ชุมชนแหลมสนอ่อน "ก้าวสู่ชุมชนจัดการตนเองด้านสุขภาพ"

  • photo  , 960x720 pixel , 159,573 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 200,697 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 124,631 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 121,753 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 127,898 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 113,097 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 154,246 bytes.
  • photo  , 960x1702 pixel , 242,224 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 173,301 bytes.

"ก้าวสู่ชุมชนจัดการตนเองด้านสุขภาพ"

วันที่  4 กุมภาพันธ์ 2566 นัดประชุมคณะทำงานชุมชนแหลมสนอ่อน ณ ที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์บรรยากาศใต้ร่มไม้และลมเย็นพัดโชย สรุปบทเรียนก่อนปิดโครงการถอดบทเรียนการรับมือโควิด-19 ระยะแรก

เริ่มการทบทวนเป้าหมายแก้ปัญหาภายในชุมชน พิจารณาต้นไม้ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ที่ร่างมาให้ดู กำหนดกิจกรรมโครงการระยะที่สอง จุดเน้นคือการรับมือโรค NCD ที่กำลังคุกคามชุมชนและรองรับสังคมสูงวัย กิจกรรมสำคัญจะมีการยกระดับให้ชุมชนจัดการตนเองมากขึ้น ด้วยการคัดกรองภาวะสุขภาพรายคน พร้อมทำแผนสุขภาพรายบุคคลในกลุ่มเสี่ยง พร้อมบันทึกข้อมูลสุขภาพโดยสมาชิกในชุมชนเองเพื่อให้สามารถเป็นเจ้าของข้อมูลสุขภาพของตน พร้อมมีการลงประวัติการคัดกรองสุขภาพใน iMed@home โดยร่วมกับนักศึกษาคณะแพทย์ม.อ.มาช่วยเป็นพี่เลี้ยงในช่วงเดือนสองเดือนนี้

พร้อมเสนอแนะกิจกรรมกลาง การรวมกลุ่มออกกำลังกาย สันทนาการ การคัดกรองสุขภาพกลุ่ม การปรับเมนูสุขภาพของชุมชน และเตรียมดำเนินการชุมชนกรุณา เตรียมการจากไปอย่างมีคุณภาพ

รศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา ที่ปรึกษามาช่วยดึงข้อมูลสรุปบทเรียนเบื้องต้น ถึงผลที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมอย่างเข้มข้นในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนผลในเชิงการทำข้อมูลจนกระทั่งเข้าถึงปัญหา ศักยภาพของชุมชน โดยเฉพาะรองรับการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย การวิเคราะห์ฺความสัมพันธ์ของสมาชิกในชุมชนนำมาสู่การปรับความสัมพันธ์ มีคนใหม่ๆ มีการพูดคุย และดึงสมาชิกเข้ามาร่วมกิจกรรมได้มากขึ้น การเก็บข้อมูลที่เป็นจริงบนฐานความปรารถนาดีต่อชุมชน บวกกับการจัดเวทีสาธารณะคืนข้อมูลเป็นระยะ สร้างความเชื่อมั่นภายใน ทำให้เกิดความตื่นตัว พบว่าการรวมตัวของชุมชนนำมาสู่อำนาจในการต่อรองกับหน่วยงานต่างๆ ความสัมพันธ์ที่ดีมากขึ้นนำมาสู่กิจกรรมการทำบุญตักบาตรในช่วงปีใหม่ เป็นกิจกรรมแรกที่ได้ทำร่วมกันในฐานะชุมชน

สมาชิกได้ปรับวิธีการทำงานการบริหารชุมชน มีคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยงานมากขึ้น มีการจัดระบบข้อมูลที่ชัดเจน ได้เรียนรู้การใช้ google drive ในการจัดเก็บข้อมูลไฟล์ เอกสารมิได้อยู่แต่ในกระดาษอีกต่อไป แต่นำเสนอในรูปแบบแผนที่ ผัง ต้นไม้ระบบสุขภาพ เป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถส่งต่อให้หน่วยงาน และเครือข่ายได้รับรู้ กระทั่งสามารถสร้างการรับรู้ใหม่ให้กับจังหวัด มีการปรับท่าทีต่อการไล่รื้อชุมชนใหม่ ยอมรับการมีอยู่ของชุมชนและอยู่ในช่วงเตรียมทำสัญญาเช่ากับธนารักษ์ แต่ก็มีสมาชิกบางส่วนยังแยกตัวออกไปดำเนินการแก้ปัญหาของตนที่สมาชิกยังต้องทำงานความคิดร่วมกันต่อไป

ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการ

1.เครื่องมือการทำแผนที่ชุมชน ประวัติศาสตร์ชุมชน ผังองค์กรชุมชน ต้นไม้ระบบสุขภาพ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูล สภาพปัญหา ศักยภาพของชุมชนได้ บวกกับกระบวนการมีส่วนร่วมที่ดี เปิดพื้นที่ให้เกิดการทำงานร่วมกัน มีการสื่อสารทางสังคม สามารถนำบทเรียนไปส่งต่อดำเนินการในขุมชนอื่นได้ แต่ควรอยู่บนเงื่อนไข

1)การทำงานเป็นทีมรองรับ มีผู้นำหรือผู้ประสานงานที่ดี มีทีมช่วยในการจัดทำข้อมูล แกนนำควรประกอบด้วยคนที่ปรารถนาดีต่อชุมชน สามารถประสาน พูดคุยหรือเป็นคนกลางที่สามารถทำงานกับสมาชิกแต่ละกลุ่มได้อย่างมีมิตรภาพ

2)ความเข้าใจต่อสภาพปัญหา ข้อจำกัด ของชุมชน และเริ่มต้นจากความเป็นจริงวางพื้นฐานสะสมทุนทางสังคม สั่งสมทักษะการทำงานให้กับทีมมาเป็นระยะ มีความต่อเนื่องในการดำเนินการ

3)ปัญหาร่วมจะเป็นตัวกระตุ้นสมาชิกให้มาทำงานร่วมกันได้ดี ปัญหาร่วมมีหลายระดับ บางชุมชนอาจเป็นปัญหาร่วมระดับกลุ่มก็ได้

4)การแก้ปัญหาความขัดแย้งภายใน การปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ อาศัยระบบข้อมูลที่เป็นจริง รอบด้าน ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมและมีคนกลางที่ได้รับการยอมรับ อาทิ สถาบันหลักทางสังคม(ศาสนา สังคม การศึกษา)เข้ามาร่วมอย่างเหมาะสม

2.ในส่วนชุมชนที่ผ่านกระบวนการนี้แล้วควรดำเนินการให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองได้มากขึ้น การดำเนินงานกับชุมชนควรมุ่งเน้นวิธีการทำไปเรียนรู้ไปมากกว่ากำหนดเป้าหมายระยะยาว จะช่วยให้ชุมชนมีเวลาได้ปรับตัวเอง เกิดการเรียนรู้ไปด้วยกัน พร้อมการแก้ไขปัญหาที่คุกคามไปด้วย จนเกิดทักษะ ทีมได้ผ่านประสบการณ์ โดยมีเครือข่ายภายนอกเข้ามาเสริมหนุนในส่วนที่ยังเป็นจุดอ่อน เพิ่มสมรรถนะยกระดับความสามารถ

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน