รายงานการประชุมการจัดทำแผนที่ทางสังคม จ.สงขลา : กลุ่มเด็กออทิสติก
รายงานการประชุมการจัดทำแผนที่ทางสังคม จ.สงขลา : กลุ่มเด็กออทิสติก
วันที่ 23 กันายน.2553 เวลา 13.00-16.00 น.
ณ วัดคลองเปล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
ผู้เข้าร่วม
1.มูลนิธิชุมชนสงขลา
2.มูลนิธิสานฝันปันรัก
3.สมาชิกมูลนิธิสานฝันปันรัก
4.รพ.สงขลานครินทร์
5.ชมรมสมิหลาเพื่อบุคคลออทิสติก
6.ชมรมผู้ปกครองออทิสติกจ.สงขลา
7.ผู้ปกครองเด็กออทิสติก
8.ภาควิชากุมารแพทย์ศาสตร์ มอ.
9.คณะพยาบาล มอ.
10.คณะทันตแพทย์ มอ.
11.ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 3
12.ม.ราชภัฎสงขลา
13.วัดคลองเปล และวิทยุพุทธเรดิโอ 106.75 MHz
สรุปการประชุม เริ่มประชุม เวลา 13.00 น. ที่ประชุมได้มีการแนะนำตัวและได้กล่าวถึงที่มาของการจัดทำแผนที่ทางสังคม โดยประธานมูลนิธิชุมชนสงขลา และได้มีแนวคิดให้เกิดศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กออทิสติกวัดคลองเปล อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำแผนที่ทางสังคมจังหวัดสงขลาในกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ ณ รพ.หาดใหญ่ที่ผ่านมา
ที่ประชุมได้ร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์ มีข้อสรุปดังนี้ 1.ในสงขลายังมีเด็กออทิสติกจำนวนมากที่ไม่มีที่เรียน เด็กออทิสติกเป็นหนึ่งในเด็กพิเศษซึ่งมีทั้งหมด 9 ประเภท
2.ยังขาดองค์ความรู้ในกลุ่มผู้ปกครองเด็กออทิสติก ซึ่งชมรมผู้ปกครองกำลังทำงานเรื่องนี้อยู่ร่วมกับสมาคมระดับประเทศ โดยชมรมผู้ปกครองเด็กออทิสติกจ.สงขลาเพิ่งจะมีการก่อตั้งได้ไม่นาน แต่ก็ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน
3.สังคมโดยภาพรวมไม่รับรู้ ไม่เข้าใจเด็กพิเศษ จำเป็นที่จะต้องสื่อสารสาธารณะให้สังคมเข้าใจ ประเด็นสำคัญที่ควรรับรู้ก็คือ ในส่วนของเด็กออทิสติก ช่วงเด็กเล็ก จำเป็นที่จะต้องมีแพทย์/หรือระบบทางสาธารณสุขให้การดูแล เมื่อเด็กโตขึ้นเข้าสู่ช่วงวัยเรียน ก็มีโรงเรียนร่วม เราจึงควรทำความเข้าใจกับครู และช่วงเข้าสู่วัยผู้ใหญ่/เด็กโต ก็มีศูนย์ฝึกอาชีพ และผู้มีจิตสาธารณะที่เป็นคนปกติช่วยกันดูแล
4.ปัจจุบันเด็กออทิสติกทั้งประเทศ มีกว่า 300,000 กว่าคน ในจ.สงขลา มีข้อมูลไม่ชัดเจนนัก ในชมรมผู้ปกครอง มีประมาณ 60 ครอบครัว ชมรมอรุณสมิหลามีประมาณ 200 ครอบครัว(รวมจังหวัดอื่นในภาคใต้) ศูนย์การศึกษาพิเศษมีประมาณ 80 คน (ศูนย์ฯมีงบสนับสนุนการอบรม)
5.มีช่องว่างในระบบ มีเด็กออทิสติกบางคนไม่ได้ผ่านศูนย์การศึกษาพิเศษ และการเรียนในระบบยังไม่มีช่องทางการเรียนต่อ/หรือการศึกษาคู่ขนานที่ครอบคลุม ปัจจุบันสงขลามีโรงเรียนแกนนำเรียนร่วม 108 แห่ง แต่ครูแกนนำมีน้อย และยังไม่มีหน่วยงานกลางประเมินศักยภาพเด็กพิเศษ ประเมินเด็กในเชิงพัฒนาการ ไม่ว่าจะในด้านการอยู่ร่วมกับผู้อื่นความพร้อมพื้นฐานต่างๆ ที่จะเข้าสู่โรงเรียนร่วม ในส่วนสมาคมผู้ปกครองฯต้องการให้มีมาตรการทางภาษีช่วยเหลือเด็กออทิสติก
6.ชมรมอรุณสมิหลา มอ. สามารถให้ความรู้กับผู้ปกครอง มีการจัดระบบฐานข้อมูลให้ผู้ปกครอง
7.มูลนิธิสานฝันปันรัก ก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างโรงเรียนการกุศลให้เด็กออทิสติกได้เรียน วางแนวทางให้เกิดการเรียนร่วมสำหรับเด็กเล็ก ปัจจุบันมีสถานที่เรียน ที่ต.บ้านพรุ 15 ไร่ มีอาคารเรียน กำลังก่อสร้าง พร้อมเป็นโรงเรียนในปีหน้า ยังมีช่องว่างในการนำเด็กออทิสติกเข้าสู่โรงเรียนร่วม
8.ม.ราชภัฎ สงขลา ผลิตนักศึกษา เรียนรู้ทั้งทฤษฎีและการปฎิบัติ มีการทำงานร่วมกับรพ. มีศูนย์สาธิตมีการกระตุ้นพัฒนาการแรกเริ่ม มีคลินิกปันรัก มีการสร้างอาสาสมัครช่วยเด็กออทิสติก มีนักศึกษาที่สามารถมาเป็นอาสาสมัคร
จากนั้นที่ประชุมได้ร่วมกันให้ความเห็นต่อการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สำหรับ เด็กออทิสติกวัดคลองเปล มีข้อสรุปสำคัญดังนี้ • ที่มา เด็กออทิสติกมีระบบการดูแลปกติ ได้แก่ โรงเรียนเรียนร่วม แต่ก็มีช่องว่างของเด็กที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบการเรียนรู้ ขณะที่ผู้ปกครองไม่มีจุดรวมตัว ผู้ปกครองต้องการทำกิจกรรมร่วมกัน และรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันดำเนินการ
• เป้าหมาย จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หากมีการรวมตัวกันได้ระยะยาวสามารถที่จะร่วมมือกันส่งเสริมอาชีพ/รายได้ให้กับเด็กออทิสติก และเป็นที่ทำกิจกรรมของผู้ปกครอง
• แนวทางดำเนินการ
1.ให้ทางผู้ปกครองรวมกลุ่มก่อน ทำกิจกรรมร่วมกันกับเด็กออทิสติก
2.ควรมีกิจกรรมสร้างทัศนคติทางสังคมสื่อสารกับสังคม ซึ่งปัจจุบันก็มีช่องทางสื่อสาร/สื่อของเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
3.กิจกรรมสร้างอาชีพ
4.กิจกรรมเรียนรู้ของผู้ปกครอง พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ หรือมีการสร้าง Blog ของผู้ปกครองบันทึกประสบการณ์การดูแลเด็กออทิสติก
5.กิจกรรมเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้เกิดการค้นพบศักยภาพของเด็ก ในด้านศิลปะ ดนตรี พัฒนาระบบคัดกรอง
6.กิจกรรมอาสาสมัคร
7.กิจกรรมระดมทุน
8.ถักทอเครือข่าย โดยมีนักศึกษามีช่วยงานในศูนย์ฯเป็นงานอาสา
• ช่วงเวลา เดือนละครั้งในช่วงแรกอาจมีการพบกันมากกว่าเดือนละครั้งเพื่อเตรียมความพร้อม • กลุ่มเป้าหมาย ในช่วงแรกเป็นกลุ่มผู้ปกครองเด็กพิเศษ ในอนาคตอาจรวมถึงเด็กพิเศษกลุ่มอื่น เป็นกลุ่มเด็กโตและผู้ปกครองไม่ต่ำกว่า 60 ครอบครัว • กลไก 1.จัดตั้งกลุ่ม/แกนนำโดยใช้ฐานของชมรมผู้ปกครองฯเป็นแกนหลัก และเป็นผู้ประสานหลัก 2.ที่ปรึกษา มาจาก 3 ภาคส่วน ได้แก่ อ.จาก ม.ราชภัฎ นพ.จากชมรมอรุณสมิหลา มอ.และเครือข่าย
ความร่วมมือในด้านอื่นๆ 1.เมื่อศูนย์แห่งนี้ดำเนินการได้แล้วพอเป็นตัวอย่าง จะมีการขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ 2.ม.ราชภัฎ อยากให้ชมรมพัฒนาโครงการที่เน้นการพัฒนาผู้ปกครอง เพื่อร่วมกันสร้างตัวแบบทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย 3.ทางภาควิชากุมารแพทย์ศาสตร์มีกิจกรรมสามารถมาเสริมการทำกิจกรรมกับผู้ปกครองและเด็กออทิสติก สามารถมาช่วยสนับสนุนกิจกรรมในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ 4.วัดคลองเปล มีสถานีวิทยุพุทธเรดิโอ ได้เปิดโอกาสให้ชมรมผู้ปกครองเข้ามาจัดรายการวิทยุ สื่อสารกับสังคมสัปดาห์ละ 2 วัน 5. พัฒนาการสื่อสารกับสังคม ด้วยการบันทึกความรู้ หรือสร้างสื่อดิจิตอลร่วมกับเครือข่ายสงขลามีเดียฟอรั่ม จัดทำธนาคารเสียง Blog และสื่ออื่นๆ 6.ทางมูลนิธิชุมชนสงขลา จะช่วยเป็นองค์กรประสานงาน จัดระบบฐานข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อสร้างช่องทางสื่อสาร ประสานงานโดยมีชมรมผู้ปกครองฯเป็นผู้ประสานหลัก 7.จุดเริ่มต้นของกิจกรรม วันที่ 9 ตค.53 เวลา 13.00 น. ทางชมรมผู้ปกครองฯ จะมีการนัดพบกันเพื่อรวบรวมความต้องการ จัดการเรียนรู้ภายในของกลุ่มผู้ปกครอง ต่อจากนั้นจะประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกิจกรรมต่อไป
ปิดประชุม
Relate topics
- จังหวะก้าวสำคัญ iMedCare สงขลา
- หนุนเสริมเครือข่าย ทสม.คลองหอยโข่ง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลาSGS-PGS 2565"
- "iMed ควนลังและพะตง"
- "วิสาหกิจชุมชน ทต.ปริก รองรับการขับเคลื่อน iMedCare"
- "ระบบข้อมูลกลาง"
- Platform : iMedCare ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงที่บ้าน
- "ชุด Care set สงขลา"
- "ฝายดักขยะวัดคลองแห"
- เทศบาลเมืองบ้านพรุกับกระบวนการเรียนรู้การทำแผนชุมชน