ประชุมเครือข่ายสมาชิก "ชุมชนบ้านหลบมุม"
"ชุมชนบ้านหลบมุม"
ชุมชนแห่งนี้มีลักษณะใหม่ เกิดขึ้นจากการพัฒนา มิได้อยู่ในขอบเขตการปกครองของระบบกฏหมายแห่งรัฐ
ที่นี่มีโรงงานทั้งสิ้น 14 แห่ง มีแรงงานต่างชาติ ต่างถิ่นเข้ามาอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก (เกิน 4 ปีตามสัญญาจ้าง-เกือบพันคน) คนเหล่านี้อยู่ในบ้านเช่าบ้าง ในโรงงานบ้าง หรือในสถานที่ซึ่งนายจ้างจัดหาให้ บางส่วนเป็นคนไทย ต่างถิ่น เข้ามาบุกรุกที่ดินการรถไฟ จับจองและสร้างที่พัก ราว 200 ครัวเรือน มีประชากรดั้งเดิมอีกจำนวนหนึ่ง
จำนวนสมาชิกในชุมชนจึงเติบโตแบบก้าวกระโดด กล่าวคือ ประชากรแฝงมากกว่าคนดั้งเดิม บ้านเช่าเกิดขึ้นจำนวนมาก มีหมู่บ้านเกิดใหม่รองรับการพัฒนาอีกหลายแห่ง มีการถมที่ขวางทางน้ำ ชุมชนอยู่ในที่ลุ่มต่ำ ด้านหนึ่งติดทางรถไฟ น้ำจึงท่วมขังได้ง่าย คนเมื่ออยู่กันมาก ขยะก็ตามมา ปัญหายาเสพติด ลักขโมย การเกิดของประชากรใหม่ งาน...อาชีพ...สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน เหล่านี้ เกิดช่องว่างการดูแล และอยู่ในมือผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย อาทิ สถานประกอบการ/จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนท้องที่ และชุมชน ถือกฏหมาย มีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน
โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (success) พะตง ทำงานร่วมกับชุมชนบ้านหลบมุม เพื่อสร้างความเป็นชุมชนที่ดี รองรับปัญหาดังกล่าว โดยใช้แนวคิด "พะตงบ้านฉัน" ทุกคนที่มาอยู่ในพื้นที่ ไม่ว่าเป็นใคร เชื้อชาติใด ให้ถือว่าเป็นบ้านของตน จะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
วันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ช่วงบ่าย นัดหมายแกนนำ ประธานชุมชน กรรมการชุมชน เตรียมลงสำรวจข้อมูลครัวเรือน ทำผังกายภาพ/แผนที่ชุมชน สำรวจข้อมูลผู้อยู่อาศัย จำนวนบ้านเช่า บ้านมีเลขที่ ไม่มีเลขที่ ผู้ป่วย คนพิการ กลุ่มเสี่ยง อาชีพ/ศักยภาพ-ความต้องการ กำหนดโซนพื้นที่เพื่อให้ง่ายในการจัดการ หาตัวแทนกลุ่มวัย เพศ อาชีพ พื้นที่
เพื่อให้เกิดการประสานงานอย่างใกล้ชิด พร้อมกับวิเคราะห์ฐานความสัมพันธ์ของสมาชิกในชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มล่ามแรงงานต่างถิ่นเพื่อให้ประสานกับแรงงานต่างถิ่น ขอตัวแทนมาประชุมร่วมกับกรรมการชุมชน วางแผนทำกิจกรรมร่วมกัน และนำแผนชุมชนที่ได้จัดทำไว้ ลงลึกสู่ระดับกิจกรรมโครงการ
ข้อมูลจะนำไปสู่ปฎิสัมพันธ์ต่อกัน สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ชุมชนเมืองวิถีใหม่ ชุมชนแบบใหม่
Relate topics
- "kickoff รถรับส่งผู้ปวยตำบลควนโส"
- "รถเติมสุขอำเภอนาทวี"
- "รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"
- "พัฒนาระบบรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลคูหา"
- "ประชุมทีมเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"
- "พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568