ต้นไม้ระบบสุขภาพชุมชนแหลมสนอ่อน
"ต้นไม้ระบบสุขภาพชุมชนแหลมสนอ่อน 1"
โจทย์ยากๆของงานเชิงระบบคือ การอธิบายให้สามารถเข้าใจภาพได้ง่ายๆ กระชับ
ลองนำแนวคิดต้นไม้ระบบสุขภาพ นำแนวทางที่ได้รับจากงานถอดบทเรียนโควิดมาทดลองทำดู ชิ้นนี้นำเสนอระบบสุขภาพชุมชนในภาวะปกติ ว่าประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง โดยใช้ต้นไม้มาอธิบาย ไม่ได้ยึดคู่มือตรงๆ ที่ให้พิจารณากรอบระบบสุขภาพ 6 block คือ ระบบบริการ กำลังคน งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย องค์ความรู้/นวตกรรม ระบบสารสนเทศ ธรรมาภิบาล แต่ปรับแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพมาใช้ด้วย พร้อมอธิบายความซับซ้อนหลายมิติของระบบ
-ราก คือ สิ่งที่เป็นหัวใจของระบบชุมชน อาทิ ความรู้ ระบบบริการ จิตสาธารณะของผู้คนและเครือข่าย
-ลำต้น คือ แก่นแกนที่เชื่อมโยง สร้างความมั่นคง ได้แก่ ภาวะการนำ ข้อตกลง แผนต่างๆ
-กิ่ง ก้าน คือ ปัจจัยประกอบที่มีทั้งปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสี่ยง
-ใบ คือ ทรัพยากร คน เงิน วัสดุ
-ผล คือ ผลผลิตของระบบ มีทั้งผลไม้สีม่วงคือผลไม้พิษ อันเกิดจากปัจจัยเสี่ยง ผลไม้สีเขียว คือทุนในชุมชน ผลไม้สีแดงคือ ผลไม้สุกที่เป็นรูปธรรมของระบบสุขภาพ
จะเห็นได้ว่าชุมชนมิได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว หากต้องยึดโยงกับปัจจัยภายนอก มีหลายระดับด้วย
"ต้นไม้ระบบสุขภาพชุมชนแหลมสนอ่อนช่วงโควิด-19"
ภายใต้วิกฤตมักจะมีโอกาส สร้างเงื่อนไขให้เกิดการรวมพลังต่อสู้ สถานการณ์โควิด-19 ก็เช่นกัน
ชุมชนแหลมสนอ่อน ทน.สงขลา แม้ตนเองจะประสบปัญหาการเข้าถึงสิทธิทำกินหรือที่อยู่อาศัย ใช้สถานการณ์นี้รวมพลังในชุมชนและเครือข่ายภายนอก จัดทำครัวกลาง อาศัยทักษะการปรุงอาหารที่มีติดตัวของผู้ประกอบการร้านอาหาร ทำครัวกลางและสร้างนวตกรรมทางสังคม "ปิ่นโตตุ้มตุ้ย" ใช้ปิ่นโตเป็นเครื่องมือช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน ไม่เลือกเชื้อชาติ ภาษา สถานภาพ พื้นฐานการรวมตัวประกอบกิจกรรมสร้างรากฐานชุมชนที่มี ผนวกจิตสาธารณะของแกนนำสร้างความไว้วางใจ ดึงเครือข่ายภาคส่วนต่างๆลงมาหนุนช่วย ครัวกลางจึงไม่ใช่แค่การตั้งครัวบริจาค หากเป็นการเชื่อมโยงเครือข่าย การเชื่อมโยงสมาชิกในและนอกชุมชน การเข้าถึงปัญหากลุ่มเปราะบาง และเพิ่มมิติความสัมพันธ์ภายใน มีกิจกรรมทั้งช่วยตนเอง ร่วมดำเนินการกับเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ บวกกับนโยบายแห่งรัฐที่ลงมาหนุนช่วย ทำให้ผ่านสถานการณ์เลวร้ายมาได้
Relate topics
- "kickoff รถรับส่งผู้ปวยตำบลควนโส"
- "รถเติมสุขอำเภอนาทวี"
- "รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"
- "พัฒนาระบบรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลคูหา"
- "ประชุมทีมเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"
- "พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568