"ชุมชนบ้านหลบมุม" เมืองพะตง

by punyha @21 ส.ค. 66 13:26 ( IP : 171...35 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 960x541 pixel , 103,785 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 97,099 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 104,447 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 104,447 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 76,414 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 148,643 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 138,582 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 115,136 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 124,303 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 99,221 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 89,525 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 86,342 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 133,207 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 131,613 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 139,970 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 128,558 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 63,457 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 70,657 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 60,695 bytes.

"ชุมชนบ้านหลบมุม"

วันที่ 19 สิงหาคม 2566 คณะทำงานโครงการนำร่อง success เมืองพะตง นัดคณะทำงานชุมชนบ้านหลบมุม ประชุมกลุ่มย่อย จัดทำข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน และวิเคราะห์ผังองค์กรชุมชนภายใต้กิจกรรมจัดทำแผนผังภูมินิเวศระดับชุมชน ณ ศาลาเอนกประสงค์ชุมชนบ้านหลบมุม

จากการทำ Time line ประวัติศาสตร์ชุมชนพบว่า ที่นี่เป็นชุมชนใหม่ ราวปี 2506 สภาพทั่วไปยังเป็นป่ายาง มีครัวเรือนอาศัยอยู่ไม่ถึงสิบหลัง ต่อมาราวปี 2520 เป็นต้นมาเริ่มมีโรงานเข้ามาเปิดกิจการ ทำให้แรงงานต่างถิ่นเริ่มทยอยเข้ามา ประกอบกับการมีถนนสร้างความสะดวกในการเดินทาง ปี 2538 เกิดสวนอาหารหลบมุม ปี 2542 มีการจัดตั้งเป็นชุมชนในเขตเทศบาลตำบลพะตง เหตุการณ์สำคัญที่มีนอกจากการเกิดของชุมชนแล้ว ยังพบน้ำท่วมตั้งแต่ปี 2530 และมาท่วมซ้ำซากในช่วงปี 2560 จากการถมที่สร้างหมู่บ้านรอบข้าง การสร้างถนนที่ไม่มีทางระบายน้ำเพียงพอ

ในส่วนกลุ่มองค์กรชุมชน พบว่ามีกลุ่มในชุมชน 3 ประเภท ได้แก่

1)องค์กรภายในชุมชน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน/สมาชิกสมทบ/ที่ปรึกษา กลุ่มอสม. กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตรอินทรีย์พอเพียง ชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มเยาวชน ชมรมบาสโลป แต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกสมทบอีกจำนวนหนึ่ง และสมาชิกในชุมชนอีกจำนวน 1323 ครัวเรือน ในจำนวนนี้มีบ้านว่าง 203 หลัง สมาชิกที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง 5 คน พิการ 5 คน

2)กลุ่มแรงงานต่างชาติ สันนิษฐานว่ามีประมาณ 2500-3000 คน ส่วนใหญ่เป็นพม่า (ยะไข่/ทวาย/มอญ) ในจำนวนนี้มีล่าม 8 คน ทำหน้าที่ประสานงาน  ล่ามบางคนอาศัยในพื้นที่ราว 20 ปี

3)กลุ่มแรงงานต่างถิ่น จำแนกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มที่มีบุกรุกที่ดินริมทางรถไฟราว 200 คน และกลุ่มแรงงานต่างถิ่น และจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ ราว 300 คน

ที่ประชุมร่วมกันบันทึกข้อมูล ระบุชื่อสมาชิกที่เป็นแกนนำสำคัญ ระบุเพศ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ พบแกนนำจำนวนหนึ่งมีชื่ออยู่ในทุกกลุ่มและเป็นแกนประสานสำคัญ และพบว่าจำเป็นที่จะต้องขยายผล หาแกนประสานเพิ่มขึ้นอีก และมีกิจกรรมสัมพันธ์ต่อกันมากขึ้น

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน