"เครือข่ายเมือง SUCCESS ภาคใต้"

by punyha @10 พ.ค. 65 12:12 ( IP : 159...184 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 960x720 pixel , 65,323 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 77,911 bytes.
  • photo  , 800x450 pixel , 51,677 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 82,736 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 83,794 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 77,716 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 79,912 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 93,166 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 81,404 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 96,725 bytes.
  • photo  , 2000x1500 pixel , 186,252 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 94,847 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 110,689 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 100,665 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 86,701 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 84,279 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 96,046 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 90,274 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 89,993 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 92,580 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 96,133 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 87,483 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 113,371 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 117,997 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 90,487 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 89,252 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 80,646 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 68,941 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 82,628 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 86,027 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 103,660 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 79,115 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 86,799 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 83,238 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 81,125 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 77,660 bytes.
  • photo  , 2000x1500 pixel , 159,064 bytes.
  • photo  , 2000x1500 pixel , 202,868 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 97,195 bytes.
  • photo  , 1500x2000 pixel , 203,005 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 117,669 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 74,740 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 117,733 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 94,298 bytes.

"เครือข่ายเมือง SUCCESS ภาคใต้"

นัดหมายคณะทำงาน 6 เมืองภาคใต้ในโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อการเปลียนแปลงเมืองมาพบกัน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียนการดำเนินกิจกรรมประเมินความเปราะบางของเมือง วันที่ 7 - 9 พฤษภาคม 2565 ณ ลากูนารีสอร์ท อ.ละงู จ.สตูล ภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรปที่มีสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและมูลนิธิชุมชนสงขลาร่วมรับผิดชอบ ภาคประชาสังคมที่มีตั้งแต่กลุ่ม องค์กรระดับชุมชนไปจนถึงสมาคมระดับจังหวัดรวมตัวกันเป็นคณะทำงานอาศัยกิจกรรมการประเมินความเปราะบางของเมืองเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบางในชุมชน โดยมีชุมชนศึกษาและประชากรกลุ่มเปราะบางเป็นกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลดำเนินกิจกรรมมาจนใกล้สิ้นสุด การลงเก็บข้อมูล ดำเนินการศึกษาด้วยตนเอง จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงปัญหา ศักยภาพ และเป็นโอกาสในการสร้างทีม สร้างเครือข่ายความร่วมมือ

1)เมืองละงู ขอบเขตพื้นที่ใหญ่สุดอาศัยลุ่มน้ำหรือคลองละงู จ.สตูล เป็นแกนกลาง ศึกษาเรื่องการบริหารจัดการน้ำท่วม น้ำแล้ง บริบทเมืองกำลังพัฒนาเป็นชุมชนเมืองมากขึ้น แต่ระบบสังคมเครือญาติยังเป็นต้นทุนสำคัญ และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศสำคัญ ต้องการเชื่อมโยงเครือข่ายต้นน้ำทำเรื่องอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ/การท่องเที่ยว กลางน้ำฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำสำคัญได้แก่ หอยปุ้งปิ้ง เต่ากระอาน และปลายน้ำดูแลระบบนิเวศป่าชายเลน ส่วนพื้นที่เมืองจะพัฒนาเครือข่ายชุมชนดูแลสุขภาพ ผู้สูงวัย อาศัยงาน "คลองสวยน้ำใส" เป็นแกนกลางเชื่อมโยงการทำงาน สร้างแผนบริหารจัดการและกติการ่วมกัน ข้อมูลที่ได้จะนำไปจัดเวทีให้หน่วยงานต่างๆเข้าร่วมเติมเต็มและถักทอเครือข่ายต่อไป

2)เมืองควนลัง จ.สงขลา ศึกษาการบริหารจัดการน้ำท่วมและน้ำแล้ง พบปัญหาการบริหารจัดการน้ำที่แยกส่วนจากกัน ระบบระบายน้ำคลองร.1 ทำให้น้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ศึกษาหายไป จึงประสานความร่วมมือกับชลประทาน เทศบาล ประปา ศูนย์อุตุฯร่วมกันสร้างกติกาการใช้น้ำ การเตือนภัย การเฝ้าระวัง พัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้ใช้น้ำของลุ่มน้ำคลองวาด คลองต่ำ ผนวกกับเมืองกำลังขยายตัวเต็มที่ในด้านที่อยู่อาศัย การเดินทาง และการเป็นศูนย์ราชการใหม่ จำเป็นที่จะต้องวางรากฐานรองรับ และร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่เหมาะสม จัดโซนพื้นที่เกษตร/ความมั่นคงทางอาหาร เป็นแหล่งผลิตอาหารสร้างรายได้ต่อไป

3)เมืองโตนดด้วน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เมืองแห่งนี้อยู่ในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญของพัทลุง เมืองกำลังขยายตัว ศึกษาการบริหารจัดการน้ำท่วมและน้ำแล้งเช่นกัน พบปัญหาน้ำท่วมที่ไหลมาจากต่างอำเภอ ลงมายังพื้นที่ มีการถมที่หรือมีถนนขวางทางน้ำที่จะต้องให้ท่อระบายน้ำเพิ่มขึ้น และต้องการเชื่อมร้อยเครือข่ายชุมชนที่แตกแยกจากการเมือง

4)เมืองพะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ศึกษาการบริหารจัดการน้ำท่วม น้ำแล้งและมลภาวะจากโรงงาน ที่นี่มีลักษณะเป็นชุมชนแบบใหม่ ขยายตัวจากเมืองเกษตรมาเป็นอุตสาหกรรม กล่าวคือ มีสถานประกอบการโรงงานมากขึ่้น มาพร้อมกับแรงงานต่างถิ่นต่างชาติ มีการบุกรุกที่ดินริมทางรถไฟ ในพื้นที่ก็มีกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเกษตรกร มีท้องถิ่นที่จะต้องอยู่่ร่วมกัน การสร้างชุมชนแบบใหม่จำเป็นต้องดึงเอาตัวแทนของแรงงานต่างถิ่น กลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยว กลุ่มต่างๆให้มาทำงานร่วมกัน

5)เมืองปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา เป็นเมืองชายแดน พื้นที่สีเทาที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์มากมายทั้งตรงและอ้อม ทั้งหลีกเลี่ยงและตั้งใจของบุคคล เอกชน รวมถึงหน่วยงาน ได้รับผลกระทบจากการขนส่งสินค้าข้ามแดน แม้จะสร้างรายได้ให้คนในพื้นที่จำนวนหนึ่งแต่กลับได้รับผลกระทบจากมลภาวะ โรคทางเดินหายใจเกิดกับเด็กเล็ก/โรงงานที่อยู่ใกล้ตม. รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเส้นทาง ไฟฟ้า สูญเสียงบประมาณในการพัฒนา

6)เมืองบ่อยาง จ.สงขลา เมืองนี้เต็มไปด้วยคนต่างถิ่นต่างที่ เป็นคนจนเมืองเข้ามาอาศัยในที่ดินรัฐ มีปัญหาขาดความมั่นคงทางที่อยู่อาศัย ที่มีปัญหาสะสมตัวมายาวนาน มีหน่วยงานหรือเจ้าที่ดินหลากหลาย อาทิ การรถไฟ เจ้าท่า ธนารักษ์ เอกชน ที่ดินวัด ขณะเดียวกันก็พบปัญหาน้ำฝนที่เพิ่มปริมาณมากขึ้น มีน้ำท่วมขังในระดับชุมชนมากขึ้น ริมทะเลก็พบเรื่องลม และการกัดเซาะชายฝั่ง เมืองก็มีอุณหภูมิสูงขึ้น ชุมชนต้องการสานพลังเป็นเครือข่ายช่วยเหลือกันเอง โดยพร้อมเป็นเครือข่ายกับศูนย์อุตุ ไฟฟ้า ประปา ในการเฝ้าระวัง ส่งต่อข้อมูลเพื่อช่วยลดผลกระทบ เมืองเหล่านี้มีตั้งแต่เมืองใหม่ ที่จำเป็นจะต้องกำหนดการใช้ประโยชน์ฺที่ดินและการพัฒนาที่เหมาะสม รวมถึงการวางรากฐานโครงสร้างระบบต่างๆเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่่งต้องใช้แนวคิดใหม่ที่ต่างจากเดิม กล่าวคือหันมาใช้ระบบนิเวศมารับมือผลกระทบ เพิ่มทุนทั้งความรู้และทักษะ เชื่อมโยงเครือข่าย องค์กรที่เข้มแข็ง ฟื้นฟูฐานทรัพยากร มากกว่าที่จะใช้โครงการสิ่งก่อสร้างจำพวก อ่าง คลองระบาย ฝายถาวร เขื่อนกั้นถาวร ที่กว่าจะสร้างเสร็จปัญหาก็เปลี่ยนแปลงไปแล้ว การสนองตอบต่อปัญหาจึงไม่สอดคล้องกับสถาการณ์ รวมถึงการประสานการทำงานของหน่วยงานที่มีหลายฝ่าย ให้สามารถทำงานร่วมกันอย่างมีทิศทางและต่อเนื่อง และเมืองที่ขยายตัวเป็นเมืองเต็มตัว ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นจึงเป็นบทเรียนส่งต่อหรือเป็นเงาสะท้อนให้กับเมืองใหม่ได้เรียนรู้ เช่น กรณีคนจนที่เป็นประชากรแฝงของเมือง การใช้มาตรการสิ่งก่อสร้างที่มีแนวโน้มจะสิ้นเปลืองงบประมาณและส่งผลกระทบอื่นๆตามมาในระยะยาว

แต่ละเมืองจะได้นำบทเรียนนี้ไปปรับปรุงรายงานและการนำเสนอผลการศึกษาต่อสาธารณะ และปรับรายงานให้แล้วเสร็จไม่เกินสิ้นเดือนนี้

การได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจะช่วยเติมเต็มข้อมูล มุมมอง เชื่อมโยงการทำงานเป็นเครือข่ายข้ามเมือง นำต้นทุนของแต่ละเมืองที่มีคณะทำงานหลากหลายวัย สถานภาพ วุฒิภาวะ เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ ประสบการณ์เหล่านี้จะทำให้องค์กรประชาสังคมมีความเข้มแข็งและร่วมกับเมืองในการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของตนต่อไป

ชมคลิปการนำเสนอข้อมูลเมืองพะตง

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน