"เครือข่ายชุมชนเมืองบ่อยาง"
"เครือข่ายชุมชนเมืองบ่อยาง" รวมเป็นหนึ่งเดียวและพัฒนาร่วมกัน
กิจกรรม ในวันที่ 26 มกราคม 2566 ภาคเช้า 9:00 น.พบ นายกเทศมนตรีนครสงขลา ภาคบ่าย 13:00 น.พบ นายอำเภอเมืองสงขลา
รายชื่อผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม ณ ที่ทำการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชนแหลมสนอ่อน
1.นางบุณย์บังอร ชนะโชติ
2.เอื้อมพร พงศ์รัตน์
3.อุบล จังสกุล
4.นิมิตร พลายชมภู
5.ปรีชา พลายชมภู
6.รัฐไกร พลายชมภู
7.สุนีย์ จุเกล็ด
8.ฐิตาพร วรเวช
9.กาญจนา วรเวช
10.ลัดดา แก่นกระจ่าง
11.วิราช มียอด
12.บงกช สุวรรณรัตน์
13.ดาว สิทธิไชย
เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น.วันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2566 ท่ามกลางสายฝนที่โปรยปราย ณ ชุมชนแหลมสนอ่อน
ตัวแทนของชุมชนภราดร ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน ชุมชนวัดหัวป้อมและชุมชนแหลมสนอ่อน ได้นัดหมายเพื่อหารือและเชื่อมโยงการทำงานในชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียว แม้ว่าจะมีแนวคิดที่แตกต่างกันอย่างมากก็ตาม ก็สามารถใช้การเปิดใจคุยกันและแบ่งหน้าที่การทำงานกันได้ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
ชุมชนภราดรมี จำนวน 389 หลังคาเรือน แบ่งเป็น
-พื้นที่ในซอยต้นข่อย ชุมชนภราดร จำนวน 97 หลังคาเรือนตั้งอยู่ในที่ดินการรถไฟ ทีมคุณเกษรและคุณพุดซ้อน รับผิดชอบในการคลี่คลายปัญหาการค้างชำระค่าเช่าที่ดิน รวมถึงจะเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนด้านที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตของกลุ่มนี้
-พื้นที่ชุมชนภราดร กลุ่มที่เป็นที่ดินโฉนด จำนวน 292 หลังคาเรือน คุณเยาวพรรณ พร้อมด้วยคณะทำงาน จะเป็นทีมที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิต
แต่อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ทีมต่างก็มีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ต้องการพัฒนาพื้นที่ชุมชนภราดรให้มีความมั่นคงเข้มแข็งด้านที่อยู่อาศัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
กรณีของพื้นที่เก้าเส้ง ซึ่งตั้งอยู่ในที่ราชพัสดุและที่ดินริมคลองสำโรงนั้น ได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันดังนี้
ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน จำนวน 184 หลังคาเรือนแบ่งออกเป็น ส่วนที่ตั้งอยู่ในที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ จำนวน 154 หลังคาเรือน และจำนวน 30 หลังคาเรือนตั้งอยู่ในที่ดินริมคลองสำโรง กรมเจ้าท่านั้น
คุณเดอเลาะ ปอโด๊ะ พร้อมคณะทำงาน ทำหน้าที่ในการดูแลบริหารจัดการและขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยรวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ชุมชนเก้าเส้ง จำนวน 296 หลังคาเรือนนั้น ทางสหกรณ์ฯเคหสถานบ้านมั่นคงเก้าเส้งและแกนนำอีก 1 ทีม จะแบ่งกันรับผิดชอบและทำหน้าที่แก้ไขปัญหาการค้างชำระค่าเช่าที่ดิน รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ของชุมชนต่อไป
การเริ่มต้นนัดหมายพูดคุยกันในครั้งนี้ จัดว่าเป็นครั้งแรกของชาวเมืองบ่อยางสงขลา ที่ได้ร่วมกันหาข้อยุติจากการมีแนวคิดที่ไม่ตรงกันของแกนนำในชุมชนเดียวกันได้โดยสันติวิธี
วิธีการดังกล่าวนี้จะถูกนำไปใช้ต่อไปอีกในพื้นที่หลายชุมชนเมืองบ่อยาง เทศบาลนครสงขลา
วันที่ 29 มกราคม 2566 มีนัดเข้าพื้นที่ชุมชนต่างๆ
เวลา 09.00 น ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน รอบที่ 2 ทำข้อมูล ภาคเช้า วันที่ 29 มกราคมนี้ แกนนำชุมชนบาลาเซาะห้ พร้อมนักศึกษาม.ราชภัฎ สงขลาจำนวน 9 รายได้ร่วมมือกันจัดทำผังทำมือของชุมชนบาลาเซาะห์
เวลา 10 โมง ชุมชนมิตรสัมพันธ์ อาหารมื้อเที่ยงเป็นขนมจีนและรวมมิตร อร่อยมาก
เวลา 13. 00 น. ชุมชนหลังโรงพยาบาลจิตเวชและชุมชนภราดร
เวลา 14.00 น. ชุมชนมัสยิดบ้านบน
พบกันยามบ่ายที่ชุมชนภราดรจากชุมชนภราดร สู่ ชุมชนหลังโรงพยาบาลจิตเวช
ปิดท้ายนัดพบชุมชนในวันนี้ที่บ้านป้าเรียม ชุมชนมัสยิดบ้านบน ชุมชนนี้มีบ้านหลายหลังตั้งอยู่ที่ท่าน้ำริมทะเลสาบ
ที่น่าสนใจมากคือในชุมชนนี้มีศาลเจ้าจีน มัสยิดและวัด สังคมพหุวัฒนธรรม
บุณย์บังอร ชนะโชติ บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567