ชาวชุมชนแหลมสนอ่อนภารกิจเตรียมและลงมือสำรวจข้อมูลจริงของชุมชน

  • photo  , 960x720 pixel , 188,831 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 184,169 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 166,743 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 180,666 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 113,308 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 92,373 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 162,489 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 132,386 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 130,053 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 192,062 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 100,325 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 181,472 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 164,210 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 193,379 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 125,942 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 140,615 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 140,615 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 187,198 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 149,711 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 161,660 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 134,981 bytes.

วันที่ 26 มิถุนายน 2566  นายกเทศมนตรีนครสงขลา มอบหมายให้สมาชิกแกนนำชุมชนแหลมสนอ่อนให้มาช่วยกันสำรวจข้อมูลชุมชนอย่างละเอียดอีกครั้ง

นายกอธิบายว่า ให้ทีมงานชุมชน สำรวจเฉพาะบ้านที่มีคนอยู่จริง หมายถึง บ้านที่มีผู้เดือดร้อนจริง

แกนคณะทำงานชุมชนนัดประชุมเตรียมการสำรวจข้อมูลจริงของชุมชน และดำเนินการเก็บข้อมูลอย่างเร่งด่วน


นายกเทศมนตรีมอบหมายมาให้ช่วยกันทำข้อมูลชุมชนเพิ่มเติม

ข้อแรก ขอเป็นขนาดพื้นที่เท่ากันหมด คือขนาดกว้างไม่เกิน 20 เมตร ยาวไม่เกิน 40 เมตร รวมแล้ว = 800 ตารางเมตร = 200 ตารางวา หรือประมาณ ครึ่งไร่ต่อราย

ข้อ 2 สำรวจชุมชนอย่างละเอียดว่าข้อมูลบ้านมีกี่หลังกันแน่ ระหว่างมีจำนวน 44 หลังกับจำนวน 60 หลัง  คำตอบคือ ชุมชนแหลมสนอ่อนมีบ้านจำนวน 60 หลัง

ข้อ 3 เทศบาลมีแนวคิดจะเสนอชื่อเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มถูกย้ายเข้ามา  กลุ่มเข้ามาระยะที่ 2 และกลุ่มสุดท้ายที่เข้ามาอยู่เอง

ซึ่งหากใช้แนวคิดแบบของเทศบาลนั้น บ้านหลายหลังที่มีคนอาศัยอยู่จริงก็จะไม่ได้ทำสัญญาเช่า เช่น บ้านของรองนายกสมชาย จันทรประทิน บ้านของนางจรรยา มะเลโลหิต บ้านของเรือตรีสมพงษ์ จุเกล็ด พี่อ้นในฐานะผู้นำชุมชนจึงขอต่อรองและเสนอแนวคิดว่า เทศบาลน่าจะใช้เกณฑ์แบ่งเป็นแนวอื่น

นายกเทศมนตรีจึงเสนอว่า ให้จัดแบ่งเป็นกลุ่มผู้เดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย กับกลุ่มที่ไม่ได้เดือดร้อน (คือบ้านที่เจ้าของบ้านไม่ได้อาศัยอยู่เอง เช่นถูกทิ้งร่าง ปล่อยให้คนอื่นเช่าโดยตนเองไม่เคยเข้ามาใช้ประโยชน์เลย)

พวกเราจึงกลับมาที่ชุมชน แล้วนำกลไกการมึส่วนร่วมของชาวชุมชนมาช่วยกันสำรวจและเสนอแนวคิดว่าเห็นพ้องกับแนวคิดของเทศบาลหรือไม่

ปรากฎว่า ผู้นำทั้ง 4 โซนและกรรมการชุมชน ร่วมกันพิจารณาในเบื้องต้นจัดทำข้อมูลชุมชนเพื่อนำเสนอต่อนายกเทศมนตรีในวันนี้

สรุปข้อมูลชุมชนแหลมสนอ่อน(บ้านที่อยู่อาศัย)  วันที่ 26 มิถุนายน 2566

จำนวนอาคารทั้งหมด 60 หลัง

แบ่งได้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ผู้เดือดร้อนที่ถูกย้ายเข้ามาตั้งแต่ดั้งเดิม จำนวน 24 หลัง

กลุ่มที่ 2 ผู้เดือดร้อนที่เป็นทายาทหรือตามเข้ามาในระยะถัดมา จำนวน 28 หลัง

กลุ่มที่ 3 บ้านที่เจ้าของไม่ได้อาศัยอยู่เอง(ไม่ใช่ผู้เดือดร้อน ) จำนวน 8 หลังคือ  บ้านเลขที่  21  ,  21/10  , 21/11  , 21/13  , 21/17  , 21/28 , 21/30 , 21/41

เนื่องจากหลายคนเกิดความกังวลใจว่า เจ้าของอาคารจำนวน 8 หลังที่นายกเทศมนตรึให้เรียกว่า ไม่ใช่ผู้เดือดร้อน นั้นจะเกิดความไม่พอใจที่มีการนำเสนอข้อมูลชุมชนตามข้อเท็จจริง

นายกเทศมนตรีมีการกำชับว่า ห้ามรายงานข้อมูลชุมชนอันเป็นเท็จเพื่อช่วยเหลือในชุมชนด้วยกันเอง หากเทศบาลตรวจสอบพบว่า รายงานเท็จ ก็จะได้รับผลกระทบไม่ได้ทำสัญญาเช่าทั้งชุมชน

นายกเทศมนตรีกล่าวว่า เทศบาลทำหน้าที่เป็นหน่วยกลาง นำเสนอข้อมูลชุมชนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาเพื่อลงนามอนุญาตให้ผู้เดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยในชุมชนแหลมสนอ่อนได้ทำสัญญาเช่าตรงต่อสำนักงานธนารักษ๋พื้นที่สงขลา ในช่วงหลังวันที่ 2 กรกฎาคม 2566 ส่วนการวางผังชุมชน จะร่วมกันจัดทำหลังจากชุมชนได้ทำสัญญาเช่ากับสำนักงานธนารักษ์พื้นที่สงขลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


บ่ายพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2566  ผู้นำ 4 โซนพร้อมคณะกรรมการบริหารชุมชน ประชุมรับรองข้อมูลที่อยู่อาศัยในชุมชนแหลมสนอ่อน ผลการรับรองมีดังนี้

ยอดรวม จำนวน  63  หลัง

ไม่ได้อยู่อาศัย จำนวน 9 หลัง

อยู่อาศัยจริง จำนวน 54 หลัง

บ้านนางมณี 21/34 แท้จริงแล้วถูกแบ่งออกเป็นบ้านลูกๆจำนวน 3 คนที่แต่งงานแล้ว เพียงแต่ยังไม่ยื่นขอเลขที่บัาน

บุณย์บังอร ชนะโชติ บันทึกเรื่องราว

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน