"การปรับตัวของชุมชนเปราะบางในเขตเมือง กรณีชุมชนแหลมสนอ่อน เมืองบ่อยาง สงขลา"

  • photo  , 1080x608 pixel , 93,381 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 66,414 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 87,436 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 91,444 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 112,545 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 91,913 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 76,941 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 64,850 bytes.

"การปรับตัวของชุมชนเปราะบางในเขตเมือง"

โครงการถอดบทเรียนโควิด-19 อาศัยการทบทวนทุนเสริมพลังชุมชนบนฐานการค้นหานวตกรรมทางสังคมมารับมือวิกฤตสุขภาพ ชุมชนแหลมสนอ่อน ทน.สงขลา เป็น 1 ใน 19 ชุมชนของโครงการทั้งประเทศ

ที่นี่ได้จัดทำครัวกลาง "ปิ่นโตตุ้มตุ้ย" มาช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนและนอกชุมชน บนฐานกิจกรรมที่ทำได้ครบวงจรจึงเป็นที่มาของการเลือกมาถอดบทเรียน สะท้อนช่องว่างของระบบสุขภาพในเขตเมืองที่เต็มไปด้วยประชากรต่างถิ่น ต่างที่ มีการเข้าใช้ที่ดินสาธารณะทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ

กิจกรรมมี 2 กระบวนการ ขั้นแรก ทบทวนทุนโดยใช้เครื่องมือ 4 ชิ้นคือ ประวัติศาสตร์ชุมชน แผนที่ทำมือ ผังองค์กรชุมชน และต้นไม้ระบบสุขภาพชุมชน นำมาวิเคราะห์ตัวเองโดยคณะทำงานจัดการความรู้ชุมชนกับพี่เลี้ยง กับขั้นที่สอง วิเคราะห์วิกฤตสุขภาพของชุมชน พร้อมเสนอแนวทางที่จะรับมือ โดยปรับใช้ sixbox ของระบบสุขภาพมาวิเคราะห์ คือ บริการสุขภาพกำลังคนด้านสุขภาพ ระบบสารสนเทศ การเข้าถึงยาการคลังด้านสุขภาพ และธรรมาภิบาล

ทั้งสองขั้นตอนได้สร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิกในชุมชน ประชุมกลุ่มย่อย สลับกับคืนข้อมูลกลุ่มใหญ่ เพิ่มคณะทำงานแต่ละโซน พร้อมคนกลางที่สามารถช่วยประสานความร่วมมือ หรือพูดคุยกับสมาชิกในชุมชนที่กระจายตามพื้นที่ อาชีพ และความสัมพันธ์ การถอดบทเรียนจึงเป็นเครื่องมือเสริมพลังให้ชุมชนหันหน้าเข้าหากัน เรียนรู้ตัวเองทั้งปัญหาและศักยภาพ ก่อนที่จะร่วมกำหนดอนาคต

ปัญหาร่วมของชุมชนก็คือ การอยู่ในที่ดินของธนารักษ์ และยังอยู่ในขั้นตอนการขอเช่าที่ยืดเยื้อยาวนาน ท่ามกลางข้อจำกัดและปัญหานานา ขณะที่จังหวัดเองก็มีคำสั่งไล่รื้อ ข้อมูลจากการสำรวจอย่างจริงจังและเป็นจริง บวกกับการเปิดกว้างของแกนนำที่จะเปิดพื้นที่การพูดคุย กระตุ้นให้เกิดการรวมตัวกันของชุมชน ที่ส่วนใหญ่มาจากต่างถิ่นต่างที่ ไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะชุมชน ได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน มีการรวมตัวจัดกิจกรรมประจำปี และร่วมแก้ปัญหาภายในชุมชนและกับจังหวัดที่ยังต้องถกโต้ หาทางออกกับสมาชิกที่เห็นต่างในการแก้ปัญหา

ข้อมูลที่ได้สำรวจสะท้อนจำนวนครัวเรือน ที่ดินว่าง จำนวนสมาชิกที่แท้จริง ลักษณะความสัมพันธ์ นำมาสู่การจัดระบบภายในเพื่อที่จะขอเช่าที่จากธนารักษ์ ซึ่งมีอีกหลายขั้นตอน และต้องการการมีส่วนร่วม ความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการแก้ปัญหาวิกฤตสุขภาพของชุมชน มีแนวทางดังนี้

1)การขอเช่าที่ดินกับ ธนารักษ์ การคลี่คลายความขัดแย้งภายในและกับจังหวัดที่มีคำสั่งไล่รื้อ การแก้ปัญหานี้จะดำเนินการร่วมกับพอช. ทน.สงขลา และเครือข่ายดำเนินการ


2)ปัญหาด้านสุขภาพ พบผู้สูงอายุที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ป่วยเป็นความดัน เบาหวาน ภูมิแพ้ อันเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงที่จะต้องปรับในด้านอาหาร การดื่มสุรา สูบบุหรี่ การออกกำลังกาย ความเครียด สุขภาพใจ

สมาชิกเสนอแนะแนวทาง

(1)รวมกลุ่มคัดกรองความดันเบาหวาน ประเมินภาวะความเสี่ยงทุกเดือน เพื่อให้รู้สถานะสุขภาพของตน(เขียว เหลือง แดง) คืนข้อมูลเพื่อร่วมทำแผนสุขภาพปรับพฤติกรรมรายบุคคล

(2)รวมกลุ่มออกกำลังกายตามรูปแบบที่เหมาะสม มีกิจกรรมสันทนาการกลุ่มร่วมกัน ณ สวน 80 พรรษา

(3)กำหนดเมนูอาหารเพื่อสุขภาพรายครัว/ชุมชน ให้ความรู้ด้านโภชนาการที่เหมาะสม ค้นหาเส้นทางวัตถุดิบอาหารในพื้นที่

(4)ชุมชนกรุณา เตรียมพร้อมชีวิตระยะสุดท้าย

(5)ติดตามประเมินผล ผ่านระบบเยี่ยมบ้านของแอพ iMed@home


3)ด้านสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง/วาตภัยในพื้นที่ การรับมือ การเตือนภัย ร่วมสร้างชุมชนสีเขียว จัดการขยะเปียก ขยะรีไซเคิล ร่วมกับกองทุน wwf


4)จัดการหนี้สินและสร้างรายได้ แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ การสร้างรายได้ที่แน่นอน ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการเป็นชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว หากสามารถเช่าที่กับธนารักษ์

-กิจกรรมสร้างรายได้ จะเป็นงานบริการ สุขภาพ การรับจ้างงานช่าง งานบ้าน ทักษะฝีมือ และการท่องเที่ยว

ทั้ง 4 ด้านนี้จะถูกเชื่อมโยงกันผ่านองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง มีระบบกรรมการแบบมีส่วนร่วม การมีแผนชุมชน/ข้อมูลชุมชนสนับสนุน รวมถึงการพึ่งตนเองผ่านการออม การรวมกลุ่มการเงิน และร่วมกับชุมชนอื่นจัดตั้งองค์กรนิติบุคคลระดับเมืองต่อไป

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน