"เปิดเวทีเรียนรู้ social lab พื้นที่ปฏิบัติการทางสังคมเมืองบ่อยาง"

by punyha @28 เม.ย. 66 16:27 ( IP : 171...235 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
  • photo  , 1706x960 pixel , 183,164 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 102,443 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 109,847 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 99,953 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 128,585 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 107,303 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 122,667 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 134,624 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 135,102 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 116,803 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 138,107 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 173,554 bytes.
  • photo  , 960x1706 pixel , 133,019 bytes.
  • photo  , 1076x1522 pixel , 190,023 bytes.

"เปิดเวทีเรียนรู้ social lab พื้นที่ปฏิบัติการทางสังคมเมืองบ่อยาง"

วันที่ 28 เมษายน 2566 สนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)จับมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) โดยการประสานงานของมูลนิธิชุมชนสงขลา ชวนภาคีเครือข่ายที่ทำงานในพื้นที่เมืองบ่อยาง ทน.สงขลาและในจังหวัดสงขลา มาร่วมแลกเปลี่ยน โดยมีนายกวันชัย ปริญญาศิริ ให้การต้อนรับและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น สร้างความร่วมมือในการทำงาน ณ ห้องประชุมชั้น 2 ทน.สงขลา

นายบัณฑิต มั่นคง ผู้แทนสนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการประสานการทำงานร่วมกัน ร่วมเรียนรู้เป้าหมายของแต่ละองค์กรเพื่อหาเป้าหมายร่วม การพัฒนากลไกหรือทีมในการทำงาน การใช้ข้อมูลเพื่อการเชื่อมโยงระหว่างกัน

นางทิพวรรณ หัวหิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการภาคใต้ กล่าวถึงสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนว่ามีเป้าหมายสร้างชุมชนเข้มแข็ง โดยเฉพาะพื้นที่ตำบล ที่จะมีงานทั้งที่อยู่อาศัย งานสวัสดิการ งานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต มีสภาองค์กรชุมชน มีการสนับสนุนจังหวัดจัดการตนเอง การทำฐานข้อมูลครัวเรือน องค์กรชุมชนในระดับตำบล และดูแลผู้ด้อยโอกาสและมีรายได้น้อย

นายกวันชัย กล่าวว่า การบริหารงานเทศบาลนครสงขลา มีรายได้จากภาษีปีละ 83 ล้านบาท แต่รายจ่ายพื้นฐาน 90 กว่าล้านบาทต่อปี ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีภาคีความร่วมมือมาเสริมหนุน ทน.สงขลามี 55 ชุมชน อยู่ในพื้นที่ไม่ถึงสิบตารางกิโลเมตร ในพื้นที่ยังมีหน่วยงานราชการจำนวนมาก ประชากรแฝงอีกมาก ประกอบกับการวางโครงสร้างพื้นฐานระบบคู คลอง ไม่ได้มาตรฐาน การบังคับใช้กฏหมายพรบ.ควบคุมอาคารกับชุมชนแออัดไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์มากกว่านิติศาสตร์ ทน.สงขลากำลังพัฒนาในด้านท่องเที่ยว การใช้พื้นที่สาธารณะ การจัดการขยะจากการท่องเที่ยวเป็นอีกปัญหาสำคัญ

ที่ประชุมได้ร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้การทำงานในปี 2566 ของเครือข่าย ได้แก่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ที่มีโครงการด้านที่อยู่อาศัย(โครงการบ้านมั่นคง 658 ครัวเรือน โครงการบ้านพอเพียง 84 ครัวเรือน) การแก้ปัญหาคลองสำโรง(3 เขตการปกครอง 15 ชุมชน กรรมการ 3 ชุด) การแก้ปัญหาชุมชนริมทางรถไฟ

มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา สร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้กับนักศึกษาลงปฎิบัติการร่วมกับ 16 ชุมชน

สมาคมอาสาสร้างสุข ช่วยเหลือเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา การทำโครงการผ้าสร้างสุข เป็นต้น

มูลนิธิชุมชนสงขลาได้นำเสนอการทำงานร่วมกับชุมชนและเครือข่ายพัฒนาเมือง โดยเฉพาะในการวางพื้นฐานการพัฒนาในชุมชน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างรายได้ อาชีพ และสุขภาพเชิงรุก และนำเสนอการทำงานระดับจังหวัดที่มีการทำขับเคลื่อนวิสัยทัศน์สงขลา 2570 การพัฒนาระบบข้อมูลกลาง การทำแผนปฎิบัติการเพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่

กองทุน wwf กล่าวถึงการจัดการขยะที่กำลังดำเนินงาน ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคมก็ได้เสนอแนะการแก้ปัญหาการจัดการขยะรองรับการท่องเที่ยว การพัฒนาเก้าเส้งเพื่อการท่องเที่ยว

โดบสรุปเมืองบ่อยาง สงขลา กำลังชักชวนชุมชนลุกขึ้นมามีส่วนร่วมการพัฒนามากกว่ารอรับจากหน่วยงาน โดยการทำข้อมูล การทำแผน การพัฒนาองค์กร/การสร้างจิตสำนึกของสมาชิกในการอยู่ร่วมกันในชุมชน และการเชื่อมโยงกับเครือข่าย ในเรื่องการจัดการพื้นที่สาธารณะ ที่อยู่อาศัย/ที่ดิน สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ขยะ(เน้นการสร้างจิตสำนึกและความสัมพันธ์มากกว่าสร้างถังขยะ) การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมลภาวะน้ำเสีย(ชุมชนริมคลองสำโรง อาศัยเรื่องสุขภาพ รายได้นำ) ภัยสุขภาพสังคมสูงวัย(การทำแผนสุขภาพรายคน/ชุมชน การประสานระบบริการสุขภาพกับรพ.สงขลาและอบจ. และการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน) เด็กและเยาวชน การศึกษา โดยสร้างพื้นที่กลางของการทำงานร่วมกัน ได้แก่ ระบบข้อมูลกลาง ความรู้กลาง(เมืองและบริบทเมือง) การสร้างโอกาสให้กับทุกคน การทำสวัสดิการพื้นฐาน(ประสานกับสมาคมสวัสดิการฯสร้างพื้นที่ต้นแบบ ตำบลสวัสดิการถ้วนหน้า/การทำ songkhla wallet) และการพัฒนาองค์กรนิติบุคคลระดับเมืองเพื่อร่วมการพัฒนา

จังหวะก้าวต่อไป

1.พัฒนากลไกกรรมการเมือง เพื่อให้เครือข่ายภาคส่วนต่างๆมีพื้นที่ได้ปรึกษาหารือ ประสานการทำงานร่วมกัน โดยทน.สงขลาเป็นแม่ข่ายหลัก มีกองสวัสดิ์เป็นทีม

2.การพัฒนาศักยภาพและเชื่อมประสานข้อมูล ผ่านขบวนนักศึกษาโดยเรียนรู้เครื่องมือการเก็บข้อมูลจากพอช. การใช้ iMed@home จากมูลนิธิชุมชนสงขลา และสรุปบทเรียนการลงชุมชน

3.ประสานจัดเวทีการแก้ปัญหาคลองสำโรงร่วมกับอำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน