"15 ปีธรรมนูญสุขภาพภาคใต้"
"บทเรียนจาก 15 ปี ธรรมนูญสุขภาพภาคใต้"
1-2 กันยายน 2566 เครือข่ายที่ดำเนินการธรรมนูญสุขภาพตำบลในพื้นที่ภาคใต้มาร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียนการดำเนินงานกัน ณ บ้านช่องฟืน อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง
โดยมีสนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)สนับสนุนการดำเนินงาน
ประกอบด้วยพื้นที่ดำเนินการธรรมนูญเชิงพื้นที่ซึ่งเป็นต้นแบบ ได้แก่ ทต.ชะแล้(แห่งแรก ปี 2552) อบต.นาทอน ร่วมแลกเปลี่ยนกับพื้นที่ดำเนินการใหม่ ที่มีทั้งธรรมนูญเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเฉพาะ บางแห่งใช้กติกาหรือข้อตกลงสร้างวิถีปฎิบัติ กติกาเหล่านี้ทำไปปรับปรุงไป เช่นกรณีบ้านช่องฟืนชุมชนได้ใช้เพื่อพิทักษ์ฐานทรัพยากร ฟื้นฟูทรัพยากร สร้างความเข้มแข้งให้กับสมาชิกที่เข้าร่วม การแลกเปลี่ยนรอบนี้มีหน่วยสนับสนุนและพี่เลี้ยงเข้ามาหนุนเสริมอย่างใกล้ชิด บทเรียนร่วม
1)ธรรมนูญที่ดำเนินการระยะแรกจะเน้นการสร้างภาพฝันหรือทิศทางการพัฒนาของพื้นที่ร่วมกัน มีหลายหมวด หลายด้าน ต่อมาเริ่มพัฒนาเป็นเขิงประเด็น ไม่ทำมาก เน้นการปฎิบัติเป็นกติกาหรือข้อตกลงมากกว่าเน้นทิศทางการพัฒนาอันเป็นนโยบายสาธารณะ เช่นนั้นแล้ว กติกานำไปสู่รูปธรรมและความรู้จากการลงมือทำ ค่อยขยายผลความรู้ตัวแบบนั้น ยกระดับไปสู่ทิศทางการพัฒนา ขยายผลสร้างแนวร่วมต่อไป
2)การมีส่วนร่วมและรู้สึกเป็นเจ้าของ จะนำไปสู่ความยั่งยืนและการขับเคลื่อนร่วมกัน ไม่ตกเป็นภาระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกินไป การมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาเป็นเจ้าภาพร่วมเป็นเจ้าของร่วมจึงเป็นเรื่องสำคัญ ผู้นำเปลี่ยนจากการสั่งการมาเป็นประสานงาน หรือนำเอง ทำเองเฉพาะเรื่องที่ตนรับผิดชอบหรือชำนาญการ
3)ไม่สามารถดำเนินการคนเดียวได้ แม้จะอาศัยภาวะผู้นำแต่สุดท้ายระบบทีมหรือเครือข่ายความร่วมมือจะนำไปสู่ความยั่งยืนมากกว่าตัวบุคคล ทำเป็นระบบก็จริงแต่ก็ยืดหยุ่น ที่สำคัญคือการพัฒนาคนและแสวงหาภาคีอันเป็นปัจจัยเอื้อมาเกื้อหนุน
4)ธรรมนูญที่ดีจะสอดคล้องกับวิถีชุมชน ฐานทรัพยากร ฐานภูมิปัญญา หลากหลายไปตามพื้นที่ดำเนินการ เป็นนโยบายสาธารณะของพื้นที่ เช่นนั้นแล้ว ชื่อ ภาษา รูปแบบ กิจกรรม สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นไปเพื่อสนองตอบคนในมากกว่าคนภายนอก
5)ทำจากง่ายไปยาก จัดลำดับความสำคัญ สร้างวาระร่วม มีการกระตุ้นปลุกให้ตื่น/อุ่นให้ร้อนอยู่สม่ำเสมอ
6)ประเด็นร่วม ทุกข์ร่วม สุขร่วม เป็นฐานสร้างพลังร่วม
7)เชื่อมั่นในพลังของคน ทุกคนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้
8)รูปธรรมความสำเร็จ การจัดการความรู้ การสื่อสารสาธารณะคือจุดคานงัดของความยั่งยืน
ชาคริต โภชะเรือง บันทึกเรืองราว
Relate topics
- "พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568
- "พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลควนโส"
- "รถรับส่งผู้ปวยพบแพทย์" จ.สงขลา
- "รองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล"
- "การประชุมเชิงปฏิบัติการ(Workshop ครั้งที่ 1)" โครงการอาสาสบ้านสร้างสุขชุมชน
- "ประชุมกลุ่มย่อยออกแบบระบบปฏิบัติการ"