"ความร่วมมือขับเคลื่อนเกษตรและอาหารปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสงขลา"

by punyha @27 ธ.ค. 65 15:47 ( IP : 171...57 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
  • photo  , 1706x960 pixel , 132,226 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 202,261 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 163,532 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 173,560 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 170,060 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 162,522 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 157,887 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 168,435 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 168,961 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 163,751 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 172,660 bytes.
  • photo  , 960x444 pixel , 73,065 bytes.
  • photo  , 1883x870 pixel , 163,108 bytes.
  • photo  , 1883x870 pixel , 145,738 bytes.
  • photo  , 1883x870 pixel , 192,159 bytes.
  • photo  , 1883x870 pixel , 174,495 bytes.
  • photo  , 1883x870 pixel , 189,796 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 141,722 bytes.

"ความร่วมมือขับเคลื่อนเกษตรและอาหารปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสงขลา"

สหกรณ์การเกษตรอำเภอนำร่องร่วมกับเครือข่ายพลเมืองสงขลาสร้างวาระร่วมเป็นคู่ค้าคนกลางประสานความร่วมมือเครือข่ายเกษตรกร สมาชิกสหกรณ์ รพ. โรงแรม ร้านอาหาร และหน่วยงานสนับสนุนร่วมขับเคลื่อนเกษตรและอาหารปลอดภัย(มาตรฐาน GAP เป็นอย่างน้อย)ในจังหวัดสงขลาส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

วันที่ 27 ธันวาคม 2565 เครือข่ายพลเมืองสงขลาโดยการประสานงานของมูลนิธิชุมชนสงขลา ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)ขับเคลื่อนงานภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมเกษตรและอาหารสุขภาพจังหวัดสงขลา ประสานผู้เข้าร่วมกว่า60 คนจากภาครัฐ ประกอบด้วย สนง.เศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 ธกส.สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด สนง.สหกรณ์จังหวัด สนง.สาธารณสุขจังหวัด รพ.หาดใหญ่/จะนะ สถานีพัฒนาที่ดินสงขลา ท้องถิ่น ลูกค้า/รพ. คู่ค้าคนกลาง(สหกรณ์การเกษตร 10 อำเภอ/วิสาหกิจ/บริษัท) และเครือข่ายเกษตรกร สมาพันธฺเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดสงขลา เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา YSF ร่วมหารือความร่วมมือ ณ ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรหาดใหญ่จำกัด

โดยมีแนวทางความร่วมมือดังนี้

1.สร้างความร่วมมือการส่งเสริมตลาดเกษตรสุขภาพ ผัก ผลไม้ ข้าว และอื่นๆในมาตรฐาน GAP,PGS เกษตรอินทรีย์ไปสู่โรงครัว โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร และผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดสงขลา ในพื่้นที่ระดับอำเภอ หรือระดับองค์กรความร่วมมือ โดยจับคู่ส่งเสริมให้ครบกระบวนการตั้งแต่การผลิต/มาตรฐานไปจนถึงการตลาด เป้าหมาย ได้รูปแบบตลาดที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ อาทิ

1.1 ตลาดกรีน/ตลาดชุมชน แต่ละชุมชน mapping แหล่งผลิต ส่งเสริมการบริโภคในพื้นที่เป็นรากฐานของเครือข่าย

1.2 ตลาดโรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก

1.3 ตลาดเคลื่อนที่/ตลาดรถเขียว ส่งตรงให้สมาชิก หรือเคลื่อนที่ไปยังจุดสำคัญ รองรับผลผลิตจากเครือข่าย

1.4 ตลาดออนไลน์

1.5 ตลาดโรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร เรือนจำ โรงงาน

1.6 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซื้อถึงสวน

เป้าหมายย่อย : เกษตรอินทรีย์ หรือ PGS เน้นในกลุ่มตลาดกรีน ตลาดร้านอาหาร/โรงแรม ที่ต้องการวัตถุดิบไม่มาก สามารถจัดส่งได้โดยไม่เป็นภาระการเก็บรักษา

เกษตรหรืออาหารปลอดภัย มาตรฐาน GAP ร่วมลดทอนข้อจำกัด อาทิ ด้านงบประมาณ ํธกส.มีนโยบายสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 0.001(ล้านละร้อยบาท)ให้กับกลุ่มหรือเกษตรกร หรือคู่ค่าที่จะต้องนำไปใช้เป็นเงินหมุนเวียนให้กับสมาชิกเกษตรกร

ด้านการผลิต องค์กรความร่วมมือขยายการรับรู้ให้กับสมาชิกเกษตรกร พร้อมกับใช้แนวทางตลาดล่วงหน้า นำการผลิตเพื่อสร้างแรงจูงใจ พร้อมกับลดต้นทุุนการผลิต สามารถใช้platform ที่แต่ละองค์กรมี อาทิ iGreenSmile เชื่อมโยงผู้ผลิต/คู่ค้า ผู้บริโภค/ลูกค้า เกษตรกร และหน่วยงานสนับสนุน

สหกรณ์จังหวัดนำตัวแบบที่ทำได้สำเร็จไปขยายผล เป็นกรณีตัวอย่างให้เกิดการรับรู้ต่อไป

ผลักดันนโยบายส่งเสริมระดับจังหวัดพัฒนารูปแบบการผลิตที่เหมาะสมกับพื้นที่ อาทิ ผักยกแคร่ โรงเรือนระบบเปิด

ปี 66 จัดเวทีระดับโซน โดยนำร่อง ณ อำเภอที่มีความพร้อม อาทิ รัตภูมิ/บางกล่ำ หาดใหญ่/คลองหอยโข่ง สะบ้าย้อย/จะนะ สทิงพระ/กระแสสินธ์ คู่ขนานกับการนำร่องในส่วนของเกษตรอินทรีย์กับร้านอาหาร โรงแรม

2.พัฒนาระบบสนับสนุนการส่งเสริมเกษตรและอาหารปลอดภัยระดับจังหวัด ในส่วนของข้อมูล การประสานงาน การประชุม และแผนปฎิบัติการเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน

2.1 ระบบสารสนเทศกลาง ผ่าน www.communeinfo.com (มูลนิธิชุมชนสงขลา/สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด/สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนและเครือข่ายเกษตรกรร่วมดำเนินการ)

-ข้อมูลรายชื่อเกษตรกรมาตรฐานต่างๆ เชิงพื้นที่/มาตรฐาน/ขนาดแปลง/ชนิดผลผลิต กลุ่มองค์กรต่างๆ

-ข้อมูลความต้องการผลผลิตจากเมนูอาหารสุขภาพ จากรพ. โรงแรม ร้านอาหาร โรงเรียน ฯลฯ ชนิดผลผลิต จำนวน ราคาในแต่ละมาตรฐาน

-ข้อมูลปัจจัยการผลิตของเกษตรกร

ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลนี้จะทำให้เห็นจำนวนเกษตรกร จำนวนพื้นที่ จำนวนผลผลิต และความต้องการวัตถุดิบ เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายส่งเสริมต่อไป

2.2 เชื่อมโยงผู้ประสานงาน ของแต่ละองค์กรความร่วมมือผ่านกลุ่มไลน์ "เครือข่ายเกษตรวาระอาหารปลอดภัยสงขลา"

โดยหวังว่าการทำงานพื้นฐานสองอย่างนี้จะนำไปสู่การขับเคลื่อนสร้างวาระร่วมสงขลามหานครเกษตรอินทรีย์ต่อไป

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน