"ประสานความร่วมมือขับเคลื่อนเกษตรและอาหารสุขภาพจังหวัดสงขลา"
"ประสานความร่วมมือขับเคลื่อนเกษตรและอาหารสุขภาพจังหวัดสงขลา"
วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 นัดทีมเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีเกษตรจังหวัด และทีมงานมูลนิธิชุมชนสงขลา อบจ.สงขลา สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด สหกรณ์จังหวัด บ.ประชารัฐฯสงขลา ysf ธกส.ภาคใต้ เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัด เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 สนง.เกษตรจังหวัดสงขลา เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้แนวทางการบูรณาการสร้างสุขภาพอนามัยภาคประชาชน ผ่านการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมระดับจังหวัด
เป็นวงต่อเนื่องจากการประชุมเมื่อเมษายนที่ผ่านมา รอบนี้นัดดูข้อมูลภาพรวมของเกษตรกร ทางเกษตรจังหวัดได้นำเสนอผ่านข้อมูล 2 ชุดใหญ่ คือ ข้อมูลเกษตรแปลงใหญ่ 115 แปลง และข้อมูลกลุ่ม ชมรม เกษตรกรและผลผลิตที่ทางเกษตรได้ส่งเสริมไว้ในพื้นทีี่ 16 อำเภอ มีสมาชิกเกษตรกรกระจายอยู่จำนวนหนึ่ง
การนำระดับผู้ปฎิบัติที่ทำงานของแต่ละองค์กรมาหารือ ร่วมเรียนรู้แนวคิด แนวทางการทำงานซึ่งกันและกัน พร้อมกับเสนอแนะการทำงาน จะเป็นอีกกระบวนการหนึ่ง มาเติมเต็มการทำงานในระบบโดยอาศัยเป้าร่วมยึดโยง
ที่ประชุมได้ร่วมเสนอแนะแนวทางดำเนินการต่อไปดังนี้
1.พัฒนาเรื่องพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการทำงานระยะยาว ได้แก่ การมีพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปรับฐานคิดกันและกัน บนฐานภาคีที่หลากหลายครอบคลุม ร่วมกันพัฒนาระบบข้อมูลกลางเพื่อสนับสนุนการทำงาน ข้อมูลจากสนง.เกษตรจะเป็นฐานตั้่งต้นให้กับหน่วยงานอื่นๆมาร่วมเติมเต็ม และเพิ่มข้อมูลกลุ่ม/ประเภทผลผลิตทางการเกษตรอื่น รวมถึงข้อมูลช่องทางการตลาด/ผู้ประสานงาน กำลังการผลิต ปัญหาอุปสรรค ฯลฯ
2.ความร่วมมือยกระดับการทำงาน โดยเฉพาะการผลิต โดยจำแนกเป็น 2 แนวทางใหญ่
1)ใช้พื้นที่เป็นฐานเป็นระดับตำบล>อำเภอ ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร ทางเกษตรจังหวัดและอบจ.สงขลารับผิดชอบ มีเป้าหมายจะพัฒนาหมอพืชประจำตำบลและหมู่บ้านให้ครอบคลุมพื้นที่ ไปเสริมหนุนเกษตรกร ร่วมทำแผนการผลิต พร้อมสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านโรงเรียนเกษตรกรในพื้นที่ซึ่งพร้อมขยับ เกษตรกรบางส่วนต้องการพัฒนารูปแบบสวนสมรม หรือแปลงใหญ่ ร่วมกับสวพ.และอบจ.ลงไปรับรองมาตรฐาน และเสนอให้อบจ.(หรือหน่วยงานอื่น)สนับสนุนให้มีตลาดกลางร่วมกับอปท.ระดับตำบลนั้นเป็นจุดจำหน่ายหรือรวบรวมผลผลิตทั้งรายย่อยและกลุ่ม หรือยกระดับตลาดเขียวที่จะให้ผู้บริโภคและเกษตรกรมีปฎิสัมพันธ์กันมากขึ้น ส่วนกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านการยกระดับจะจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อเข้าสู่ระบบการตลาดต่อไป โดยมีหน่วยงานต่างๆลงไปเสริมหนุน
ส่งเสริมผักหรือพันธุกรรมพื่้่นบ้านที่มีคุณค่าของพื้นที่ พร้อมพัฒนารูปแบบการตลาดในระดับพื้นที่เมือง/ชานเมือง เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง สร้างระบบสมาชิกให้เกษตรกรสามารถส่งต่อผลผลิตให้กับผู้บริโภค
2)ใช้ตลาดนำการผลิต หรือตลาดล่วงหน้า ยกระดับเกษตรแปลงใหญ่ จำแนกทั้งผลผลิต(ยางพารา ข้าว ผัก ไม้ผล ชันโรง ฯลฯ)และขนาดกลุ่มเป็นประเภทเล็ก-กลาง-ใหญ่ที่พร้อมไปสู่โมเดิร์นเทรด พัฒนาแบรนด์เพิ่มมูลค่า สร้างนวตกรรมด้วยเทคโนโลยีและภูมิปัญญา ประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปสนับสนุน
รวมถึงต่อยอดพืช GI ในพื้นที่
การดำเนินงานต่อไป 24 กค.บ่ายนัดทีมเล็กวางระบบฐานข้อมูล พร้อมจำแนกกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต้นแบบระดับพื้นที่ ณ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด พร้อมพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสู่ระดับจังหวัดและอบจ.
สุขภาพ(ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค) รายได้ สิ่งแวดล้อม/ระบบนิเวศ จะต้องไปด้วยกัน
ทั้งหมดนี้ใช้กระบวนการเรียนรู้และพัฒนา เติมเต็มช่องว่างการทำงานของภาคส่วนต่างๆ
Relate topics
- "kickoff รถรับส่งผู้ปวยตำบลควนโส"
- "รถเติมสุขอำเภอนาทวี"
- "รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"
- "พัฒนาระบบรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลคูหา"
- "ประชุมทีมเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"
- "พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568