"เกษตรสุขภาพอำเภอหาดใหญ่"
"เกษตรสุขภาพอำเภอหาดใหญ่"
วันที่ 17 สิงหาคม 2566มูลนิธิชุมชนสงขลานัดเกษตรกรมีทั้งysf กลุ่มเกษตรกรผักยกแคร่/ฟาร์มตัวอย่าง กลุ่มโกโก้ ฟาร์มเห็ด บ.สานฟาร์มดี เกษตรกรจากสิงหนคร พะตง น้ำน้อย ท่าข้าม ทุ่งตำเสา ควนลัง คลองหอยโข่ง วิสาหกิจจากจะนะ พะตง ควนลัง สหกรณ์การเกษตร ภาคเอกชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ เกษตรและสหกรณ์จังหวัด สหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด สภาเกษตรกรจังหวัด กองทุนฟื้นฟูฯจังหวัด สร้างความร่วมมือการส่งเสริมการตลาดเกษตรสุขภาพและอาหารปลอดภัย ณ ห้องประชุมอบต.ท่าข้าม โดยมีนายกสินธพ ให้การต้อนรับ
มีข้อสรุปสำคัญดังนี้
1)การเพิ่มพื้นที่การผลิต ดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ กล่าวคือ รวมกลุ่มเกษตรกรด้วยการเปิดโรงเรียนเกษตรกรระดับตำบลร่วมกับเกษตรตำบล มีหมอพืชเป็นพี่เลี้ยง เชื่อมโยงกลุ่มด้วยวิสาหกิจระดับพื้นที่ ยกระดับมาตรฐานในสมาชิกใหม่ และต่อยอดผลผลิตในเกษตรกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานแล้ว จากนั้นรวมกลุ่มระดับอำเภอ วางแผนการผลิตร่วม ลดต้นทุนการผลิต และเชื่อมโยงกับตลาดต่างๆ โดยมีสหกรณ์เกษตรระดับอำเภอเป็นพันธมิตรหนุนช่วยในฐานะที่สามารถทำสัญญากับลูกค้าแทนกลุ่มเกษตรกร อนาคตสามารถร่วมกับกองส่งเสริมการเกษตรอบจ.เปิดตลาดกลาง/โรงคัดแยก/ห้องเย็นเพื่อรวบรวมผลผลิต
ในกลุ่มนี้ เฉพาะอำเภอหาดใหญ่ จะมีฐานกลุ่มเกษตรกรกระจายอยู่ในพื้นที่ตำบลควนลัง มีวิสาหกิจเกษตรสุขภาพควนลังเป็นแกนประสาน สมาชิกมีราว 50 คน ตำบลพะตง(30 คน) มีวิสาหกิจไต้ร่มบุญเป็นแกนประสาน ที่นี่มีโรงคัดแยก มีโรงเรือนระบบปิด นอกจากนั้นยังมีเกษตรกรที่ตำบลท่าข้าม น้ำน้อย ทุ่งใหญ่บ้านไร่ ตำบลทุ่งตำเสา เป็นแนวร่วม
กลุ่มนี้จะนัดหมายหารือเพื่อทำโครงการร่วมกัน ให้วิสาหกิจและกลุ่มเกษตรกรเป็นสมาชิกสมทบสหกรณ์การเกษตรอำเภอ รวมถึงร่วมกับบริษัทประชารัฐฯสงขลา สร้่างทางเลือกในการจัดส่งผลผลิต(ผัก ผลไม้ ข้าว)ไปสู่รพ. โรงแรม ร้านอาหาร หรือโมเดิร์นเทรด และส่งตรงถึงผู้บริโภค และใช้ Platform iGreensmile เป็นตัวกลางในการดำเนินงาน "ตลาดล่วงหน้า" นำข้อมูลความต้องการวัตถุดิบล่วงหน้ามาประสานแผนการผลิตกับเกษตรกร และสามารถตรวจสอบที่มาของวัตถุดิบสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค
2)เป็นพันธมิตรกับวิสาหกิจจะนะ/ระโนด บริษัทเอกชน ที่ต้องการผลผลิตจากเกษตรกรไปส่งให้กับลูกค้าของตน อาทิ วิสาหกิจจะนะของบังนี ที่มีฐานลูกค้าอยู่ใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ปัจจุบันมีสมาชิก 116 กลุ่ม หรือบ.สานฟาร์มดี รัตภูมิ
ทั้งสองส่วนนี้เน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร ร่วมเป็นหุ้นส่วน เป็นเจ้าของ รวมถึงเป็นเครือข่ายร่วมกันในการช่วยเหลือ แบ่งปัน และขยายสมาชิกเพิ่มการผลิตตามความต้องการทางการตลาด ตลอดจนร่วมกันจัดทำระบบข้อมูลการผลิต การตลาด ราคา มาตรฐาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยกระดับต่อยอดผลผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต
3)การสนับสนุนอื่นๆ สภาเกษตรกรจังหวัดร่วมกับอบจ.สงขลา เปิดตลาดกลาง เริ่มนำร่องที่อำเภอระโนด สหกรณ์จังหวัดมีโควตา GAP ให้กับเกษตรกรปีละ 100 ราย กองทนฟื้นฟูฯจังหวัด แก้ไขหนี้สินให้กับเกษตรกร ปีนี้ช่วยได้กว่า 30 รายเป็นเงิน 30 ล้านบาท
อำเภออื่นๆที่มีศักยภาพจะดำเนินการอีกก็คือ ควนเนียง สิงหนคร สทิงพระ
Relate topics
- "ประชุมกลุ่มย่อยผู้รับบริการ" พื้นที่ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง
- "ประชุมกลุ่มย่อยผู้รับบริการ" พื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย
- ประชุมทีมบ้านสร้างสุข ครั้งที่ 4
- ซิงกอร่า ซีเคร็ท สบู่อาบน้ำผสมพร๊อพเพอรีส สินค้าเด่นบริษัทประชารัฐฯสงขลา
- มาลองสู้กับความเจ็บป่วยทางสังคมสักตั้ง!!
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"