำธุรกิจเพื่อสังคมเป็นเป้าหมาย และเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายอย่างครบกระบวนการ
ด้านสิ่งแวดล้อมยั่งยืน มีความก้าวหน้าในการปกป้องชายหาด การขับเคลื่อนในพื้นที่ลุ่มน้ำภูมี การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับเมือง แต่ก็มีปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นกับเขาแดง เขาน้อยและเขาอื่นๆ รวมถึงพื้นที่จะนะ ที่ก้าวถึงมิติเชิงอำนาจและกระบวนการยุติธรรม
ด้านสังคมเป็นสุข เน้นการรองรับสังคมสูงวัย การใช้อาสาสมัครเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน รวมถึงการสร้างรายได้ สร้างอาชีพผ่านธุรกิจเพื่อสังคม
๔.เครือข่ายพลเมืองสงขลา เป็นการรวมพลังของบุคคล หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ที่เป็นองค์กรระดับชุมชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ภาควิชาการ อปท.ในจังหวัดสงขลา โดยมีเป้าหมายคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนใน ๓ มิติที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดคือ ๑) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ๒) สิ่งแวดล้อมยั่งยืน ๓) ชุมชนเป็นสุข โดยทุกประเด็นต่างมีปัญหาและรูปธรรมที่สอดคล้องในการแก้ปัญหาในประเด็นนั้นๆ และทุกประเด็นก็ไขว้เชื่อมโยงกันอย่างแยกจากกันไม่ออก
ประเด็นสำคัญที่จะดำเนินการร่วมกันคือเชื่อมต่อรูปธรรมในพื้นที่ไปสู่การพัฒนาทั้งเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อม ในภาพรวมของจังหวัดสงขลา ที่มี ๑) มิติการต่อยอดกิจกรรมเด่น ๒) ร่วมสร้างรูปธรรม/รูปแบบใหม่ที่พร้อมเป็นต้นแบบได้ ขยายผลได้ ๓) มีการเชื่อมโยงของเครือข่ายเพิ่มขึ้น
โดยใช้รูปธรรมหรือเครื่องมือที่มี เช่น Social Enterprise ,เครื่องมือการท่องเที่ยวชุมชน, เป็นเครื่องมือที่จะเชื่อมโยงรูปธรรมของพื้นที่สู่การพัฒนา และเครื่องมืออาสาสมัคร ที่จะเชื่อมโยงการช่วยเหลือในสังคม ส่วนที่สำคัญที่สุดคือส่วนที่เป็นข้อต่อ หรือชานชาลาหรือแพลทฟอร์ม
๑)มีระบบข้อมูลกลางที่สะท้อนถึงรูปธรรมในพื้นที่ส่งต่อไปยังคนที่ต้องการใช้หรือพัฒนา
๒)มีระบบการสื่อสารภายในและการสื่อสารภายนอกที่มีประสิทธิภาพเป็นการสื่อสารเชิงรุกและมีชีวิต
๓)ช่องทางที่จะสนับสนุนหรือพัฒนาเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นกลไก ข้อมูล การลงทุนร่วม กองทุนต่างๆ
๔)การพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายทั้งในระดับพื้นที่และระดับกว้าง ทุกประเด็นจะเชื่อมโยงร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร
๕.แนวโน้มสถานการณ์โลก จากวิกฤตสงคราม โควิด มหาอำนาจจะบีบให้ไทยเลือกข้างมากขึ้น เราจึงควรสร้างความมั่นคงในพื้นที่ พึ่งตนเอง ช่วยเหลือกันเองมากขึ้น ลดผลกระทบจากราคาสินค้าสูงขึ้น เงินเฟ้อ
๖.แนวทางต่อไป เวทีกลางทุก๒เดือน เพื่อเสริมหนุนการขับเคลื่อน เวทีย่อยเชิงยุทธศาสตร์/ประเด็น ร่วมเรียนรู้กำหนดเป้าร่วม พันธกิจ ตัวชี้วัดในภาพจังหวัด ขับเคลื่อนงานทั้งทำแยกและทำร่วมกันพร้อมการสื่อสารกับสังคมliveสดผ่านเพจของแต่ละองค์กรความร่วมมือร่วมกับสื่อท้องถิ่น สื่อกระแสหลัก สร้างการมีส่วนร่วม รายงานผลความร่วมมือในงานวันพลเมืองปี ๒๕๖๕
Relate topics
- "ห้องเรียนสวนผักคนเมืองบ่อยาง" ประจำเดือนมิถุนายน 2566
- กิจกรรมฟื้นฟูสายน้ำและพัฒนาห้วยขี้ค่าง จัดทำฝายมีชีวิต(ลงเสาเอก)เมืองโตนดด้วน
- "SUCCESS เมืองปาดังเบซาร์" ประชุมภาคีเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนโครงการนำร่อง
- "ตลาดล่วงหน้า : ความร่วมมือเกษตรสุขภาพอำเภอหาดใหญ่"
- เวทีชี้แจ้งกิจกรรมโครงการนำร่องเมืองละงูแกนคณะทำงานพื้นที่กลางน้ำและปลายน้ำคลองละงู
- ความก้าวหน้าจากกิจกรรมหารือร่วมกับแกนนำชุมชนนำร่องในพื้นที่เมืองบ่อยาง (ชุมชนแหลมสนอ่อนและชุมชนสนามบิน)
- ภาคีเครือข่ายหนุนเสริมตลาดอนามัย ตลาดสุขภาพเมืองพะตง
- ประชุมแกนคณะทำงานพื้นที่ชุมชนบาลาเซะห์เก้าแสน เมืองบ่อยาง
- ประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความคืบหน้าการดำเนินโครงการนำร่อง SUCCESS ภาคใต้และภาคอีสานประจำเดือนพฤษภาคม 2566
- ประชุมเครือข่ายสมาชิก "ชุมชนบ้านหลบมุม"