"ความร่วมมือเศรษฐกิจสร้างสรรค์: เกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัยจังหวัดสงขลา"
"ความร่วมมือเศรษฐกิจสร้างสรรค์: เกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัยจังหวัดสงขลา"
วันที่ 24 เมษายน 2566 เครือข่าย 4PWสงขลาเป็นเจ้าภาพประชุมทีมเล็กเครือข่ายความร่วมมือในจังหวัดสงขลา ณ ห้องประชุมชั้น 2 สนง.เกษตรจังหวัดสงขลา เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกัน โดยมีหน่วยงานต่างๆเข้าร่วม ได้แก่ เกษตรจังหวัด สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด สนง.พัฒนาชุมชนจังหวัดสนง.สาธารณสุขจังหวัด YSF สมาคมพัฒนาชุมชนสงขลายั่งยืน มูลนิธิชุมชนสงขลา/กขป.เขต 12 ธกส.สาขาภาคใต้ Node flagship.สสส.สงขลา เครือข่ายเกษตรสุขภาพควนลัง สภาเกษตรจังหวัด อบต.ท่าข้าม
มีแนวทางดังนี้
1)ให้มีหน่วยบูรณาการความร่วมมือระดับจังหวัด พัฒนาทีมเล็กนี้ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน กส. เกษตรและสหกรณ์ สสจ. พช. และเครือข่ายความร่วมมือ (เพิ่มพาณิชย์จังหวัด SME กยท. 5 มหาวิทยาลัย อบจ. เซ็นทรัลแลป สวพ. เป็นต้น) ร่วมพัฒนาโครงการเพื่อนำเข้าสู่แผนจังหวัด(เสนอก่อนมิย.)ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน เพื่อลดช่องว่างและทำให้โครงการครอบคลุม สมบูรณ์มากขึ้น ทีมนี้จะมีภารกิจสำคัญ คือวางระบบพื้นฐานการทำงาน ได้แก่ ข้อมูล แผน/ยุทธศาสตร์ กลไกความร่วมมือ และการเชื่อมโยงปฎิบัติการระดับพื้นที่
1.1 ทำฐานข้อมูลกลางและปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันสรุปข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ โดยเกษตรจังหวัด-รวบรวมข้อมูลระดับอำเภอ(รวมตำบล): ชนิดพืช-ผลผลิต/เกษตรกร-กลุ่ม(เน้นผ่านมาตรฐานGAP,PGS-อินทรีย์)/พื้นที่/มาตรฐาน โดยใช้เวลา 2 สัปดาห์ และส่งต่อให้หน่วยงานต่างๆร่วมเติมเต็ม จะได้เห็นฐานการผลิต ศักยภาพของการผลิต
สสจ.ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการวัตถุดิบอาหารปลอดภัยในกลุ่ม 5 ร.
อนาคตเสนอกองส่งเสริมการเกษตรอบจ.สงขลาและสนง.เกษตรและสหกรณ์พัฒนาระบบข้อมูลกลางเพื่อสนับสนุนและเชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน
1.2 สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ร่วมกำหนดเป้าหมายร่วม โครงการส่วนหนึ่งสามารถนำเข้าแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของบจังหวัดสงขลา ที่มีทั้งสิ้น303 ล้านบาท
1.3 สภาเกษตรกรจังหวัด ส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรระดับตำบล เสนอพัฒนาต่อยอดศักยภาพ(คน/วัตถุดิบฯลฯ) สร้างตัวแบบพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม
1.4 สนง.สาธารณสุขจังหวัด ร่วมกับคณะกรรมการอาหารปลอดภัยจังหวัด ขับเคลื่อน 6 ร. (รพ.17 แห่ง เรือนจำ 5 แห่ง โรงเรียนตชด.โรงงาน ร้านอาหาร โรงแรม) ร่วมกับพัฒนาชุมชน ผลักดันวิสาหกิจชุมชนให้ผ่านอย. ต่อยอดศักยภาพกลุ่มอาชีพ(GIและอื่นๆ) เสนอให้จัดการความรู้ขั้นตอนการดำเนินการให้กับกลุ่มวิสาหกิจต่างๆเพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือให้ถูกต้องตามอำนาจหน้าที่ ภารกิจและขั้นตอนที่ถูกต้อง
1.5 สนง.พัฒนาชุมชน ดำเนินการโคกหนองนา แจ้งว่าต่อไปการจัดงานotop จะเปิดช่องให้มีบูธของเกษตรกรจำหน่ายด้วย
1.6 เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัด ร่วมกับอปท.ส่งเสริมชุมชนสีเขียว/เกษตรอัตลักษณ์/ตลาดทุเรียนพื้นบ้าน ระดับกลุ่มและชุมชน นอกจากนั้นยังขับเคลื่อนการคุ้มครองพันธ์พืช และการใช้ประโยชน์พืชเศรษฐกิจมูลค่าสูง(กระท่อม) การสร้างตัวอย่างวัดสีเขียว และร่วมกับกยท.ดำเนินการสวนยางยั่งยืน การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(โลกรวน) เสนอให้ทบทวนนโยบายการเก็บภาษีสวนยาง
1.7 โครงการ Success เมืองควนลัง จัดทำการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรและรวมกลุ่มเกษตรกร 50-200 คนร่วมกับวิสาหกิจเกษตรสุขภาพตำบล ส่งเสริมการผลิต รักษาพื้นที่สีเขียว
1.8 YSF สร้างเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ ได้เสนอเข้าแผนของกองส่งเสริมเกษตรอบจ. ได้แก่ โครงการ1 อำเภอ 1 พื้นที่กลาง(ครอบคลุมการผลิต-การตลาด)ร่วมกับอปท.,เชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนหรือท่องเที่ยวการเกษตร ร่วมกันระหว่างศ.พ.ก.เกษตรแปลงใหญ่ และททท/สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) นอกจากนั้นยังส่งเสริมอาหารพื้นถิ่น สร้างสรรค์อาหารใหม่ๆ และโครงการ1 อำเภอ 1 smartfarm แผนอนาคตจะให้มีอาสาเกษตรกร/นักวิจัยเกษตรชุมชน และเสนอให้มีงานเกษตรแฟร์ ประจำปี และร่วมกับ undp เกษตรเมืองรับคาร์บอนเครดิต ต้องการให้พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกลุ่ม
1.9 ธกส. ส่งเสริม ต่อยอด กิจกรรมของเครือข่ายต่างๆ เสนอให้การทำงานร่วมกันต้องการข้อมูลล่วงหน้าเพื่อรองรับการสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สินเชื่อ และความรู้ ด้วยการทำแผนธุรกิจร่วมกันในกลุ่มนำร่อง
2)การทำแผนและการพัฒนาศักยภาพ(คน) ผ่านโรงเรียนเกษตรกร ด้วยการพัฒนาหลักสูตรการบริหารจัดการกลุ่ม(กส.) การจัดทำเมนูสุขภาพ(สสจ.) และการพัฒนาชุมชน(อปท.) นำร่องที่ตำบลท่าข้าม
3)ความร่วมมือปฎิบัติการเชิงพื้นที่ ระดับอำเภอ/ตำบล เน้นกิจกรรมปี 66 ที่มีงบประมาณรองรับ อาทิ มูลนิธิชุมชนสงขลาจับมือกับสหกรณ์การเกษตรอำเภอ ธกส. สสจ.และเครือข่าย จัดเวทีเชื่อมโยงการส่งวัตถุดิบอาหารปลอดภัย/เกษตรอินทรีย์ระหว่างลูกค้า คู่ค้าและเกษตรกร จะเริ่มจัดเวทีระดับอำเภอในเดือนพฤษภาคม
4)นัดครั้งต่อไปอีก 1 เดือนข้างหน้า นำข้อมูลพื้นฐานมาวิเคราะห์ศักยภาพ ความต้องการทางตลาด ร่วมกำหนดแนวทางโครงการที่จะพัฒนาร่วมกัน และกำหนดพื้นที่เป้าหมายร่วม
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567