"ความเคลื่อนไหวจากชุมชนกรณีคลองสำโรง" ภารกิจร่วมแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนคลองสำโรง

by punyha @7 ส.ค. 66 09:00 ( IP : 171...175 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS , 4PW
  • photo  , 960x720 pixel , 99,089 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 160,545 bytes.
  • photo  , 1536x2048 pixel , 147,172 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 149,453 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 87,406 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 150,107 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 199,506 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 166,466 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 183,759 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 169,659 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 74,934 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 153,644 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 194,026 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 189,553 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 126,679 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 131,287 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 159,344 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 129,339 bytes.

"ความเคลื่อนไหวจากชุมชนกรณีคลองสำโรง"

วันที่ 4 สิงหาคม 2566 ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนภาคใต้ประสานชุมชน เครือข่าย หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคลองสำโรงมาร่วมหารือ รับทราบความก้าวหน้าและแนวทางการดำเนินการกับชุมชนต่อไป ณ ห้องประชุมชั้น 5 เทศบาลนครสงขลา

รองนายกเทศมนตรีกล่าวว่าทิศทางการพัฒนาสงขลาจะก้าวสู่การเป็นเมืองกีฬา รองรับการจัดซีเกมส์ บวกกับการเป็นเมืองวัฒนธรรม ทิศทางเหล่านี้ส่งผลต่อรายได้รวมถึงวิถีชีวิตของผู้คน รวมถึงชุมชน และมองว่าการแก้ปัญหาคลองสำโรงจะต้องกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ชัดเจน ชุมชนมีส่วนร่วมให้ความร่วมมือ และนโยบายรัฐที่จะต้องมีความจริงจัง และมองว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ชุมชนดำเนินการเอง อาทิ คูระบายน้ำต้องมีมาตรฐานด้วย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระยะยาวและควรให้เทศบาลได้เข้าไปมีส่วนร่วมด้วย

เจ้าหน้าที่ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ระบุการทำงานในภาพรวมเชิงนโยบาย มีกรรมการระดับจังหวัดเกี่ยวข้อง 3 ชุด ในส่วนของชุมชนมีการสำรวจครัวเรือนที่อยู่ริมคลองสำโรง 15 ชุมชน 798 ครัวเรือน อยู่ทั้งพื้นที่เทศบาลเมืองเขารูปช้างและเทศบาลนครสงขลา ในการทำงานกับชุมชนนั้นมี 6 ขั้นตอน ตั้งแต่การสำรวจข้อมูลครัวเรือนเพื่อการแก้ปัญหาไม่ว่าจะรื้อย้ายหรือปรับปรุง การทำฐานข้อมูล การออกแบบการพัฒนา การมี master plan ของการพัฒนา การจัดตั้งคณะทำงานของชุมชน การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์

ปัญหาที่ยังเป็นอุปสรรคก็คือ การกำหนดขอบเขตพื้นที่คลองสำโรง ระหว่างที่ดิน เจ้าท่า และเทศบาลทั้ง 2 แห่ง ยังไม่มีการหารือร่วมกันให้ได้ข้อยุติ ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็มีแนวทางของตน ทำให้การแก้ปัญหาไม่เห็นภาพรวม

ตัวแทนชุมชนบาลาเซาะห์ ริมคลองสำโรง เขารูปช้าง ได้บอกเล่าความก้าวหน้าในการดำเนินการ คือการสำรวจครัวเรือนที่จะได้รับผลกระทบจากการพัฒนา การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ แต่เนื่องจากขาดความชัดเจนจากภาครัฐต่อแนวเขตคลองทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ชุมชนเริ่มขาดความเชื่อมั่นต่อการทำงานของหน่วยงาน

ที่ประชุมให้หน่วยงานที่มาได้นำเสนอแนวทางและกิจกรรมที่สามารถทำงานร่วมกันในพื้นที่ ซึ่งมีภารกิจการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการฟื้นฟูคลองสำโรงได้ร่วมให้ข้อมูล มีข้อสรุปสำคัญ ประกอบด้วย

1.ความร่วมมือ นอกจากเรื่องที่อยู่อาศัยที่ทำงานร่วมกับพอช.แล้ว ในมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ คุณภาพชีวิต ฯลฯ ชุมชนสามารถทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ พมจ. ลงเก็บข้อมูลครัวเรือนกลุ่มเปราะบางร่วมกับอพม. ดูแลผู้ป่วยติดเตียง คนยากไร้ ม.ทักษิณ ร่วมแก้ปัญหาบุคคลไร้สิทธิ์ ม.อ.​ม.​หาดใหญ่​ และม.ราชภัฎส่งนักศึกษาลงร่วมทำแผนและแก้ปัญหาในชุมชน รวมถึงมูลนิธิชุมชนสงขลาเก็บข้อมูลกลุ่มเปราะบางระดับครัวเรือน เก็บข้อมูลครัวเรือนเพื่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ เครือข่ายพัฒนาเมืองทำโครงการ​success, การจัดการขยะกับกองทุนwwf การแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินรายได้กับกองทุนกสศ.​เหล่านี้สามารถร่วมมือกับพอช.ในการบูรณาการงานร่วมกัน โดยเริ่มจากข้อมูลครัวเรือน กรณีนี้เสนอให้ชุมชนบาลาเซาะห์เป็นพื้นที่ทำงานร่วมกัน

2.การพัฒนาพื้นฐานระดับชุมชน ลดช่องว่างการพัฒนา ชุมชนที่อยู่ริมคลองได้รับการยกระดับ แก้ปัญหาความขัดแย้ง/การไม่มีส่วนร่วมในการพัฒนา สร้างความเชื่อมั่น ด้วยการประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกในชุมชน กลุ่มองค์กรต่างๆในชุมชน สร้างทีมหรือกลไกคณะทำงานที่มาจากตัวแทนพื้นที่/กลุ่มต่างๆ ร่วมกันทำข้อมูลเชิงกายภาพ เชิงพื้นที่ ครัวเรือน ร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนา แก้ปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม พร้อมกับวางระบบการบริหารจัดการที่ดี มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ

3.ด้านนโยบาย เข้าพบผู้ว่าเสนอให้มีการพัฒนากลไกการทำงานเสริมหนุนกรรมการระดับจังหวัด ประกอบด้วย 1)ระดับปฎิบัติการของหน่วยงานและภาคีระดับจังหวัด เพื่อสนับสนุนการทำงานกรรมการหลัก 2)ระดับเมือง มีกรรมการที่มีตัวแทน 2 เทศบาลร่วมดำเนิินการกับเครือข่ายต่างๆ

พร้อมเสนอให้ชุมชนรวมตัวเป็นเครือข่ายร่วมกับมทร.ศรีวิชัยจัดทำแผนพัฒนาคลองสำโรงเพื่อมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาของตน

......................................

การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน ชุมชนคลองสำโรง#

เมื่อวันที่ 4 สค.66 ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลนครสงขลา ผู้อำนวยการ และทีมเจ้าหน้าที่พอช.ภาคใต้ รองนายกเทศบาลนครสงขลา เครือข่ายที่อยู่อาศัยจังหวัดสงขลา ตัวแทนชุมชนที่อยู่ริมคลองสำโรงทั้งสอง อปท. (เทศบาลนครสงขลา และเทศบาลเมองเขารูปช้าง) ผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา ตัวแทนสถาบันการศึกษา  ประชาสังคม และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยน เล่าความคืบหน้าและวางแผนในการเคลื่อนงานคลองสำโรงต่อ

ซึ่งจากการแลกเปลี่ยน นั้นในส่วนชุมชนบางชุมชนได้มีการพัฒนาเรื่องกลุ่มออมทรัพย์์ และสำรวจข้อมูลครัวเรือนแล้วบางส่วน แต่ยังมีข้อติดขัดที่สำคัญคือความชัดเจนของขอบเขตระยะการขยายคลองที่ยังไม่มี  จึงเป็นโจทย์สำคัญที่จะต้องหาแนวทางต่อ

ขอบคุณข้อมูลและภาพบางส่วนจากเพจ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานภาคใต้ และ Facebook นางปริชาติ แก้วมหิงค์

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน