"ประชุมกลุ่มย่อยผู้รับบริการ" พื้นที่ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง

photo  , 1706x960 pixel , 148,497 bytes.

"ประชุมกลุ่มย่อยผู้รับบริการ" พื้นที่ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง

วันที่ 9 มกราคม 2568 โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบระบบบริการรถรับส่งสาธารณะรับส่งผู้ป่วยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ม.ราชภัฎสงขลา จัดประชุมกลุ่มย่อยพัฒนาระบบบริการรถรับส่งสาธารณะผู้ป่วยพบแพทย์พื้นที่ตำบลควนโส มีผู้เข้าร่วม 31 คน ณ ห้องประชุมรพ.สต.ควนโส ประกอบด้วยญาตผู้ป่วย ผู้ป่วย อสม. รพ.สต. ทีมงานม.ราชภัฎ ทีมงานมูลนิธิชุมชนสงขลา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนโส มีผู้มารับบริการทั่วไป
ปี 2564 จานวน 2,095 คน

ปี 2565 จำนวน 2,179 คน

ปี 2566 จานวน 2,315 คน

ปี 2567 จานวน 2,469 คน

โดยมีการส่งต่อ รวมทั้งสิ้น 173 คน และปี 2567 มีกลุ่มเปราะบาง จำนวน 17 คน ที่มีความต้องการรถรับ-ส่ง เพื่อส่งต่อไปยังสถานพยาบาลปลายทาง(รพ.หาดใหญ่) โดยสรุปแล้วจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะจากโรคเรื้อรัง แถมอายุน้อยลงเรื่อยๆ

ทั้งนี้ผู้ป่วยจะมาตรวจรักษาที่รพ.สต.ในพื้นที่ (2แห่ง) หรือไปรพ.ควนเนียง มีการส่งต่อไปรพ.หาดใหญ่ และผู้ป่วยไปรพ.หาดใหญ่ มีการส่งกลับมาให้รพ.ควนเนียงและรพ.สต.ดูแล

เดิมการเดินทาง จะมีรถประจำทางคือรถตู้ปากจ่า-ปากพะยูน ไปหาดใหญ่ ออกทุกครึ่งชั่วโมง ภายหลังลดจำนวนลง เนื่องจากรถหมดอายุการใช้งาน ปัจจุบันมีรถตู้ 3 คัน รถสองแถว 3 คัน ผู้ป่วยจะเดินทางมาขึ้นที่คิวรถที่อำเภอควนเนียงหรือปากจ่าหรือรอขึ้นกลางทาง ซึ่งมีความล่าช้า รถมาไม่ตรงเวลา ผู้ป่วยบางส่วนเลือกการเหมารถไปรพ.ด้วยตัวเองหรือไปกับญาต ราคาเหมา 1200 บาท ไปตั้งแต่ 6 โมงเช้า กลับ 6 โมงเย็น เพื่อให้ทันเวลานัดหาหมอ ผู้ป่วยกลุ่มนี้รวมจิตเวช/ยาเสพติด พิการไปด้วย

ในส่วนบริการสาธารณะ มีรถ EMS อยู่ 2 คัน ค่ือที่รพ.ควนเนียงและที่ตำบลบางเหรียง แต่ก็มีรถตู้ของวัด 3 คััน มีรถในหมู่บ้านที่พร้อมให้รับเหมาอยู่ 2 คน(อาจมีอีก)

ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ ไปพบหมอที่รพ.ควนเนียง มีบางส่วนถูกส่งต่อไปยังรพ.หาดใหญ่ เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น รพ.หาดใหญ่พยายามส่งกลับมาให้พื้นที่ดูแลให้มากที่สุด รพ.ควนเนียงก็มีระบบรักษาทางไกลเป็นทางเลือก

หลังจากทีมงานได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบรับส่งสาธารณะ มีข้อสรุปดังนี้

1.เก็บข้อมูลจำนวนผู้ป่วยไปรพ.ควนเนียงและรพ.หาดใหญ่ให้มีความชัดเจน แยกประเภทผู้ป่วย ความถี่ในการนัดพบแพทย์ รถที่ใช้เดินทาง รวมถึงความพร้อมในการเดินทางจากบ้านไปยังคิวรถ โดยอสม.และรพ.สต.ร่วมกันดำเนินการ

2.จัดระบบบริการ มีข้อเสนอแนะดังนี้

2.1 กรณีผู้ป่วยทั่วไป ที่ช่วยตัวเองได้ ประสานภาคเอกชน จากภายนอกมาให้บริการ หรือ

2.2 จัดระบบบริการภายในชุมชน จัดหาคนขับ หรือรถที่พร้อมให้บริการ และขอความร่วมมือใช้รถตู้ของวัดที่มีมาส่งต่อ กรณีไม่มีญาตดูแล จะมีการฝากฝังเพื่อนบ้านที่เดินทางไปด้วย โดยดูผลของข้อมูลความต้องการ นำมาจัดรถและคิวนัดหมาย โดยมีรพ.สต.ทั้ง 2 แห่งเป็นศูนย์ประสานงานการส่งต่อผู้ป่วย เช่น เฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 วัน

-เดินทางจากตำบลควนโส ขึ้นรถที่รพ.สต.ควนโสและบ้านกลางไปรพ.หาดใหญ่

-ราคา 200 บาทต่อคน ราคาเหมา 1200 บาทรวมน้ำมัน หรือ 500 บาท(เติมน้ำมันให้)

-นัดหมาย ปรับเวลาการนัดร่วมกันระหว่างรพ.สต.ในพื้นที่กับรพ.หาดใหญ่/รพ.ควนเนียง

-จัดหารถรับส่งจากบ้านไปส่งยังคิวรถที่รพ.สต.

2.3 กรณีคนพิการ หรือผู้ป่วยในภาวะพึ่งพิง ประสานงานอปท.คืออบต.ควนโส ประกาศสิทธิ์ผู้มีสิทธิ์ใช้บริการ เบิกจ่ายตามสิทธิ์ที่สปสช.อนุมัติ 350 บาทต่อคน/ครั้ง และเหมา 2000 บาทต่อครั้ง กรณีนี้อบต.มีเจ้าหน้าที่ 1 คน ให้รอความพร้อมของระบบหรือมีตัวอย่างที่อื่นดำเนินการแล้ว ค่อยนำมาปรับใช้ต่อไป (อบจ.สงขลาจะประสานจัดทำในพื้นที่นำร่อง คือ อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอเทพา อำเภอนาทวี ในการบริการผู้ป่วย IMC และมะเร็ง)

2.4 พัฒนาระบบนัดหมาย จองคิว ผ่าน line OA เชื่อมโยงการทำงานระหว่างศูนย์ประสานงานในพื้นที่(รพ.สต.)และอบจ.สงขลา การประสานงานผู้เข้าร่วมต้องการใช้ทั้งโทรศัพท์และline โดยมีอสม.เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก

2.5 พัฒนา CG หรือผู้ช่วยบริการ ปัจจุบันยังมีไม่เพียงพอ รวมถึงการให้ความรู้การดูแลสุขภาพพื้นฐานแก่ประชาชน ลดจำนวนผู้ป่วย หรือการเฝ้าระวังผู้ป่วยกรณี stroke

2.6 พึ่งตนเองในอนาคต อาศัยฐานความสัมพันธ์ในชุมชน จัดระบบบริการแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายใน ร่วมกับวัด ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชน ระดมทุนจัดตั้งกองทุนกลางเพื่อการบริการผู้ป่วย ทั้งในส่วนเงิน อุปกรณ์ประจำรถ หรือรับบริจาครถ

นัดหมายครั้งต่อไป 15 มค.เวลาบ่ายตรง เชิญ สสอ. รพ.ควนเนียง รพ.สต. ผญ.ทั้ง 11 หมู่บ้าน วัด 3 วัด อบต.สหกรณ์ฯ ระดมความเห็นพัฒนาระบบต่อไป

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน