โครงการถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 และพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ กรณีชุมชนแหลมสนอ่อน ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา

  • photo  , 1280x720 pixel , 171,966 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 74,161 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 197,354 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 84,588 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 194,899 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 138,271 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 140,378 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 149,172 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 119,820 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 172,543 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 75,679 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 76,362 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 165,654 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 76,758 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 79,304 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 180,898 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 172,409 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 77,034 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 202,761 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 175,398 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 72,714 bytes.

โครงการถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 และพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ กรณีชุมชนแหลมสนอ่อน ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา

ภายใต้แผนการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขโดยชุมชนมีส่วนร่วม สนับสนุนโดยสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ(สวสส.)กระทรวง อ.ว. TCELS และสนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และมีมูลนิธิชุมชนสงขลาเป็นพี่เลี้ยง

ประกอบด้วย 2 กระบวนการสำคัญ ดังนี้

กระบวนการที่ 1 การทบทวนทุนจากประสบการณ์ภัยพิบัติสุขภาพ

จัดตั้งทีมถอดความรู้ ร่วมกับพี่เลี้ยงร่วมศึกษา ด้วยการปรับใช้ “เครื่องมือทบทวนทุนชุมชน” ใน 4 มิติได้แก่

1.ประวัติศาสตร์ชุมชน (เวลา)

2.แผนที่เดินดิน (สถานที่/พื้นที่)

3.ผังองค์กรชุมชน (ผู้คน)

4.ระบบสุขภาพชุมชน(การแพทย์พหุลักษณ์)

นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือจัดการความซับซ้อน(Cynefin) คลี่ให้เห็นองค์ประกอบของการจัดการ ฉายภาพผ่านต้นไม้ระบบสุขภาพชุมชน

กระบวนการที่ 2 การจัดการวิกฤตสุขภาพ ณ ปัจจุบันของชุมชน

คณะทำงานและสมาชิกในชุมชนร่วมกัน

1.วิเคราะห์ระดับสถานการณ์ปัญหา

2.กำหนดเป้าหมายและความต้องการของชุมชน

3.การออกแบบต้นไม้ระบบสุขภาพชุมชนและกำหนดผลลัพธ์

4.การดำเนินการและการติดตามเพื่อประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา

สะท้อนการปรับตัวของชุมชนต่อสถานการณ์สาธารณภัยโดยนวตกรรมทางสังคม ใช้กระบวนการดังกล่าวมาเสริมพลังชุมชน ขยายศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการรับมือ แนวคิดระบบสุขภาพจะช่วยให้เห็นมุมมองในเชิงระบบ(system) สะท้อนสิ่งที่ชุมชนดำเนินการทั้งทำเองและทำร่วมกับหน่วยงาน เครือข่ายต่างๆที่มีมิติเชื่อมโยงกันหลายระดับ ไม่ได้แยกส่วนจากกัน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน