"ข้อมูลกลางคนสงขลา วางเป้า 1 ID 1 OneStop Service"
"ข้อมูลกลางคนสงขลา วางเป้า 1 ID 1 OneStop Service"
วันที่ 4 กันยายน 2566 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา อบจ.สงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลา จัดประชุมภาคีความร่วมมือที่ได้ MOU ในการพัฒนาระบบข้อมูลกลางคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่รอการฟื้นฟู เมื่อกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุอบจ.สงขลา
นางฐิตารีย์ เชื้อพราหมณ์ รักษาการผอ.กองสาธารณสุข อบจ.สงขลา กล่าวถึงความเป็นมา แนวคิด และแนวทางความร่วมมือระดับจังหวัด เพื่อลดช่องว่างการทำงานที่ข้อมูลไม่ตรงกัน มีผู้เข้าถึงบริการไม่ครอบคลุม และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการร่วมกัน
นายผาริก หมาดเตี้ย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ สสจ.สงขลา นำเสนอแนวทางเริ่มต้นโดยวิเคราะห์ต้นทุน และนำข้อมูลจาก 5 องค์กรความร่วมมือที่มีความพร้อมเข้าสู่ระบบกลาง ประกอบด้วย
1)กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด ผ่านระบบโปรแกรม ศูนย์สร้างสุขชุมชน
ธนาคารสร้างสุขชุมชน ศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน บ้านสร้างสุขชุมชน โดยข้อมูลนําเข้าประกอบด้วยคนพิการ ผู้สูงอายุผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ข้อมูลการได้รับกายอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ ข้อมูลการซ่อมกายอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ ข้อมูลบําบัดและฟื้นฟูสุขภาพ ข้อมูลการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัย
2)สสจ. จากฐานข้อมูลด้านสุขสุขภาพ 43 แฟ้ม ประกอบด้วยข้อมูลคนพิการ ผู้สูงอายุผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ข้อมูลผู้เสียชีวิต ข้อมูลสิทธิ์การรักษา ข้อมูลการได้รับการเยี่ยมบ้านข้อมูลการได้รับกายอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ
3)พมจ. ระบบโปรแกรมอับโหลดข้อมูล Excel เข้าสู่ระบบ ข้อมูลนําเข้าประกอบด้วยข้อมูลผู้พิการ ข้อมูลการได้รับความช่วยเหลือ ข้อมูลการต้องการความช่วยเหลือ
4)ศูนย์การศึกษาพิเศษเขต 3 ระบบโปรแกรมอับโหลดข้อมูล Excel เข้าสู่ระบบ ประกอบด้วยข้อมูลนําเข้า เด็กนักเรียนที่มีความพิการ ข้อมูลการได้รับความช่วยเหลือ ข้อมูลการได้รับการศึกษา
5)มูลนิธิชุมชนสงขลา ระบบโปรแกรม iMed@Home ข้อมูลนําเข้าประกอบด่วยข้อมูลผู้พิการ ผู้สูงอายุประชาชนที่ได้รับการบริการ ข้อมูลการได้รับความช่วยเหลือและเยี่ยมบ้าน ข้อมูลการขอรับความช่วยเหลือ
โดยนำข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลการรับบริการ และความต้องการความช่วยเหลือเข้าสู่ระบบกลาง www.Khonsongkhla.com และใช้คลาวด์ของกระทรวงดิจิตอล ซึ่งเปิดบริการให้กับภาครัฐในการใช้งานเป็นที่พักข้อมูลผ่านโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ(Government Data Center and Cloud service : GDCC) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานและความปลอดภัย
ทั้งนี้ข้อมูลที่จะนำเข้าระบบกลาง นำเข้าผ่าน 2 วิธีการ คือ 1)โปรแกรมเมอร์ขององค์กร เขียน API ให้สามารถส่งต่อข้อมูลแบบ realtime หรือตั้งเวลา โดยโปรแกรมดำเนินการเอง หน่วยงานที่ดำเนินการนี้ได้แก่ สสจ. กองทุนฟื้นฟูฯ มูลนิธิชุมชนสงขลา และจัดระบบกลางขึ้นมารองรับข้อมูลจากองค์กรที่ส่งมาเป็น excel รายไตรมาสหรือวงรอบการทำงานที่เหมาะสม ประกอบด้วย พมจ.และศูนย์การศึกษาพิเศษ จากนั้นโปรแกรมกลางประมวลผล นำเสนอข้อมูลในรูปแบบรายงานสถิติเชิงพื้นที่ ประเภท ฯลฯ
มีข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว 2.5 แสนกว่าคน ระยะแรกดำเนินการในกลุ่มคนพิการให้สมบูรณ์ก่อนไปสู่กลุ่มประชากรอื่น
นายภาณุมาศ นนทพันธ์ โปรแกรมเมอร์จากมูลนิธิชุมชนสงขลา นำเสนอตัวอย่างการนำฐานข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์
1)เข้าถึงข้อมูลผ่าน www.Khonsongkhla.com โดยตรง
2)ทีม IT แต่ละองค์กร(ถ้ามี)สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลนำเสนอตามวัตถุประสงค์การใช้งานสำหรับองค์กร ในช่องทางของตน เช่นมูลนิธิชุมชนสงขลา นำมาเสนอผ่าน www.communeinfo.com โดยองค์กรความร่วมมือสามารถดำเนินการได้ทั้งสองช่องทาง คือ เสนอแนะรายงานที่ต้องการหรือร่วมงานกับองค์กรที่มี IT ทำงานร่วมกัน
นายทิวากร สัมมาสุข นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการอบจ.สงขลา นำเสนอการใช้งาน www.Khonsongkhla.com ทั้งในส่วนของข้อมูลพื้นฐาน รายงานประเภทของความพิการ พื้นที่(จังหวัด-อำเภอ-ตำบล-หมู่บ้าน) การเข้าถึงสิทธิประโยชน์พื้นฐานด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม ที่มีทั้ง 9 ด้าน และแนวทางที่องค์กรความร่วมมือจะเข้าใช้บริการ
จากนั้นที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาระบบในระยะต่อไป
1)เป้าหมายสุดท้าย 1 ID 1 OneStop Service
2)เติมเต็มองค์กรความร่วมมือนำเสนอข้อมูลชุดสิทธิประโยชน์ของคนพิการ มีทั้งหมด 10 ด้าน(เพิ่มด้านขนส่งสาธารณะ) ที่แต่ละองค์กรจะเข้ามาเพิ่มเติม ประกอบด้วยสรรพากร พัฒนาฝีมือแรงงาน และประสานงานภาคีโดยตรง อาทิ ฝ่ายสารสนเทศ สนง.จังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด ประกันสังคม
พัฒนาระบบรายงานนำเสนอ อำนวยความสะดวกให้กับผู้บริหารนำข้อมูลไปดำเนินการเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะ พร้อมพัฒนาระบบการให้ความช่วยเหลือเพื่อเสริมหนุนการทำงาน ลดความซ้ำซ้อนและส่งต่อเสริมหนุนการทำงานกันและกัน แก้ไข ตรวจทานปรับปรุงข้อมูลที่ผิดพลาด ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงกัน รวมถึงการพิจารณากฏหมาย PDPA
พร้อมกับเข้าพบผู้ว่าเพื่อการขยายผลการดำเนินงานกับหน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 140 ตำบล
3)ดำเนินการคู่ขนาน ร่วมกับพมจ.สร้างหุ้นส่วนทางสังคม กำหนดเป้าหมายการทำงานเสริมหนุนผู้สูงอายุ พัฒนาข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลการรับบริการและความช่วยเหลือ ร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษาพิเศษ จัดทำระบบกลางรองรับข้อมูลจากหน่วยงานการศึกษาในระดับจังหวัดเพื่อลดข้อจำกัดการส่งต่อข้อมูลกันและกัน ประสานสปสช.เขต 12 ทำสัญญาขอใช้ข้อมูลการรับบริการในสถานร่วมบริการและอื่นๆ ร่วมกับกขป.เขต 12 ในการขยายความร่วมมือกับกองทุนฟื้นฟู 7 จว. เชื่อมโยงข้อมูลในระดับเขตในกรณีผู้รับบริการมีการเคลื่อนย้าย เดินทาง และร่วมกันลดช่องว่างในกลุ่มประชากรแฝงที่อาศัยในเขตเมืองใหญ่ ให้เพิ่มกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้เข้่าสู่ระบบไปด้วย
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567