"สู่ก้าวต่อไปคนดีศรีสงขลา"

by Knock Knock @14 ก.ค. 52 12:18 ( IP : 118...99 ) | Tags : กิจกรรม
photo  , 300x225 pixel , 63,918 bytes.

เวที "สู่ก้าวต่อไปคนดีศรีสงขลา" จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมลีการ์เดนท์ หาดใหญ่ โดยความร่วมมือของ มูลนิธิ้รารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิชุมชนสงขลา ศูนย์สาธารณะประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คนดีศรีสงขลาที่ได้รับโล่ และเข็ม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544-2551 โดยการจัดเวทีชุมนุมคนดีศรีสงขลาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องเชิดชูคนดี เผยแพร่ผลงานให้สาธารณชนรับรู้ และสร้างการมีส่วนร่วมนำเสนอแนวทางเชิดชูคนดีศรีสงขลา โดยเชิญคนดีศรีสงขลาทั้ง 5 กลุ่มประเภท และผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 58 ท่าน มาร่วมเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น

เปิดงานด้วยการต้อนรับและทักทายผู้เข้าร่วม โดย ประธานมูลนิธิชุมชนสงขลา ต่อจากนั้นท่านบัญญัติ จันทน์เสนะ ประธานมูลนิธิชุมชนเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ กล่าวเปิดการประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมครั้งนี้ โดยกล่าวว่า "มูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติได้ดำเนินการสรรหาคนดีศรีสงขลามาเป็นระยะเวลา 8 ปี ได้มีการนำเรื่องเข้าที่ประชุมประจำปีของคณะกรรมการในทุกครั้ง ว่าสิ่งที่ทำไปแล้วนั้นควรมีการทบทวน หรือมีอะไรที่ควรปรับปรุงถึงแนวคิดและวิธีการสรรหาคนดี และพยายามที่จะรับฟังเสียงที่สะท้อนกลับมาด้วย มูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติเกิดขึ้นในช่วงพิธีกาญจนาภิเษก  โดยใช้แนวความคิดของการให้ความรักกับแผ่นดินที่เราอาศัย ที่เราทำมาหากิน โดยอธิบายได้ว่าเมื่อเรารักอะไรสักอย่างเราก็จะรู้สึกหวงแหน เราต้องทำสิ่งที่ดีงามให้กับแผ่นดินนี้  เราเป็นคนสงขลา เรารักสงขลา เราต้องช่วยทำให้สงขลามีความเจริญ จึงนำส่วนนี้มาเป็นแนวคิดในเชิงปรัชญาในการตั้งมูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ เมื่อก่อตั้งมูลนิธิขึ้นมาแล้วก็คิดว่าจะดำเนินการอะไรบ้าง เพราะในสังคมการอยู่ร่วมกันมันจะมีคนอยู่ส่วนหนึ่ง ที่บางครั้งเขาก็ไม่อยากได้ผลตอบแทนอะไรจากการทำความดี เราจึงคิดว่าคนเหล่านี้เราจะให้กำลังใจเขาอย่างไร ในขณะที่เขาไม่ได้หวังอะไรแต่เขาก็ทำคุณประโยชน์เพื่อสังคม จึงสอดคล้องกับแนวคิดในเชิงปรัชญาโดยให้มูลนิธิเป็นตัวแทนของสังคม โดยเริ่มต้นรูปแบบการสรรหาคนดีศรีสงขลา ซึ่งจากการเริ่มต้นได้กำหนดมา 4 ประเภท ได้แก่ ข้าราชการ นักธุรกิจ เยาวชน เกษตรกร ซึ่งได้ดำเนินการทำมาเป็นระยะเวลา 8 ปี  ก้าวต่อไปคนดีศรีสงขลาจะเริ่มต้นต่อไปในวันนี้ เพื่อจะช่วยระดมความคิด โดยที่เราจะทำหน้าที่แทนสังคมในการที่จะให้กำลังใจคนดีที่เขาได้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมได้อย่างไร ซึ่งใครก็แล้วแต่ที่ทำประโยชน์ให้แก่สังคมควรให้กำลังใจ และได้รับยกย่อง เพื่อที่จะให้สังคมเรามีความดีเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ อยากจะให้คนใส่ใจซึ่งกันและกัน ช่วยกันดูแลสังคม ส่วนรวม"

คำอธิบายภาพต่อจากนั้นเป็นการจุดประกายความดีและเพิ่มความรู้ โดย ดร.จุรี  วิจิตรวาทการ  ผู้อำนวยการศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาคม กล่าวว่า สังคมไทยมาถึงจุดค่อนข้างวิกฤต เรามีความแบ่งแยก มีปัญหาในสังคมสารพัด ความไม่สงบเงียบ มีความขัดแย้งทางความคิด ทางการเมือง และที่สำคัญสังคมไทยยังเข้าสู่วิกฤตไม่รู้ความดี ความไม่ดี รู้สึกว่าปัจจุบันนี้ทุกอย่างคลุมเครือไปหมด สิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่ไม่ถูกต้อง สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม กลายเป็นว่าสังคมมีความสับสนและไม่มีชัดเจน ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาอย่างยิ่ง คนดีในปัจจุบันนั้นต้องเผชิญกับปัญหาหลายอย่างแทบจะไม่มีพื้นที่ให้คนดีได้ยืนอย่างสง่างามเท่าไรนัก เพราะกระแสต่างๆ ทำให้ทุกฝ่ายคลุมเครือไปหมด ในส่วนผลกระทบต่อคนดีมีหลายมิติ ได้แก่ 1. นอกจากเผยแพร่ความดีแล้ว จะต้องให้กำลังใจเพราะคนดีนั้นถูกกระทบจากทุกอย่าง ถ้าเราดีมากคนอื่นก็จะอิจฉา เกิดการโจมตีบ้าง ถูกกล่าวหาบ้าง ถูกใส่ร้ายป้ายสีบ้าง การที่เราไม่มีกลุ่ม ไม่มีองค์กรที่จะช่วยสนับสนุนคนดี คนดีอาจจะรู้สึกท้อแท้ เราจะทำอย่างไรถึงจะมีกลไกให้คนดีทำความดีอย่างต่อเนื่อง เรื่องนี้เป็นเรื่องท้าทายสำหรับ 2 มูลนิธิที่จะสร้างกลไกให้คนดีสามารถมาช่วยกันทำความดีได้ ให้สังคมได้เห็นความดี

สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกมีหลากหลายประเภท ใช้วิธีเปิดกว้างให้มีการเสนอเกณฑ์ใช้ตัดสินเปิดเผย โปร่งใส่ในทุกหมวด น่าจะทำให้สังคมมีความพึงพอใจมากขึ้นเกี่ยวกับรางวัล ทำอย่างไรที่จะให้วิธีการได้มาในการระดมความคิดเห็นจากหลายภาคส่วน? ให้เปิดกว้างในการรับความคิดเห็นทางเว็บไซด์ ทางจดหมาย เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในการระดมความคิด ให้ประชาชนหรือตัวแทนประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการตอนต้น เพื่อวิธีการที่โปร่งใสและมีขั้นตอนที่ชัดเจน และได้กล่างถึงการก่อตั้งมูลนิธิชุมชนสงขลาว่า "การก่อตั้งมูลนิธิชุมชนสงขลานั้น สงขลาเป็นจังหวัดที่กระตือรือร้นที่จะทำมูลนิธิชุมชนสงขลา โดยนิด้าเป็นเพียงผู้กระตุ้นเท่านั้น การตกผลึกทางความคิดต่างๆ เป็นคนใน จ.สงขลาที่คิดจะทำและรับภาระตรงนี้ไปสานต่อและก่อให้เกิดมูลนิธินี้ขึ้นมา ซึ่งเราได้นำแนวคิดต่างๆ จากมูลนิธิชุมชนในต่างประเทศมาเชื่อมโยงกับบริบทต่างๆ ให้สอดคล้องกับพื้นที่ จ.สงขลา ในการระดมทุนกระจายทุนในการช่วยเหลือสังคม ในการมีจิตสาธารณะร่วมกันของคนในสังคม"

ต่อจากนั้นเข้าสู่ "คนดีศรีสงขลาเปิดใจคุยกัน" โดยคุณไอศูรย์ ภาษยะวรรณณ์ วิทยากร โดยใช้กระบวนการ Cheack in ซึ่งเป็นการเปิดใจให้ทุกคนได้เรียนรู้ความคิดเห็นของผู้อื่น ที่เหมือนหรือแตกต่างกัน ยิ่งถ้าเป็นความคิดที่แตกต่างกัน เราจะได้หัดอ่านความคิดเขา ท่าทางเขา อ่านไปจนถึงสภาพจิตใจของเขา อ่านกระบวนทัศน์ของเขา เราจะได้ประโยชน์อย่างมาก และกว่าเราจะไปถึงกระบวนการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เห็นความสำคัญกับผู้ที่เข้าร่วมทุกคน ใจเราจะต้องนิ่ง กระบวนการ Cheack in จะมีหลายรูปแบบ เช่น นั่งหลับตา นั่งทำสมาธิ หายใจยาวๆ ลักษณะนี้จะเป็นวิธีการทั่วไป แต่ครั้งนี้จะเป็นการดูคลิปวิดีโอสั้นๆ หากทุกคนตั้งใจดูด้วยความนิ่ง และใช้สติเข้าไปตรงนี้ "จากนี้เป็นการเปิดคลิปวิดีโอให้ดู 1 เรื่อง ต้องดูด้วยความตั้งใจ มีสมาธิ ตั้งใจฟัง ตั้งใจจับประเด็น ตั้งใจสังเกตความรู้สึกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อดูจบให้ทุกคนเขียนไฮกุ (บทกลอน) 3 บรรทัด ให้สะท้อนความรู้สึกจากการชมคลิปวิดีโอของคนที่ได้ชื่อว่าเป็นคนดีทั้งที่ไม่มีแขนไม่มีขา แต่ทำความดีได้มากมากอเนกอนันต์ โดยให้คนดีศรีสงขลาเปิดหัวใจคุยกันแสดงความรู้สึก (Check in) ผ่านบทกลอน"

คำอธิบายภาพ

หลังจากนั้นให้หาเจ้าภาพประจำโต๊ะเป็นผู้รวบรวมบทกลอน นั่งประจำที่โต๊ะเดิม ส่วนคนอื่นๆ ให้สลายกลุ่มแยกย้ายไปนั่งโต๊ะอื่นตามชอบใจ แล้วให้เจ้าภาพประจำโต๊ะต่างๆ อ่านบทกลอนที่รวบรวมไว้ให้ทุกคนๆในโต๊ะฟัง

จากการถอดรหัสคนดีศรีสงขลา ยังมีอะไรอีกหลายอย่างที่ต้องปรับปรุง เชื่อมโยง ให้เกิดการขับเคลื่อนสังคมในจังหวัดสงขลา ด้วยเรื่องดีๆ คนดีๆ มากกว่านี้ จึงเปิดวงเสวนากลุ่มย่อย 4 กลุ่ม (World cafe) โดยมี 2 ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ท่านมีแนวคิดและวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อยกย่องให้คนดีศรีสงขลาที่ดีที่สุดได้อย่างไร?  และ ท่านจะส่งเสริมให้คนดีศรีสงขลา มีโอกาสทำความดีได้มากขึ้นและเป็นแบบอย่างได้อย่างไร? ซึ่งทุกคนมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ต่อยอดความคิดซึ่งกันและกัน

ซึ่งจากเวที "สู่ก้าวต่อไปคนดีศรีสงขลา" มีบทสรุปเบื้องต้นที่สำคัญ 5 ประการคือ

1.กรอบคิดเรื่องคนดี

  • ความหมายของคนดี คือ เน้นที่ความดี ไม่เน้นความเก่ง
  • เน้นคนดีที่ดีสะสมต่อเนื่อง  มากกว่าคนที่ดีเด่นดังชั่วคราว
  • การสรรหาควรต้องได้คนดีที่เป็นคนธรรมดาที่ไม่เคยได้รับรางวัลมาด้วย  เพื่อส่งเสริมความดีของคนธรรมดา

2.ระบบการคัดเลือก

  • ให้มีกลไกการเสนอชื่อจากหลายทาง  ให้กว้างขวางทั้งจากหน่วยงาน จากระดับอำเภอ และบุคคลเสนอมา แต่แนวคิดการไม่รับพิจารณากรณีเสนอชื่อตนเองนั้นยังน่าใช้ต่อไป
  • ปรับปรุงกฏเกณฑ์ คุณสมบัติ ให้ครอบคลุมทั้งคนดีระดับชาติและคนดีในท้องถิ่น
  • กลวิธีที่น่าสนใจคือ การคัดเลือกให้เหลือน้อยคน  แล้วมีทีมลงไปสัมภาษณ์จริง  ทั้งบุคคลนั้นและสัมภาษณ์จากบุคคลที่เคยร่วมงานด้วย
  • มีคำถามที่ยังไม่มีคำตอบกรณีที่ หากคนดีที่ได้รับการเสนอชื่อ ไม่ขอรับเกียรติยศนี้ ด้วยเห็นว่าตนไม่ได้ยึดติดกับลาภ ยศ สรรเสริญ แล้วจะทำอย่างไร

3.กิจกรรมในวันมอบรางวัล

  • จากเดิมที่มีเพียงการอ่านชื่อแล้วขึ้นรับมอบนั้น  ควรเปลี่ยนให้มีการอ่านประกาศเกียรติคุณก่อน ว่ามีความดีอย่างไรแล้วจึงขึ้นรับมอบ
  • จัดเวลาให้ผู้ที่ได้รับโล่ได้พูดแสดงความรู้สึก
  • ควรทำหนังสือประวัติ ความคิด คนดีศรีสงขลาประจำปีนั้นๆแจก เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักคนดีคนนั้น

4.การเชิดชูและส่งเสริมคนดี

  • มิติด้านสื่อ  ควรมีการขยายผลความดีด้วยสื่อทุกประเภท  ได้แก่

    • สื่อด้านการเผยแพร่เช่น รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์

    • สื่อด้านฐานข้อมูล  ควรมี website ที่รวบรวมประวัติ เผยแพร่กิจกรรม ความเคลื่อนไหวของคนดีคนนั้น

  • มิติด้านการขยายผล

    • หาโอกาสในการเชิญคนดีได้ไปเป็นวิทยากร

    • ควรมีการสนับสนุนงบประมาณตามสมควร เพื่อให้คนดีคนนั้นสามารถนำเงินก้อนนี้ไปขยายรูปธรรมความดีที่ทำอยู่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

  • มิติด้านการสร้างเครือข่ายคนดี

    • ตั้งเป็นเครือข่ายหรือชมรมที่มีกิจกรรมที่ทำร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

    • จัดทำทำเนียบคนดีศรีสงขลาให้เป็นเอกสารสำคัญ

5.ความสัมพันธ์ระหว่างคนดีศรีสงขลากับมูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ

  • กรรมการมูลนิธิควรมีการไปเยี่ยมคนดีที่ได้รับรางวัลบ้าง แม้จะไม่ทุกคนก็ตาม

  • ควรมีการติดต่อข่าวคราวจากมูลนิธิอย่างสม่ำเสมอ เช่น สคส. จดหมายข่าว  การ์ดอวยพรวันเกิดเป็นต้น

  • ควรมีคณะทำงานที่ทำงานต่อเนื่องไม่เฉพาะช่วงที่มีการคัดเลือกคนดีเท่านั้น

มุมสะท้อนจากวงเสวนา

  • เราจะทำอย่างไรให้คนดีเป็นแบบอย่างให้กับคนรุ่นหลัง

  • อยากให้คนดีกลับมาบอกว่าหลังจากที่ได้รับรางวัลไปแล้ว ใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง

  • รางวัลชูเกียรติของคนดี อาจจะให้เป็นรางวัลที่มีลักษณะเดียวกันทั้งหมด เช่น เหรียญชูเกียรติคนดี......

Comment #1คนดีศรีสงขลาประกาศผลหรือยังคะ
อัจฉราพร คงมี (Not Member)
Posted @3 ส.ค. 52 20:36 ip : 222...154

555

Comment #2คนดีศรีสงขลา ปี46
นายสุเมธ คงเสือ (Not Member)
Posted @10 พ.ย. 52 21:02 ip : 118...16

1

Comment #3น่าเสียดาย ! ถ้าไม่ได้เปิดดู....
สุริสา (Not Member)
Posted @19 พ.ย. 53 15:34 ip : 122...20

555

Comment #4แนะนำทิพยสถานธรรม เกาะยอ จ.สงขลา
สุริสา (Not Member)
Posted @19 พ.ย. 53 15:37 ip : 122...20

555

Comment #5อยากรับข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหว คนดีศรีสงขลา
นายสุเมธ คงเสือ (Not Member)
Posted @13 ก.พ. 56 13:43 ip : 58...194

อยากให้มีการเชิญผู้ที่ได้รับรางวัลคนดีศรีสงขลาทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรม และจะติดต่อประสานงานใครบ้างที่เป็นผู้นำ ขอเบอร์ติดต่อด้วยครับ ส่งไปที่ E-mail: sumeth44@gmail.com

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน