ทีมพัฒนาระบบข้อมูลกลางร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางสงขลา
วันที่ 14 มีนาคม 2566 ประชุมทีมข้อมูลกลาง กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา ภายใต้โครงการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนสู่การพัฒนาระบบบริการสาธารณะภาครัฐจังหวัดสงขลา ระยะที่ 2 ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา ณ ห้องประชุมมูลนิธิชุมชนสงขลา
ประกอบด้วยทีมโปรแกรมเมอร์ ที่มีคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.เป็นหัวหน้าทีม โปรแกรมเมอร์จากสสจ. พมจ. กองทุนฟื้นฟูฯ มูลนิธิชุมชนสงขลา และทีมกองทุนฟื้นฟูฯ
กิจกรรมประกอบด้วย
กิจกรรมที่ 1 การออกแบบและพัฒนาระบบการเชื่อมข้อมูลกลางด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดสงขลา
ทีมโปรแกรม ได้เชื่อมโยงต่อข้อมูลพื้นฐาน 5 หน่วยงาน ประกอบด้วยสสจ. กองทุนฟื้นฟู มูลนิธิชุมชนสงขลา การศึกษาพิเศษ พมจ. นำไปสู่การใช้งาน ได้แล้วในเว็บไซต์กลาง การหารือวันนี้ได้ข้อสรุปเตรียมการนำเสนอข้อมูล
(1)รายงานข้อมูลนำเข้าแล้ว
ข้อมูลพื้นฐานของคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง, ข้อมูลการให้บริการของหน่วยงาน(อาทิ ด้านสุขภาพ การปรับสภาพบ้าน การให้ความช่วยเหลือนักเรียน/คนพิการ)-การเยี่ยมบ้าน/กายอุปกรณ์ ความต้องการ จำนวนคนทั้งสิ้นกว่า 2.5 แสนคน
(2)การนำเสนอข้อมูลต่อไป นอกจากข้อมูลภาพรวมแล้ว ให้มีจุดเน้นพิเศษเพื่อนำเสนอระบบ....คนพิการ นำเสนอให้เห็นการใช้ประโยชน์จริงของหน่วยงานความร่วมมือ
1)ข้อมูลที่แท้จริง....จำนวนคนพิการ(ยึดข้อมูลจากพมจ.เป็นหลัก เสริมด้วยข้อมูลจากสสจ.และการศึกษาพิเศษ) จำแนกจำนวนตามที่อยู่จริง...จัดประเภทชื่ออยู่/คนอยู่ ชื่ออยู่/ตัวไม่อยู่ ชื่อไม่อยู่/ตัวอยู่ คนเร่ร่อน
2)ข้อมูลการได้รับบริการ...นำไปสู่การสร้างตัวชี้วัดการดูแลให้ครอบคลุม 100% ในอนาคต โดยดูเรื่องสิทธิพื้นฐาน สุขภาพ(กาย/จิต) สังคม(เบี้ยยังชีพ/เงินกู้/การศึกษา/กายอุปกรณ์) ด้านเศรษฐกิจ(อาชีพ-การจ้างงาน)นำเสนอข้อมูลภาพรวมรายคนในด้านเศรษฐกิจ/สุขภาพ/สังคม
3)ข้อมูลความต้องการ ด้านสุขภาพ/เศรษฐกิจ/สังคม
(3)ทบทวนการพัฒนาระบบ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการพัฒนา ด้านการจัดการ ทำTOR เพิ่มในกิจกรรมที่ 1 อีก 1 รายการ-รายการวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูล ทีมโปรแกรมเมอร์ 3 คนไปหารือกัน ปรับการเขียน API ของระบบแม่ให้ยืดหยุ่นกว่าเดิม ในเรื่องบริการและความต้องการทั้งข้อมูลนำเข้าและนำข้อมูลออกไปสู่ระบบของหน่วยงาน สามารถใส่ภาพการให้บริการ เป็นต้น ใช้เวลาดำเนินการสิ้นสุดเดือนเมษายน และกลางพฤษภาคมสามารถจัดกิจกรรมที่ 3 นำเสนองานให้กับทีมภาคี
กิจกรรมที่ 2 การออกแบบพัฒนาระบบข้อมูลกลางและศูนย์สร้างสุขชุมชนในรูปแบบ Application
กิจกรรมที่ 3 ประชุมชี้แจงการพัฒนาระบบโปรแกรมฐานข้อมูลกลาง ให้ผู้บริหาร 11 องค์กรความร่วมมือ
กิจกรรมที่ 4 อบรมการใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่ iT ของ 5 หน่วยงานเริ่มต้นและผู้ที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมที่ 5 จัดประชุุมติดตามการใช้งานระบบโปรแกรมฯ
กิจกรรมที่ 6 จัดจ้างการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมการให้บริการ และระบบสารสนเทศ ประจำศูนย์บริการ
1)โปรแกรมน้องอ้อมปันสุข
2)โปรแกรมที่นอนลมเติมสุขชุมชน
3)โปรแกรมบ้านสร้างสุข
4)โปรแกรมธนาคารกายอุปกรณ์
5)โปรแกรมศูนย์สร้างสุขชุมชน
6)โปรแกรมศูนย์ช่วยเหลือสังคมสงขลาปันสุข
กิจกรรมที่ 7 ถอดบทเรียนการพัฒนาระบบสารสนเทศฯ
หมายเหตุ : กิจกรรมร่วมพัฒนาและขับเคลื่อนภายใต้
โครงการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนสู่การพัฒนาระบบบริการสาธารณะภาครัฐจังหวัดสงขลา ระยะที่ 2
โครงการสนับสนุนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา พ.ศ.2566
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567