มูลนิธิชุมชนสงขลา "ร่วมหารือ" งานชุมนุมคนดีศรีสงขลา

by Knock Knock @11 ส.ค. 52 11:07 ( IP : 118...185 ) | Tags : กิจกรรม

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2552 เวลา 17.00 ณ โรงแรมสิงห์โกลเด้นเพลส มูลนิธิชุมชนสงขลา "ร่วมหารือ" งานชุมนุมคนดีศรีสงขลากับท่านบัญญัติ จันทน์เสนะ ประธานกรรมการมูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ

คุณชิต สง่ากุลพงศ์ กล่าวแนะนำกรรมการมูลนิธิชุมชนสงขลา ชี้แจงประเด็นในการหารือเรื่อง 1. กำหนดการการชุมนุมคนดีศรีสงขลา  2. Global Fund for Community Foundation ให้ทุนในการสนับสนุนมูลนิธิชุมชนทั่วโลก

คุณชาคริต โภชะเรือง นำเสนอเรื่องการดำเนินงานของมูลนิธิชุมชนสงขลา ซึ่งฐานคิดมาจาก 2 ภาคส่วน คือ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ในมุมของภาคประชาสังคมนั้นซึ่งภารกิจหลักคือ การเชื่อมร้อยภาคประชาชนในพื้นที่โดยใช้แผนสุขภาพจังหวัด ซึ่งหมายถึงความสมดุลทางกาย ใจ ปัญญา มีทั้งหมด 14 เครือข่าย โดยเอาปัญหาของพื้นที่เป็นตัวตั้ง และมีแกนหลักเพื่อประสานงาน โดยมีภาคท้องถิ่น ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน แต่ละประเด็นจะไปหลอมรวมกับหน่วยงานจังหวัด นอกจากนั้นยังทำแผนสุขภาพตำบลเพื่อเชื่อมกับเครือข่ายระดับตำบล ทั้งหมดนี้มีโมเดลปีกผีเสื้อเป็นแนวคิดของการทำงาน โดยทั้งหมดใช้งานสมัชชาสุขภาพจังหวัดเป็นตัวเชื่อม ซึ่งทั้งหมดนี้ยังพึ่งแหล่งทุนจากข้างนอก จึงเป็นที่มาของมูลนิธิชุมชนที่มีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะพึ่งตนเองในระยะยาว โดยส่งเสริมในเรื่องของการให้ สร้างอาสาสมัครในชุมชน และอีกด้านหนึ่งคือ นโยบายสาธารณะโดยมูลนิธิชุมชนสงขลาเป็นตัวหลอมในพื้นที่ทั้งเชิงประเด็น เชิงพื้นที่ และการเมือง 


หลักการของมูลนิธิชุมชนโดยรวมคือ เอาพื้นที่เป็นตัวตั้งและใช้ทุนหนุน มูลนิธิชุมชนสงขลามีหน้าที่ระดมทุนและกระจายทุน แต่มิใช่ผู้ปฏิบัติ เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ให้และผู้รับ ซึ่งสร้างการอยู่ร่วม ร่วมคิด ร่วมทุน ร่วมทำ

แผนการขับเคลื่อนมูลนิธิชุมชนสงขลา

  • แผนที่ทางสังคม (Social Mapping) ระยะที่ 2 การเชื่อมโยงกับเครือข่ายมูลนิธิอื่นๆ ในการจัดการระหว่างผู้ให้กับผู้รับว่าต้องการอะไรบ้าง ต้องการเสริมศักยภาพอย่างไร เพื่อช่วยยกระดับมูลนิธิในพื้นที่

  • การระดมทุน ทั้งในระดับบุคคล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกส่วนคือ การกระจายทุน โดยเป็นโครงการย่อยๆ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็ก

  • การสร้างทีมอาสาสมัคร ส่งเสริมการทำงานเพื่อสังคม ขณะเดียวกันก็จับมือกับนิด้าเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อยกระดับการทำงานของเครือข่ายมูลนิธิด้วย

  • การทำเว็ปไซด์เป็นระบบ 2 ภาษา การทำฐานข้อมูลทั้งผู้ให้และผู้รับ

ท่านบัญญัติ จันทน์เสนะ เสนอการทำแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของจังหวัดสงขลา จะได้ความชัดเจนและครอบคลุมคนในจังหวัดตั้งแต่เกิดจนตาย โดยเรามีหน้าที่เป็นฝ่ายเสนาธิการ ฝ่ายยุทธศาสตร์ หลอมรวมความคิดเห็นในการพัฒนา และเสนอแนะว่าสำนักงานและศูนย์ข้อมูลต้องมาก่อน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการคิด และเมื่อเรามีแผนงานขึ้นมาแล้ว เราจะทำอย่างไรให้คนทั้งบ้านทั้งเมืองรู้ คนในจังหวัดสงขลาต้องรู้ถึงกลไกในการทำงานร่วมกัน ท้องถิ่นรู้ รัฐรู้ ภาคประชาสังคมรู้ เพื่อจะสามารถแบ่งการทำงานได้ชัดเจน ทรัพยากรในพื้นที่ของเรามีมากมายควรจัดระเบียบเพื่อประโยชน์ในการใช้งาน

หมอสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ กล่าวว่า เราสามารเชื่อมโยงกับชุมชนได้พอสมควร แต่การเชื่อมกันระหว่างมูลนิธิด้วยกันยังไม่เกิด

คุณชาคริต โภชะเรือง กล่าวว่า ในส่วนของสื่อนั้น มีฐานของผู้สื่อข่าวชุมชนอยู่ บินหลาหาข่าว สื่อท้องถิ่น สื่อเคเบิล บางพื้นที่ทดลองทำทีวีออนไลน์ และต่อไปจะพัฒนาเป็นทีวีชุมชน แต่เรายังขาดในส่วนของ Mass Media และมีฐานข้อมูลในส่วนของตัวบุคคลและสถานการณ์

ท่านบัญญัติ จันทน์เสนะ เสนอแนะว่าเราควรจะทำให้สำนักงานแข็งแรงแล้วบทบาทของมูลนิธิจะมาเอง โดยท่านบัญญัติจะเป็นผู้เชื่อมโยง เช่น การทำแผนพัฒนาทัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา ร่วมกับฝ่ายวิชาการ สำนักงานจังหวัด มูลนิธิชุมชนสงขลา มูลนิธิเฉลิมเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะถือเป็นแผนการทำงานของมูลนิธิต่างๆ  ส่วนที่ 2 การแนะนำมูลนิธิชุมชนสงขลา เน้นเรื่องการทำความเข้าใจถึงแนวความคิดแบะบทบาทของมูลนิธิชุมชนสงขลา ส่วนที่ 3 การระดมทุนเบื้องต้นควรจะมาพัฒนาสำนักงานก่อน และมูลนิธิชุมชนสงขลาเข้าไปเชื่อมโยงกับเครือข่ายมูลนิธิ สมาคมต่างๆ

คุณอรัญ จิตเสโน เสนอแนะว่า ทรัพยากรมนุษย์มองในเชิงคุณค่าที่อยู่ในตัวคน วัฒนธรรม ภูมิปัญญา บุคลากรทุกคนมีคุณค่า แต่เราต้องใช้ให้เป็นใช้ให้ถูก

ท่านบัญญัติ จันทน์เสนะ เสนอแนะว่า อยากเห็นแนวทางของการพัฒนาจังหวัดสงขลา ในการพัฒนาคนตั้งแต่เกิดจนตาย หน้าที่หลักของมูลนิธิชุมชนสงขลาเป็นผู้เชื่อมโยงในการทำงานร่วมกันในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในจังหวัดสงขลา

ให้ทางมูลนิธิชุมชนโดยคุณชาคริต ไปยกร่างแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มานำเสนอ เพื่อหาข้อสรุปในการดำเนินการต่อไป

สรุปประเด็นเสนอแนะเพิ่มเติม

  • ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลาเพื่อเป็นกรอบแนวทางดำเนินงานทั้งเชื่อมโยงทรัพยากร เครือข่ายมูลนิธิ และการสร้างองค์ความรู้ ในการทำแผนมีกรอบเวลาทั้ง 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

  • เพิ่มศักยภาพในด้านองค์ความรู้ โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในการจัดทำหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง (หลักสูตรขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร)

  • ฝ่ายเสนาธิการ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของสำนักงานจังหวัด ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ภาคท้องถิ่น

  • สร้างเครือข่ายระหว่างมูลนิธิ สมาคมต่างๆ

  • จัดการประชุมทำแผนยุทธศาสตร์ประจำปีของมูลนิธิชุมชน ทีม 1 เพื่อการระดมความคิดเห็นในการ(ร่าง)แผนยุทธศาสตร์ ทีม 2 ระดับ Senior citizen

  • หาทีมอาสาสมัครในประเด็นต่างๆ เช่น บุคคลกรทางด้านภาษา

การจัดงานชุมนุมคนดีศรีสงขลา

  • การจัดงานชุมชนคนดีศรีสงขลา เป็นสรุปบทเรียน 8 ปีที่ผ่านมา ของคนดีศรีสงขลาที่รับโล่และเข็ม
  • มีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การมอบทุนการศึกษา จัดนิทรรศการเกี่ยวกับผลงานของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผลงานของมูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ

  • ระบบข้อมูลยังไม่ครอบคลุม

  • ปรับปรุงเรื่องระบบการสรรหาของปีต่อไป

  • การจัดทำสมุดอวยพรพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

  • จัดทำแบบสอบถามประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ผลงานดีเด่น แนวคิดและปรัชญาในการทำงาน ของคนดีศรีสงขลา

  • ติดตามเรื่องทะเบียนคนดีศรีสงขลา

  • การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็ปไซด์มูลนิธิชุมชนสงขลา

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน