"ชุมชนแหลมสนอ่อนกับการรับมือความเสี่ยงด้านสุขภาพ"
"ชุมชนแหลมสนอ่อนกับการรับมือความเสี่ยงด้านสุขภาพ"
วันที่ 20 กันยายน 2566 นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลา 8 คนที่มาฝึกงาน ณ ชุมชนแหลมสนอ่อน ร่วมกับเครือข่าย PCU สมิหลา อสม. แกนนำชุมชน และมูลนิธิชุมชนสงขลา จัดเวทีประชาคมเพื่อคืนข้อมูลจากการลงสำรวจสถานะสุขภาพระดับบุคคลใน 51 ครัวเรือน เมื่อวันที่ 15-17 กันยายนที่ผ่านมา ได้ข้อมูลประชากรวัยเกิน 35 ปีมาจำนวน 100 คน โดยมีแกนนำชุมชน อสม. PCU สมิหลา เข้าร่วม
พบปัญหาหลักทั้งสิ้น 12 เรื่อง ปัญหาสำคัญ 3 ลำดับแรกก็คือ
1)ประชากรมีน้ำหนักเกินร้อยละ 57
2)ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่ป่วยเป็นเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ร้อยละ 66.66
3)ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่เป็นโรคความดันมีระดับความดันโลหิตผิดปกติ ร้อยละ 55.00
ชุมชนลงมติเลือกกิจกรรมลดน้ำหนักหรือโรคอ้วนเป็นกิจกรรมที่จะทำกับนักศึกษาในช่วงท้ายของการฝึกงาน โดยนัดหมายการให้ความรู้และร่วมกำหนดเมนูอาหารสุขภาพร่วมกันในวันที่ 26 กันยายน เวลา 13.00 น. ณ ที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มเสี่ยงและผู้สนใจจำนวน 50คน
จากแบบสอบถามที่มีการสำรวจประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลโรคประจำตัว พฤติกรรมเสี่ยง ปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วย คัดกรองกลุ่มช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไปแยกเพศชาย/หญิง ผู้ป่วยติดเตียง และการจัดการขยะ จำนวน 4 หน้ากระดาษ ทีมกลางจะนำข้อมูลมาเข้าใช้ประโยชน์
1)เก็บข้อมูลประชากรที่ยังตกหล่นอีกราว 30 คน(กลุ่มวัยแรงงานที่ทำงานภายนอก)
2)นำผลมาจัดทำแผนสุขภาพและธรรมนูญสุขภาพในการดูแลสุขภาพชุมชนร่วมกับหน่วยบริการ
3)นำข้อมูลกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเข้าสู่ระบบเยี่ยมบ้าน iMed@home พร้อมแปรผลในรูปแบบ ปิงปองจราจร 7 สีเพื่อให้ทราบสถานะสุขภาพ
แผนงานที่จะดำเนินการต่อไป
1)นักศึกษาประมวลข้อมูล โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยรายคน ส่งให้อสม.ลงคืนข้อมูลระดับครัวเรือน พร้อมชักชวนเข้าร่วมกิจกรรมวันที่ 26 กันยายนและกิจกรรมหลังจากนี้
2)ร่วมกับหน่วยบริการ กองสาธารณสุขทน.สงขลา จัดทำแผนสุขภาพรายคนในกรณีกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยและธรรมนูญสุขภาพชุมชน กำหนดกติกาการดูแลสุขภาพของชุมชน อาทิ การมีกิจกรรมปรับพฤติกรรมแบบรวมกลุ่ม(3 อ. ลดปัจจัยเสี่ยง) พร้อมกับคัดกรองภาวะสุขภาพเดือนละ 1 ครั้ง การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยรายใหม่ การวางขั้นตอนและแนวปฏิบัติกับหน่วยบริการส่งต่อเพื่อการรักษา ฟื้นฟูผู้ปวย
3)ติดตามประเมินผลภาวะสุขภาพ รายงานสถานะสุขภาพผ่านระบบเยี่ยมบ้านแบบกลุ่มปิดในแอพ iMed@home ดูข้อมูลได้เฉพาะ Admin ของหน่วยบริการ อสม. แกนนำชุมชน และผู้ป่วยที่สมัครใจเข้าร่วม
4)พัฒนาแบบประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรค NCD เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถประเมินตนเอง ผ่านแอพ iMed@home
5)เชื่อมโยงระบบบริการกับ iMedCare ร่วมกันจัดตั้งวิสาหกิจระดับเมืองในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านในพื้นที่และเมืองบ่อยาง
Relate topics
- "ประชุมกลุ่มย่อยผู้รับบริการ" พื้นที่ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง
- "ประชุมกลุ่มย่อยผู้รับบริการ" พื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย
- ประชุมทีมบ้านสร้างสุข ครั้งที่ 4
- ซิงกอร่า ซีเคร็ท สบู่อาบน้ำผสมพร๊อพเพอรีส สินค้าเด่นบริษัทประชารัฐฯสงขลา
- มาลองสู้กับความเจ็บป่วยทางสังคมสักตั้ง!!
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"