สานรักครอบครัว ที่พรุค้างคาว

by ชาคริต โภชะเรือง @21 ธ.ค. 52 21:41 ( IP : 222...216 ) | Tags : กิจกรรม

พอเอ่ยถึง "สวนสาธารณพรุค้างคาว" ไม่ทราบว่ามีใครรู้จักบ้างไหมครับ?

หลายคนคงส่ายหน้า แต่ถ้าบอกต่ออีกว่าอยู่ในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ ผมว่าหลายคนอาจร้องอ๋อ! ขึ้นมาบ้าง แต่ผมเดาว่าคนหาดใหญ่เองบางคนก็อาจจะมิเคยได้ยิน เนื่องจากยังเป็นสวนสาธารณะที่เพิ่งเกิดใหม่ แต่โดยชื่อแล้ว มีมานานพอสมควร

คำอธิบายภาพ : dscf8072_resize

พรุค้างคาวนี่ว่าไปติดเขตอำเภอหาดใหญ่นะครับ อย่างไรก็ดี สถานที่แห่งนี้ ผมว่าเด็กโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย หรือเด็ก ญว. บางคนเท่านั้นอาจรู้จักดีกว่าใคร โดยเฉพาะเด็กในโปรแกรมเกษตร ด้วยคงเคยมีความทรงจำอันหอมหวานในอดีต มาเรียน ณ สถานที่แห่งนี้ จากการที่ผู้บริหารโรงเรียนขยายพื้นที่เป็นวิทยาเขตย่อยก็ว่าได้

ผมเองไม่ได้มาที่นี่นานแล้ว ไม่นับสมัยเป็นเด็ก ญว.ก็ได้ยินชื่อมานาน กระทั่งวันนี้ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับนายกเสรี นวลเพ็ง ทำแผนสุขภาพกับเทศบาลเมืองบ้านพรุ ซึ่งดูแลพรุค้างคาวแห่งนี้โดยตรง เราต่างเห็นโอกาสในการพัฒนาและใช้ประโยชน์สถานที่ซึ่งว่าไปก็มีความพร้อมในหลายด้าน กล่าวคือ มีสนามกีฬาภายใน มีสวนสาธารณร่มรื่น เหมาะแก่การออกกำลังกาย การพักผ่อน

พรุค้างคาวเป็นส่วนหนึ่งของตำบลบ้านพรุ ผมเคยถามที่มาของบ้านพรุว่ามาจากไหน ได้คำตอบว่าชื่อนี้เกิดมาจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพรุ มีน้ำขัง จึงนำมาเป็นชื่อบ้าน เมื่อก่อนสัญจรทางเดิน ทางเรือ สัญจรด้วยรถไฟ สภาพเป็น “พรุ” กระจายอยู่ทั่วไป ปัจจุบันพรุก็ยังหลงเหลืออยู่ เช่นพรุพลี พรุค้างคาว เป็นต้น

คนที่นี่ว่ากันว่าอพยพมาสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยช่วงแรกมาอยู่บ้านบางศาลา ต่อมาย้ายมาอยู่ที่บ้านพรุ เคยมีการค้นพบของโบราณ เช่น เครื่องสังคโลก ตระกูลดั้งเดิมก็เช่น หนูอุไร จันทกาญจน์  อาษาพันธ์ รักษ์วงศ์ เบ็ญละเต๊ะ เบ็ญโส๊ะ เป็นต้น

ในช่วงระดมความเห็นจัดทำแผนสุขภาพ มีหลายความเห็นที่เกี่ยวพันกับพรุค้างคาว เช่น อยากพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว อยากให้มีลานวัฒนธรรม ลานดนตรี ลานศิลปะ ลานสุขภาพ มีกิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์ ต่อมาเมื่อได้ทำสมัชชาสุขภาพตำบล (โดยการสนับสนุนของมูลนิธิชุมชนและสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) ก็มีข้อเสนอให้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายสานใยรักครอบครัวดูแลเยาวชนและครอบครัวที่กำลังล่มสลาย และต่อมาข้อเสนอเหล่านี้ได้รับการนำไปสู่การปฎิบัติจริงแล้วในวันนี้

คำอธิบายภาพ : dscf8078_resize


คำอธิบายภาพ : dscf8081_resize


คำอธิบายภาพ : dscf8087_resize


คำอธิบายภาพ : dscf8088_resize

กิจกรรม "สานรักครอบครัว" ซึ่งประมวลความต้องการที่ว่ามาข้างต้น จับมือกับชุมชน ร่วมกันฟื้นพลัง นำทุนทางสังคมดีๆในพื้นที่มาแสดงออกถึงความเป็นคนบ้านพรุ ผมมีโอกาสได้ไปร่วมงานที่เริ่มต้นขึ้นครั้งแรก...ทางเทศบาลจัดได้ดีครับ เข้าไปก็เห็นรถมอเตอร์ไซด์รุ่นเก๋า มีชมรมคนโบราณ นำมาจัดแสดง ยืนแถวต้อนรับ ดูแล้วก็เพลินตาดี เข้ามาในงานก็มีกิจกรรมหลากหลาย แลดูกลืนกลืนเข้ากับสภาพพื้นที่ของสวนสาธารณะที่ร่มรื่น แทรมแซกด้วยสระน้ำ เกาะกลางน้ำ ผู้คนก็มากหน้าหนาตา ดูแล้วคึกคัก ต่อไปน่าจะเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวของคนหาดใหญ่

ของดีเรียกแขกในงานประกอบด้วยฐานเรียนรู้ต่างๆ เช่น ฐานศิลปะ ฐานสภาเยาวชน ฐานผู้พิการ ฐานสุขภาพ ฐานขนมพื้นบ้าน ฐานหนังกลางแปลง ฐานอาหาร ฐานนวดแผนโบราณ ฐานออกกำลังกาย ฐานหนังตะลุง เป็นต้น เริ่มต้นจากคนบ้านพรุ นำครอบครัวลูกหลานมาร่วมกิจกรรม ก่อนที่จะแบ่งปันเผื่อแผ่ไปถึงคนนอกพื้นที่ได้มาร่วมรับความสุข

คำอธิบายภาพ : dscf8090_resize


คำอธิบายภาพ : dscf8094_resize


คำอธิบายภาพ : dscf8103_resize


คำอธิบายภาพ : dscf8113_resize


คำอธิบายภาพ : dscf8120_resize


คำอธิบายภาพ : dscf8121_resize


คำอธิบายภาพ : dscf8123_resize


คำอธิบายภาพ : dscf8136_resize


กิจกรรมจะมีทุกเดือน เริ่มครั้งแรก 20 เดือนธันวาคม 2552

ครั้งต่อไปวันที่ 31 มกราคม 2552 ครับ

Comment #1ญว ๒
กุ๊กไก่ (Not Member)
Posted @14 ธ.ค. 53 02:48 ip : 124...207

ใครจะคาดคิดว่าโรงเรียนเล็กๆ ในทุ่งกว้างที่ไร้ร้างผู้คน ห่างไกลเส้นทางคมนาคม มีเส้นทางเข้าออกเพียงทางเดียว หน้าถนนกาญจนวานิชย์ จากตำบลบ้านพรุ(หาดใหญ่นอก)จะกลายเป็นโรงเรียนในฝัน "ติด 1 ใน 3" ของหาดใหญ่ เมืองชั้นเอก เขตการค้าเศษฐกิจที่ผู้ปกครองอยากส่งลูกมาเรียน

แต่ด้วยความกล้าหาญและมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลของ "อาจารย์ธรรมนูญ วิสัยจร "ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย สมัยนั้น ประกาศจัดตั้งโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย (บ้านพรุ) ณ ที่ดินทุ่งนาและที่ดินสาธารณะเกือบ 450ไร่ โดยแบ่งให้เป็นการศึกษาจำนวน74ไร่ เพื่อจัดตั้งศูนย์เกษตรกรรม หาดใหญ่วิทยาลัยมอบให้ การศึกษา 2524 ได้จัดตั้งเป็นศูนย์วิชาเกษตรกรรม โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย โดยมี นายธรรมนูญ วิสัยจร เป็นผู้อำนวยการโดยมีตรา "ตรีจักร" เป็นสัญลักษณ์เหมือนกับ ร.ร.หาดใหญ่วิทยาลัย เมื่อพุทธศักราช 2525 ต่อจากนั้น นายวิรัช บุญนำ รับนโยบายจากกรมสามัญศึกษา ประกาศจัดตั้งเป็นสาขา โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ในปีการศึกษา 2539 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งสาขาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยเป็นโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ โดยมี นายวิลาพ อุทัยรัตน์ เป็นผู้บริหารโรงเรียนท่านแรก

แผ่นดินท้องทุ่งสาธารณะประโยชน์เกือบ เนื้อที่ 71 ไร่ 3 งาน  ไร่ แห่งท้องทุ่งพรุ ของบ้านพรุ อันที่ดินบริเวณ “พรุค้างคาว” ตำบลบ้านพรุ เป็นที่ดินสาธารณะสงวนไว้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ ในอดีตจำได้ว่าสมัยท่านอดีตกำนันหนู วิหกะรัตน์ เป็นกำนันตำบลบ้านพรุ เมื่อปี พ.ศ. 2497-2598ทางราชการให้ประชาชนยื่นการแสดงการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ณ ที่ทำการกำนันหน้าตลาดบ้านพรุมีประชาชนได้ยื่นแสดงการครอบครองที่ดินกันเป็นจำนวนมาก แต่ที่เฉพาะบริเวณพรุค้างคาวส่วนหนึ่ง บริเวณรอบๆ พรุ (แอ่งน้ำ) กำนันไม่ยอมให้มีการแสดงการครอบครองที่ดินบริเวณนั้น เพราะสงวนไว้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ และชื่อที่เรียกกันว่า “พรุค้างคาว” นั้น เล่ากันว่า บริเวณนั้นนอกจากจะมีแอ่งน้ำ (พรุ) ที่มีน้ำสมบูรณ์ตลอดปีไว้สำหรับให้วัวควายได้ดื่มกินแล้ว ยังมีต้นไม้ใหญ่และป่าเสม็ดอุดมสมบูรณ์และมีค้างคาวแม่ไก่ (เป็นนกค้างคาวตัวใหญ่) อาศัยอยู่มากมาย นกค้างคาวแม่ไก่ที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ พอตกค่ำคืนก็จะบินออกไปหาอาหารตามหมู่บ้านใกล้เคียงในตำบลบ้านพรุ โดยเฉพาะที่ค้างคาวชอบมากคือลูกกะท้อน ชาวบ้านก็ใช้ปืนยิงนกค้างคาวมาเป็นอาหารต่อจึงมีชื่อเรียกกันว่า “พรุค้างคาว” มาจนบัดนี้ ให้เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ นับเป็นภาระที่ยิ่งใหญ่ "ด้วยชื่อเสียงที่ดังออกไปทั่วทุกหัวระแหง ทำให้ ญ.ว. เป็นที่สนใจของผู้ปกครองและนักเรียนทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัดมากขึ้น ทุกคนมุ่งเข้าสู่ ญ.ว. แต่ขณะเดียวกัน อาคารสถานที่ของ ญ.ว.ก็มีอยู่เท่านั้น ทำการสอนนักเรียนทั้งสองผลัด รวมแล้วประมาณ 3,000 คน จำนวนนักเรียนก็ต้องรับให้สัมพันธ์กับสถานที่ที่มีอยู่ แต่ความศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อ ญ.ว. นั้นสูงมากจนถึงกับร้องเรียน ขอให้หาที่เปิดโรงเรียนเพิ่มเติมเถิด ผมเข้าใจจิตใจของผู้เป็นบิดามารดาที่มีความหวังต่อลูก ๆ ของตน จึงได้ปรึกษาหารือกับคณะครู แล้วผมก็ได้ทราบว่าเรื่องขยายโรงเรียนนี้ได้เคยคิดกันมาแล้วตั้งแต่สมัยคุณครูบัญญัติ บูรณะหิรัญเป็นอาจารย์ใหญ่ แล้วเรื่องเงียบหายไป คณะครูไม่เข้าใจว่าเป็นเพราะอะไร ผมได้ศึกษาข้อมูลเรื่องนี้พอสมควร และทราบว่าบุคคลสำคัญที่ช่วยเหลือ เดินเรื่องในการดำเนินการขยายโรงเรียนและจัดหาที่ให้โรงเรียนนี้คือ ครูเชื้อ ศรีรสันติ์ เลขาสภาตำบลควนลัง ผมจึงเดินเรื่องทันที ไปดูสถานที่ ไปพบครูเชื้อ และเจ้าของท้องที่ และนายอำเภอหาดใหญ่ ซึ่งขณะนั้นคือคุณวิเชียร สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย เมื่อผมได้ข้อมูลคือจำนวนเด็กที่เข้าเรียนไม่ได้แต่ละปี สถานที่ที่จะขยาย ผมจึงวางแผนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปโดยเขียนแผนขั้นเคร่า ๆ


3 ปีแรก "ลูกญว แห่งที่๒" รับนักเรียนชั้นหลักสูตรเกษตร วช1 วช2 และวช3 และเปลื่ยนมาเป็นมัธยม1 และ2 ตามลำดับ ท่านอธิบดีกรมสามัญศึกษา อาจารย์รังสฤษฎิ์ เชาวนะศิริ ได้มาตรวจเยี่ยมโรงเรียน เมื่อท่านได้ตรวจสภาพทั่ว ๆ ไปของโรงเรียน และได้นำท่านไปดูสถานที่ที่จะขยายโรงเรียนแล้ว ก่อนท่านจะกลับท่านได้บันทึกไว้ในสมุดหมายเหตุรายวันของโรงเรียนมีใจความว่า "ให้ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ดำเนินการขยายโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยแห่งที่ 2 ให้แล้วเสร็จทันปีการศึกษาหน้า" คำว่าหาดใหญ่วิทยาลัยแห่งที่ 2 จึงเป็นที่มาของคำว่า ญ.ว.2

ข้อความที่ถูกบันทึกไว้ในสมุดหมายเหตุรายวันนั้นจะต้องคัดลอกส่งผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป คือผู้ว่าราชการจังหวัดและอธิบดี เพื่อทราบ จากบันทึกอันนี้ ทำให้พี่น้องชาวหาดใหญ่ยินดีปรีดาเป็นอย่างยิ่งเพราะเขาจะได้มี ญ.ว.2

หลังจากที่ผมได้ส่งข้อความในสมุดบันทึกหมายเหตุรายวันประมาณ 1 สัปดาห์ ทางจังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดได้เรียกประชุมเรื่องการจัดสรรที่ดินเพื่อใช้ในราชการ เมื่อถึงวันประชุมผมรู้สึกแปลกใจที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ ผู้อำนวยการการศึกษานอกโรงเรียน และเจ้าหน้าที่สนามบินหาดใหญ่ก็เข้าร่วมประชุมด้วย

เมื่อเปิดการประชุม ประธานที่ประชุมก็พูดถึงที่ดินแปลงที่เรากำลังจะขยายให้เป็น ญ.ว. แห่งที่ 2 นั่นเอง ผมชักงง นึกในใจว่า เอ๊ะถ้าเกิดเราพลาดท่าจะได้ที่ดินที่ไหน ที่ดินแปลงนี้มีประมาณ 120 ไร่ ทางจังหวัดให้แถลงโครงการที่จะใช้ที่ดินนี้ โดยให้ทางฝ่ายเทคนิคเป็นผู้แถลงก่อน ทางเทคนิคบอกว่าจะทำสถานีวิทยุของวิทยาลัย แต่ก็ถูกคัดค้านว่าตั้งไม่ได้เพราะใกล้สนามบิน

ทางฝ่ายสำนักงานการศึกษานอกโรงเรียนก็บอกว่าอยากได้แบ่งที่นั้นบ้างเพื่อทำเป็นสำนักงาน รู้ว่าค่อนข้างไกล แต่ไม่มีที่ที่หายาก ขณะนี้กำลังขอที่ที่ใกล้ค่ายทหาร ป.พัน 5 สวนตูล หากได้ที่ที่สวนตูลกก็ไม่เอา

ถัดไปผมก็ชี้แจงถึงความจำเป็นต้องขยายโรงเรียนเพราะจำนวนเด็กไม่ได้เข้าเรียนมีจำนวนมาก ผู้ปกครองเดือดร้อน และที่ดินแปลงนี้โรงเรียนต้องขอทั้งหมด เพราะโรงเรียนจะมุ่งให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนปฏิบัติการทางเกษตร มีการปลูกยาง ประมาณ 20% 30 ไร่ ยางนี้จะเป็นประโยชน์กับโรงเรียนตลอดไป ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ คือโคนม โดยขอความร่วมมือกับฝ่ายพัฒนาชุมชนที่ตั้งอยู่ติดกัน

อีกอย่างหนึ่งโรงเรียนได้ให้คำมั่นสัญญาตามที่สภาพตำบลขอคือ ทำสวนสาธารณะตรงบริเวณที่ติดถนน ตกลงจังหวัดเห็นด้วย และสั่งให้โรงเรียนส่งแบบแปลนแผนผังในการดำเนินงานให้กับจังหวัด 3 ชุด ภายในเวลาที่จังหวัดกำหนด คือ ประมาณ 15 วันหลังจากการประชุม

ผมกลับโรงเรียนนึกไปตลอดทางว่าจะทำอะไร จะเขียนอะไรบ้างชี้แจงเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินแปลงนี้ พอถึงโรงเรียนผลลงจากรถพบอาจารย์ธเนศ ณ สงขลา ก็เกิดความคิดขึ้นมาทันที ผมเชิญคุณธเนศไปคุยด้วย ทำแบบรูปสังเขปให้คุณธเนศเข้าใจว่าจะต้องขอร้องให้คุณธเนศช่วยทำพิมพ์เขียวให้ ร.ร.สัก 10 ชุด ภายในพิมพ์เขียวนั้นจะมีอะไรบ้าง คุณธเนศเข้าใจเพราะเป็นครูเขียนแบบอยู่แล้ว คุณธเนศก็สามารถทำได้เสร็จก่อนกำหนดเวลา ผมขอบคุณคุณธเนศเป็นอย่างมากที่เป็นผู้ช่วยให้เกิดความสำเร็จขึ้น เพราะถ้าไม่มีมาสเตอร์แปลนแยกที่ดิน ก็จะไม่อนุมัติ จึงนับว่าคุณธเนศมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ในที่สุดเราก็ได้ที่ดินโรงเรียน ญ.ว. แห่งที่ 2 สมความตั้งใจ กรมสามัญได้แต่งตั้ง คุณสุวิช ศรีทิพย์ราษฎร มาเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนนี้ ญ.ว.ได้เป็นพี่เลี้ยงอยู่ระยะหนึ่งในตอนแรกๆ สถานที่ศึกษาแห่งนี้ก็เป็นที่รู้จักกับพี่น้องชาวหาดใหญ่เป็นอย่างดี และนับวันจะเจริญรุ่งเรืองขึ้น เป็นประโยชน์แก่พี่น้องชาวหาดใหญ่สืบไป

หลังจากนั้นป็นต้นมาโรงเรียน โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย๒ เปิดทำการสอน มา3 ปีในยุคผู้อำนวยการวิลาพ อุทัยรัตน์ผู้บริหารท่านแรก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โรงเรียนจากอ้อมอก โรงเรียนผู้พี่ซึ่งให้การช่วยเหลือในทุกๆด้านไม่ว่า อาจารย์รุ่นแรก ซึ่ง ทำให้โรงเรียนมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว โดยมีการนำไปเทียบการโรงเรียนประจังหวัด ครูยุคนั้นทำงานทุ่มเทกันทั้งกายทั้งใจ ต้องมาร่วมมือกันบุกเบิก มาช่วยกันทำทุกเรื่อง  ทั้งด้านอาคาร สถานที่ จากนักเรียนรุ่นแรกเพียง 200 เพิ่มเป็น 3300 คนในปัจจุบัน" ผอ.วิลาพ อุทัยรัตน์ กล่าวคือสัดส่วนจำนวนนักเรียนและครูที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่มีอาคารเรียนหลังคามุมจาก มาเป็นอาคารเรียนกึ่งถาวร จนกลายมาเป็น อาคารเรียนเด่นตระหง่าน หลายๆอาคาร พร้อมวิชาการการมาตรฐานก้าวกระโดดผิดจากโรงเรียนอื่นๆซึ่งมีการพัฒนาอย่างปกติ กลายเป็นโรงเรียน "ยอดนิยม" ติดอันดับ "1 ใน 5" ของจังหวัดสงขลา และอันดับต้นๆของภาคใต้ ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองดิ้นรนอยากให้ลูกหลานเข้ามาเรียนหนังสือ ชนิดที่เรียกได้ว่าในยุค "ผอ.บุปผา มณีพรหม"(ปัจจุบันผู้อำนวยการโรงเรียนวรนารีเฉิลม) เป็น ผู้อำนวยการท่านที่2 การสมัครสอบเข้ามัธยมศึกษาปีที่ 1 มากซึ่งเทียบการโรงเรียนอื่นๆในจังหวัดสงขลา ทั้งที่โรงเรียนเพิ่งก่อตั้งมาได้เพียง 14 ปี นับเป็นเวลาอันสั้นมาก หากเทียบประวัติศาสตร์ถึง 60ปี หรือ100 ปี ของบางโรงเรียน ยุคนี้กล่าวได้ว่า โรงเรียนได้ขยายจำนวนสุดขีดจนเป็นโรงเรียนยอดนิยมหาดใหญ่วิทยาลัย2 มีอายุเพียง 12 ปีในขณะนั้น พัฒนาถึงขั้นโรงเรียนยอดนิยมในปี พ.ศ. 2550 "ญว๒" เจริญรุ่งเรืองมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยผู้บริหารที่เข้ามารับช่วงต่อแต่ละท่าน ต่างรับ "ไม้ผลัด" กันได้เป็นอย่างดี มีการสานต่องานเก่าและริเริ่มพัฒนางานใหม่อยู่ตลอดเวลา เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาในทุกๆ ด้าน แต่ที่โดดเด่นคือความเป็นนักประสานร่วมมือในการทำงาน โดยผลัดเปลื่ยนมาถึง ผู้อำนวยการท่านที่3 อาจารย์ผ่องศรี เรืองดิษฐ์ สร้างโรงเรียนเป็นแห่งเรียนทางวิชาการอย่างเข้มข่น ก้าวสุ่ปีการศึกษาปัจจุบัน ดร.พิมพ์มาส รังสรรค์สฤษดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 ท่านปัจจุบัน เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษา ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่6 ปัจจุบันได้ดำเนินงานบริหารจัดการศึกษา ตามแนวปฏิรูปการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการบริหารจัดการเรียนรู้ด้วยระบบICT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาคุณภาพตามนโยบายห้องเรียนคุณภาพ และโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประเภทสถานศึกษาขนาดใหญ่ ปี 2550 อีกด้วย นับเป็นสถานศึกษาแห่งใหม่ ที่ผลิตนักเรียน ให้เป็นประชาชนที่ดีของประเทศชาติ ตลอดจนเป็นเยาวชนที่ใฝ่เรียนรู้การศึกษาของอำเภอหาดใหญ่

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน