Platform : iMedCare ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงที่บ้าน

by punyha @25 ส.ค. 64 08:42 ( IP : 171...116 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , กิจกรรม
  • photo  , 733x501 pixel , 22,826 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 138,274 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 118,049 bytes.

Platform : iMedCare ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงที่บ้าน

“บริการด้วยหัวใจ มอบความห่วงใยถึงบ้าน”

We serve excellent care at your home

สภาพปัญหา

-โรคเรื้อรังส่วนมากเกิดกับคนที่มีอายุมากขึ้น หรือผู้สูงอายุ ที่ขณะนี้ไทยเรามีประมาณร้อยละ 20 ของประชากร หรือ 12 ล้าน และจะเพิ่มขึ้นปีละ 1 ล้าน (ภาคใต้ประมาณ 1.5 ล้านจากประชากรทั้งหมด 10 ล้าน คิดเป็นร้อยละ 8 ของประเทศ) ในจำนวนนี้ร้อยละ 16 เจ็บป่วยมาก (เกือบ 2 ล้านคน) ร้อยละ 11.4 มีภาวะพึ่งพิง (เกือบ 1.5 ล้านคน) และต้องมีผู้ดูแลประจำ ร้อยละ 4 (4.8 แสนคน)

โรคทำให้ประชากรกลุ่มนี้เจ็บป่วยในอันดับแรกๆ ได้แก่ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคปอด และข้อเสื่อม โดยภาวะพึ่งพิงที่ต้องการผู้ดูแลดังแผนภูมิที่นำเสนอ ซึ่งถ้าพิจารณาในรายละเอียดจะเห็นว่าลักษณะการพึ่งพิงหลายอย่างสามารถฟื้นฟูให้กลับเป็นปกติได้ถ้ามีผู้ดูแลที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี มีมาตรฐาน

โดยเฉพาะในกลุ่มที่เริ่มเป็นหรือกลุ่มติดบ้าน ซึ่งถ้าได้รับการฟื้นฟูจะทำให้กลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติได้ หรือแม้แต่กลุ่มติดเตียงก็สามารถชะลอการเสื่อมและอาจลุกมาช่วยตัวเองได้บ้าง ระบบการดูแลที่มีอยู่ในปัจจุบันที่รัฐจัดให้ไม่ว่าจะเป็น Intermediated care หรือ LTC ยังมีข้อจำกัด คือ จัดให้สำหรับกลุ่มบัตรทองที่ได้รับทุนสนับสนุนโดย สปสช. กลุ่มอื่นๆทั้งกลุ่มประกันสังคม ข้าราชการ หรือกลุ่มประกันสุขภาพแบบพรีเมี่ยม ซึ่งบางรายอาจมีกำลังจ่าย แต่ก็ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการจ้างผู้ดูแล ที่อาจไม่ได้รับการดูแลที่ได้มาตรฐาน จึงทำให้อัตราการกลับมาใช้ชีวิตตามปกติหรือลดภาวะพึ่งพิงไม่ดีขึ้น

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีความพยายามที่จะผลิตผู้ดูแลให้ได้มาตรฐาน โดยความร่วมมือกับกระทรวง พม. แรงงาน ศึกษาธิการ ร่วมกับมหาดไทย และ สาธารณสุข แต่ก็ยังมีช่องว่างการให้บริการ ด้วยเหตุนี้ ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีพื้นฐานและประสบการณ์ในการสอน วิจัยและให้การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ และทีมงานที่ประกอบด้วยผู้ที่ทำงานในด้านการจัดการระบบสุขภาพกับมูลนิธิชุมชนสงขลาจึงได้ร่วมมือกันพัฒนาPlatform iMedCare สำหรับกลุ่มประชากรโรคเรื้อรังกลุ่มนี้ โดยมีเป้าหมายสำคัญ

1.เสริมระบบบริการภาครัฐ เข้าสู่ระบบริการแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care)

2.เสริมประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสภาพ/เพิ่มคุณภาพชีวิต

3.มีการผลิตบุคลากรที่มีความสามารถต่อเนื่อง

4.มีระบบฐานข้อมูลรองรับการดูแลต่อเนื่อง (Continuous care)

5.มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม เข้าถึงได้ง่าย และครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มติดเตียง: ต้องมีผู้ดูแลประจำ 5 แสนคน  อยู่ในระบบ  LTC ประมาณ 1 แสนคน  (เป้าหมาย 1.5 แสนคน) คงเหลือ 4 แสนคน

กลุ่มติดบ้าน: ต้องการการฟื้นฟู 1 ล้าน ระบบ Intermediated care ให้การดูแลเฉพาะใน รพ. ก่อนจำหน่ายกลับบ้าน  คงเหลือ  1 ล้านคน

จากจำนวนทั้งหมด ประมาณการร้อยละ 50 ญาติดูแลเอง หรือใช้บริการหน่วยบริบาลของเอกชน

Platform iMedCare

Platform iMedCare เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนานวัตกรรมการแพทย์ดิจิทัลสำหรับการแก้ปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ดิจิทัลไทยอย่างยั่งยืน โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

เป้าหมาย พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน โดยผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home care giver) ในเขตเมือง ผ่าน Platform iMedCare แบบครบวงจร ลดช่องว่างของระบบบริการ สร้างมาตรฐานการให้บริการร่วมกัน

บริการหลัก ได้แก่ ทำความสะอาดร่างกาย ทำความสะอาดที่นั่ง/ที่นอน ให้อาหาร พลิกตะแคงตัว ยืดเหยียดข้อและกล้ามเนื้อ เคาะปอดและดูดเสมหะ

บริการอื่นๆ ได้แก่ 1) พูดคุยเป็นเพื่อน 2) พาไปพบแพทย์ตามนัด 3) พาไปวัด/พบเพื่อน/ไปซื้อของ/ออกกำลังกาย ฯลฯ 4) ช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า ป้อนข้าว พาเดิน เข้านอน

มีการบันทึกประวัติการให้บริการรายบุคคล ที่สามารถส่งต่อข้อมูลและออกแบบการให้บริการร่วมกับ CM (Care Manager หมายถึง ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข) ในแต่ละพื้นที่จาก สปสช. พื้นที่การให้บริการ ระยะแรก จ.สงขลา

กลุ่มเป้าหมายหลัก 1) ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านที่อยู่นอกเหนือระบบ LTC (ดูแลผู้ป่วยระยะยาว) ที่ต้องการรับบริการและจ่ายค่าบริการในราคาที่เข้าถึงได้ 2) ผู้สูงอายุทั่วไป ที่ต้องการบริการ

กลุ่มเป้าหมายรอง 1) ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านที่อยู่ในระบบ LTC ที่ต้องการบริการเพิ่มเติมและสามารถจ่ายค่าบริการ รูปแบบการคิดค่าบริการ  การดูแลแบบชุด ได้แก่ การดูแลรายเดือน (เหมาจ่าย)  การดูแลรายสัปดาห์  การดูแลรายวัน (20-24 ชม) การดูแลครึ่งวัน (กลางวัน หรือกลางคืน) การดูแลช่วงเช้า/บ่าย และการดูแลแบบรายครั้ง เน้นกลุ่มเป้าหมายให้อยู่ในพื้นที่ตำบลเดียวกัน มีการเบิกจ่ายงบประมาณ การรับจ่ายเงิน จะใช้ระบบพร้อมเพย์ เพื่อความสะดวก ทีมกลางจะโอนค่าตอบแทนให้กับผู้ให้บริการรายสัปดาห์/รายเดือน

iMedCare ต่อยอดจาก iMed@home เป็นแอพพลิเคชั่นที่ต่อยอดจากการพัฒนาระบบเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และคนยากลำบากในพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 12 โดยทำงานร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรภภาพจังหวัดสงขลา สปสช. เครือข่ายภาคประชาสังคมและเครือข่ายท้องถิ่น บันทึกข้อมูลพื้นฐาน การช่วยเหลือ การจัดทำแผนในการดูแลคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย ลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนและเสริมหนุนการทำงานกันและกัน และได้รับการประสานร่วมงานกับคณะพยาบาลศาสตร์ มอ. ที่มีหลักสูตรและบุคลากรผู้ให้บริการที่ผ่านการอบรม จึงเห็นโอกาสที่จะพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน มีข้อมูลผู้รับบริการอยู่ราว 6 หมื่นราย มี user ใช้ระบบอยู่ 5491 คน

หัวใจสำคัญคือ พัฒนาระบบการบริหารจัดการผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน Home care giver ให้สามารถบริการผู้ป่วยที่บ้าน ซึ่งต้องการรับบริการและสามารถจ่ายค่าบริการที่อยู่นอกเหนือจากสิทธิ์พื้นฐานจากระบบบริการของภาครัฐ ให้สามารถส่งต่อข้อมูล ประสานเชื่อมต่อ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และลดช่องว่างของระบบ

ผู้รับบริการ คือ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยในภาวะพึ่งพิง โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเมือง/ชานเมือง กลุ่มหลักคือ กลุุ่มที่อยู่นอกเหนือจากระบบLTC(ระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในระยะพึ่งพิง) กลุ่มรองคือ ผู้ต้องการรับบริการนอกเหนือจากบริการตามสิทธิ์ LTC และสามารถจ่ายค่าบริการในราคาที่เข้าถึงได้ และยินยอมใช้บริการของระบบ

พื้นที่ดำเนินการ ระดับตำบลในเขตเมือง ผู้รับบริการสามารถเลือกผู้ให้บริการในพื้นที่ตำบลเดียวกัน เลือกประเภทการบริการ นัดหมายล่วงหน้า และประเมินความพึงพอใจในแต่ละครั้งของการบริการ

ผู้ให้บริการ คือผู้ที่ผ่านการอบรม ผ่านการทดสอบมาตรฐานการให้บริการที่จะเปิดให้บริการจากโครงการ กลุ่มเหล่านี้อาจต่อยอดจากอสม. CG (Care giver หมายถึง ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง) หรือนักบริบาล หรือผู้ที่ผ่านการอบรมจากคณะพยาบาล ฯลฯ จัดทำแผนบริการรายบุคคล รายงานกิจกรรมการให้บริการแต่ละครั้ง

การออกแบบตัวแอพพลิเคชั่นจะคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ให้เข้าถึงข้อมูลพื้นฐานเท่าที่จำเป็น(ชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ ภาพถ่าย เลข 13 หลัก เพื่อยืนยันตัวตน โดยผ่านการยินยอม) และพิทักษ์สิทธิ์ข้อมูลส่วนบุคคลผ่านระบบสมาชิกและข้อตกลงร่วมที่จะกำหนดเอาไว้

รูปแบบการใช้งาน หน้าหลักจะระบุชื่อ ตำแหน่งที่อยู่ผู้ใช้บริการ ประกอบด้วย 4 เมนูหลัก คือ

1)บริการของเรา ผู้ใช้สามารถเข้าดูประเภทบริการและขั้นตอนการใช้บริการเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนสมัครสมาชิก

2)ผู้รับบริการ(แยกออกเป็น 2 ประเภทคือช่วยตัวเองได้และช่วยตัวเองไม่ได้ ระบุข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น เลือกประเภทบริการที่ต้องการ เข้าดูข้อมูลราคา มาตรฐานบริการที่จะได้รับ เลือกผู้ให้บริการในพื้นที่ นัดหมายการรับบริการ การประเมินความพึงพอใจ การจ่ายค่าบริการและเงื่อนไขกำกับ-หากเคยใช้บริการแล้วจะมีรายงานประวัติการให้บริการ)

3)ผู้ให้บริการ(ข้อมูลพื้นฐาน ประวัติและความสามารถในการบริการ แผนการให้บริการรายบุคคล บันทึกกิจกรรมการบริการพร้อมภาพ เงื่อนไขการให้บริการ) และ

4)ทีม iMedCare(ข้อมูลพื้นฐาน รายงานการให้บริการ รายงานการประเมิน รายงานการรับจ่ายเงิน เงื่อนไขการใช้งาน) การรับจ่ายเงิน จะใช้ระบบพร้อมเพย์ เพื่อความสะดวก ทีมกลางจะโอนค่าตอบแทนให้กับผู้ให้บริการรายเดือน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน