"ระบบข้อมูลกลาง"
"ระบบข้อมูลกลาง"
ราวปี 2554 ทางสปสช.เขต ๑๒ โดยผอ.ธีรวัฒน์ กรศิลป์ มาชวนมูลนิธิชุมชนสงขลานำข้อมูลผู้ป่วยบัตรทองของสปสช.ของเขตมาพัฒนาเป็นระบบข้อมูลเพื่อนำเสนอสถิติในแต่ละพื้นที่ให้เห็น ๑๐ อันดับโรคที่ผู้ป่วยบัตรทองไปใช้บริการ ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับกองทุนตำบลที่จะนำไปทำแผนสุขภาพระดับตำบลแก้ปัญหาต่อไป
จุดเริ่มต้นนี้ทำให้เราพัฒนา www.ข้อมูลชุhttp://xn--b3c4aw.com/ มาเรื่อยๆ ยังเสียดายข้อมูลชุดนี้อยู่ หากสามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี เราจะเห็นข้อมูลย้อนหลังไปประเมินอนาคตได้ไม่ยาก แต่น่าเสียดายว่าข้อมูลนี้มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี ทำให้การประมวลผลทำได้ยากเกินไป เทคโนโลยีสมัยนั้นยังไม่ดีพอด้วย
อย่างไรก็ดี เราก็ยังเดินหน้าต่อ ไปทำเรื่องที่เล็กลง ด้วยการเจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ...คนพิการ เป็นกลุ่มแรกที่เดินหน้าต่อ เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลกลางของพื้นที่ ลดช่องว่างข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบัน ไม่มีการจัดเก็บหรือมีแค่ข้อมูลพื้นฐาน หรือจัดเก็บแบบแยกเป็นส่วนๆตามภารกิจของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ด้วยการจัดทำแบบสอบถามคุณภาพชีวิตแล้วสำรวจด้วยทีมงานในพื้นที่ จนสำเร็จที่อำเภอนาทวี จากนั้นก็ขยายผลเรื่อยมา ค่อยๆขยับมาทำกับผู้สูงอายุ จนกระทั่งมาถึงประชากรกลุ่มคนยากลำบากและเปราะบางทางสังคม ในราวปี 2561
เทคโนโลยี ๔G เข้ามา ทำให้เราพัฒนาแอพพลิเคชั่น iMed@home ขึ้น และเปลี่ยนมาใช้ระบบเยี่ยมบ้านสำรวจความต้องการแทนแบบสอบถามที่ต้องใช้เวลา และขยายผลในหลายพื้นที่เรื่อยมา
จากiMed@home ปัจจุบันได้ต่อยอดมาเป็น iMedCare ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงที่บ้าน มีiMed@จิตเวช ดูแลผู้ป่วยทางจิต ทั้งหมดนี้ก็เพื่อต้องการกระตุ้นระบบการทำงาน ลดช่องว่างการให้บริการ และช่วยกันพัฒนาไปสู่ระบบที่ควรเป็น...ระดับจังหวัด กองทุนพื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา ได้เป็นแม่งานชวน ๑๑ องค์กรมาร่วมกันทำฐานข้อมูลกลางคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง เพื่อให้ data ของแต่ละองค์กรสามารถนำไปสู่ระบบกลางและคืนกลับมาให้แต่ละองค์กรได้ใช้งาน มองเห็นภาพรวมร่วมกัน ในการดำเนินงานมุลนิธิชุมชนสงขลาเป็นองค์กรรับผิดชอบ ได้ร่วมกับกองทุนฟื้นฟูฯจัดทำ TOR กับบริษัทแห่งหนึ่งดำเนินการพัฒนาระบบกลางรองรับ จะแล้วเสร็จใน ๓ เดือนนี้
Relate topics
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567
- “พูดให้น้อย ทำให้เยอะ : ค่านิยมร่วม HCG ของ iMedCare”